เกมกลบนอาหารกับฉลากวันหมดอายุ

อาหารจำนวนมากที่ยังดีและกินได้มูลค่า 165 พันล้านดอลลาร์ในแต่ละปี ถูกทิ้งลงถังขยะแทนที่จะมอบให้ผู้หิวโหย การแปลความหมายอย่างผิดๆ ของฉลากวันหมดอายุคือหนึ่งในกุญแจสำคัญที่ทำให้เกิดขยะเหล่านี้ขึ้นมา

01

ความลับมีอยู่ว่า ‘วันที่’ ทั้งหมดบนผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวันจัดจำหน่าย วันที่ควรบริโภค หรือควรบริโภคก่อนวันที่ เกือบทั้งหมดอาจไม่ได้แสดงถึงความปลอดภัยของอาหาร และถ้าจะว่ากันตามตรงแล้ว ไม่มีการควบคุมวันที่เหล่านั้นอย่างที่หลายคนเชื่อ

ระบบของวันหมดอายุในปัจจุบันทำให้ผู้บริโภคเชื่ออย่างผิดๆ ว่า พวกเขาต้องทิ้งอาหารเพื่อความปลอดภัยของตนเอง ทั้งที่จริงแล้ว วันที่เหล่านั้นเป็นเพียงคำแนะนำจากผู้ผลิตว่าช่วงเวลาที่อาหารมีคุณภาพสูงสุด มากกว่าจะบอกว่าเวลาใดไม่ปลอดภัยต่อการกิน

บรรดาผู้บริโภคและธุรกิจในอเมริกาต่างทิ้งอาหารหลายพันล้านปอนด์ไปอย่างไม่จำเป็นในทุกๆ ปี เป็นผลมาจากลำดับการติดฉลากวันหมดอายุอาหารที่ยุ่งเหยิง ซึ่งจำเป็นต้องมีการสร้างมาตรฐานและทำให้เข้าใจง่าย

รู้หรือไม่ว่าอาหารจำนวน 40 เปอร์เซ็นต์ที่ผลิตในประเทศไม่เคยตกถึงท้องของใคร เกือบครึ่งกลายเป็นขยะ ไม่เพียงแต่อาหารบนจานเท่านั้น แต่ยังมีในตู้เย็นและตู้กับข้าว ในร้านค้าปลีกจนถึงสถานที่เพาะปลูก

อาหารจำนวนมากที่ยังดีและกินได้มูลค่า 165 พันล้านดอลลาร์ในแต่ละปี ถูกทิ้งลงถังขยะแทนที่จะมอบให้ผู้หิวโหย การแปลความหมายอย่างผิดๆ ของฉลากวันหมดอายุคือหนึ่งในกุญแจสำคัญที่ทำให้เกิดขยะเหล่านี้ขึ้นมา

จากผลสำรวจโดยสถาบันการตลาดด้านอาหาร ชี้ให้เห็นว่า ความสับสนเรื่องวันที่ทำให้ชาวอเมริกัน 9 ใน 10 คนทิ้งอาหารไปโดยไม่จำเป็น สำหรับครอบครัวฐานะปานกลางที่มีสมาชิกสี่คน ข้อมูลดังกล่าวอาจตีความได้ว่าพวกเขาสูญเงินหลายร้อยดอลลาร์ไปกับอาหารที่กำลังถูกทิ้งในทุกๆ ปี

1 ใน 6 ของชาวอเมริกันขาดแคลนความมั่นคงในการจัดหาอาหาร เนื่องจากผู้มีอำนาจได้เข้าควบคุมกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารไว้เกือบหมด และประชาชนต่างคุ้นเคยกับการดูฉลากวันที่บนผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิดมาตลอด ผู้กำหนดนโยบายก็ไม่ได้ตั้งคำถามถึงระบบการออกฉลากวันหมดอายุ และขาดการวิเคราะห์นโยบายอย่างเข้มงวดถึงวิธีที่ฉลากเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อทางเลือกของผู้บริโภค

 

left dirty dishes in restaurant

 

รายงานจากสภาป้องกันทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resources Defense Council: NRDC) และคลินิกกฎหมายและนโยบายด้านอาหารฮาร์วาร์ด (Harvard Food Law & Policy Clinic) พิจารณาถึงแรงผลักดันตั้งแต่อดีตในการกำหนดให้อาหารมีวันที่เพื่อแสดงความสดใหม่ของผลิตภัณฑ์ รวมถึงแนวทางที่ทำให้ระบบไม่อาจไปถึงเป้าหมายได้ ทั้งนี้ ได้มีการอธิบายถึงกฎหมายรัฐบาลกลางและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปกับการเปรียบเทียบกฎหมายรัฐที่เชื่อมโยงกับการติดฉลากบนอาหาร

จุดอ่อนหลักๆ ของระบบฉลากวันที่ในปัจจุบันคือ :

•    การขาดกฎหมายที่สอดคล้องกัน อีกทั้งหลักเกณฑ์ฉลากวันที่ที่ไม่เสถียรทั้งของรัฐและท้องถิ่นได้ทำให้การออกฉลากวันที่หลากหลายและไม่สอดคล้องกันในอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความไม่สอดคล้องดังกล่าวมีอยู่ในหลายระดับ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตที่ติดฉลากเป็นแห่งแรก วิธีเลือกถ้อยคำมาใช้บนฉลาก ความหมายที่แตกต่างไปในถ้อยคำเดียวกัน และขอบเขตกว้างขวางของวิธีกำหนดวันที่บนผลิตภัณฑ์

•    ระบบที่ยุ่งยากนี้กำลังทำให้เป้าหมายของการออกแบบฉลากวันประสบความล้มเหลว นั่นคือการชี้วัดความสดใหม่ ตรงกันข้ามมันกลับสร้างความสับสนและทำให้ผู้บริโภคหลายคนเชื่ออย่างผิดๆ ว่าฉลากวันที่คือสัญลักษณ์ของความปลอดภัยจากเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายในอาหาร ถือเป็นการมองข้ามความสำคัญของตัวชี้วัดความปลอดภัยที่ตรงกับปัญหามากกว่า

•    ความสับสนนี้ยังนำไปสู่อาหารเหลือทิ้งจำนวนมากที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะความเชื่อผิดๆ ว่า อาหารที่เลยวันหมดอายุมาแล้วไม่เหมาะกับการบริโภค เป็นเหตุให้ผู้บริโภคทิ้งอาหารไปก่อนที่ควรจะเป็น

•    นโยบายการติดฉลากวันที่ที่ไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติได้เพิ่มทั้งภาระและปริมาณอาหารเหลือทิ้งในระดับการผลิตและค้าปลีก สร้างความเสียหายต่อผลประโยชน์ของทั้งผู้ผลิตและผู้ค้าปลีก

•    การติดฉลากวันที่กลายเป็นอุปสรรคต่อความพยายามกู้คืนและกระจายอาหาร ภายใต้จัดการอาหารที่พ้นวันหมดอายุด้วยวิธีการซับซ้อนและถูกต้องตามกฎหมาย
03

ทำอย่างไรให้ฉลากวันที่มีประโยชน์มากขึ้น?

เพื่อให้สื่อสารกับผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น สภาป้องกันทรัพยากรธรรมชาติ หรือ NRDC เสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงดังต่อไป:

1.     ทำให้ “วันจัดจำหน่าย” หายไป: “วันจัดจำหน่าย” สร้างความสับสนและให้คำแนะนำอย่างไร้ประโยชน์แก่ผู้บริโภค ดังนั้น “วันจัดจำหน่าย” และฉลากวันที่อื่นๆ ที่ผู้ค้าปลีกใช้เพื่อควบคุมคลังสินค้าไม่ควรปรากฏให้ผู้บริโภคเห็น ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ควรแสดงวันที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคเท่านั้น

2.สร้างระบบวันที่ที่เชื่อถือได้ สอดคล้อง สม่ำเสมอ และสื่อสารกับผู้บริโภคโดยตรง: คำแนะนำทั้งห้าข้อต่อไปนี้แสดงถึงแนวทางในการสร้างฉลากวันที่ที่มีมาตรฐานและเข้าใจง่าย ช่วยสร้างระบบวันที่ที่สื่อสารกับผู้บริโภคโดยตรง โดยผู้บริโภคสามารถเข้าใจและเชื่อถือได้ ระบบดังกล่าวควรสอดคล้องครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์ในขอบเขตที่มีเหตุผล

  • กำหนดภาษาที่เป็นมาตรฐานและชัดเจนเพื่อใช้กับฉลากวันที่ ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงความปลอดภัย: ภาษาที่ใช้สำหรับวันที่ควรบริโภคก่อนบนผลิตภัณฑ์อาหารควรชัดเจนและมีมาตรฐาน เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลความหมายของวันที่แตกต่างกันได้ดียิ่งขึ้น คำที่ใช้ควร (1) ทำให้ความหมายเฉพาะเป็นไปในรูปแบบเดียวกันทั่วประเทศ และครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์ (2) ไม่ให้ข้อมูลการขนส่งที่กำกวม และ (3) อธิบายวันที่เชิงความปลอดภัยและเชิงคุณภาพอย่างชัดเจน
  • รวมถึง “วันแช่แข็ง” และข้อมูลการแช่แข็งที่สามารถนำไปปรับใช้ได้: ส่งเสริมการใช้ “วันแช่แข็ง” บนผลิตภัณฑ์อาหารที่เน่าเปื่อยได้ง่าย เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคได้ตระหนักถึงประโยชน์ของอาหารแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์อาหารจำนวนมากที่สามารถแช่แข็งเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาได้
  • เปลี่ยนหรือถอดวันที่ในเชิงคุณภาพออกจากสินค้าที่ไม่เน่าเสียง่าย เก็บรักษาได้นาน: ถอด “ควรบริโภคก่อนวันที่” หรือวันที่ระบุคุณภาพอื่นๆ ออกจากอาหารที่เก็บรักษาได้นานและไม่เน่าเสียง่าย เมื่อความปลอดภัยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องก็จะลดการทิ้งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ และหันไปเพิ่มน้ำหนักให้กับการติดฉลากบนผลิตภัณฑ์ที่ต้องเกี่ยวข้องกับความปลอดภัย วันที่บางประเภทอาจมีประโยชน์ เช่น เป็นตัวบ่งชี้อายุการเก็บรักษาหลังเปิดใช้งาน (ตัวอย่างเช่น “ควรรับประทานให้หมดภายในxxวันนับจากเปิดบรรจุภัณฑ์”) หรือวันที่ที่ผลิตภัณฑ์ได้รับการบรรจุ (ตัวอย่างเช่น “คุณภาพสูงสุด xx เดือน/ปีหลังจากวันบรรจุ”)
  • 02
  • ทำให้มั่นใจว่ามีฉลากวันที่ชัดเจนและบ่งชี้ได้ ติดอยู่บนผลิตภัณฑ์: ข้อมูลฉลากวันที่ควรอยู่ในตำแหน่งที่ผู้บริโภคจะหาเจอและสามารถเข้าใจได้ง่าย อาจอยู่ที่กล่องข้อมูลการควบคุมความปลอดภัยทั่วไป ในลักษณะคล้ายกับตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการ
  • เลือกวันโดยใช้วิธีที่โปร่งใสมากขึ้น: สร้างแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อให้ผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกสามารถใช้กำหนดฉลากผลิตภัณฑ์ รวมถึงผู้บริโภคที่สนใจก็สามารถเรียนรู้ได้ด้วย

3.    เพิ่มการใช้คำแนะนำสำหรับการจัดการความปลอดภัยและ “ฉลากอัจฉริยะ”: สร้างฉลากวันที่ที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหารอย่างชัดเจนควบคู่ไปกับฉลาก รวมไปถึงประโยคและคิวอาร์โค้ดที่เพิ่มเติมเข้าไปให้ผู้บริโภคตรวจสอบข้อมูลได้มากขึ้น หรือมี “ฉลากอัจฉริยะ” อย่างตัวชี้วัดเวลาและอุณหภูมิ

**************************************
(ที่มา : www.nrdc.org)

logo

Author

WAY

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า