กิน ‘ข้าวเม็ดน้อย’ อย่างรู้ที่มา

เครือข่าย คนกินข้าวเกื้ัอกูลชาวนา

เรื่อง : อภิรดา มีเดช
ภาพ : บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด

‘บุญกุดชุม’ ในจังหวัดยโสธร ถือเป็นแนวคิดการพึ่งตนเองของชาวบ้าน ที่ถูกพิสูจน์แล้วว่าทำได้จริง ให้คนในชุมชนลดการพึ่งพาภายนอกด้วยรูปแบบธนาคารชุมชน การปลูกข้าวอินทรีย์ ซ้ำยังทำให้สังคมวงกว้างได้ตระนักถึงการบริโภคโดยไม่เบียดเบียนกันและกัน

เราคงไม่สบายใจ หากรู้ว่าข้าวที่กินส่งเสริมการล่าอาณานิคมทางการเกษตร ทำให้ชาวนาเป็นหนี้ จนต้องเช่าผืนนาที่เคยเป็นของตัวเองทำกิน ไม่ก็เลิกอาชีพค้อมหลังให้แม่ธรณีเสียเลย

คงยิ่งแย่หากข้าวจานนั้นมาจากนาเคมี ทำร้ายสรรพชีวิตรายรอบ ไม่เว้นแม้กระทั่งตัวเราเองที่กำลังตักข้าวเข้าปาก

เราคงทำเป็นไม่รู้สึกรู้สาอะไรต่อไปไม่ได้แล้ว

‘บุญ’ ชุมชน

‘เบี้ยกุดชุม’ เกิดขึ้นจากแนวคิดเศรษฐกิจพึ่งตนเองของชาวบ้านนาโส่ อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร เมื่อปี 2542 เพื่อให้ชุมชนลดการพึ่งพาภายนอกด้วยธนาคารชุมชน เบี้ยถูกนำมาใช้เฉพาะแลกเปลี่ยนสินค้าภายในชุมชนเท่านั้น อาทิ ผลิตผลการเกษตร ข้าว สมุนไพร และสินค้าหัตถกรรมต่างๆ

ทว่าหลังใช้ได้เพียงสัปดาห์เดียว เศรษฐกิจชุมชนรูปแบบนี้ก็ถูกยับยั้งจากรัฐไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งห้ามการใช้เบี้ยกุดชุมเพราะผิดกฎหมาย แต่ในที่สุดเมื่อเข้าใจวัตถุประสงค์ของชุมชนก็ผ่อนผันให้ใช้เบี้ยได้ แต่ต้องเปลี่ยนเป็น ‘บุญกุดชุม’ ไม่ใช้คำว่า ‘ธนาคาร’ และ ‘เงิน’ เบี้ยชุมชนจึงกลับมาอีกครั้งเมื่อปี 2546เครือข่าย คนกินข้าวเกื้ัอกูลชาวนา

นอกจากนี้ชาวกุดชุมยังริเริ่มการเพาะปลูกข้าวอินทรีย์ และร่วมกันสร้างโรงสีชุมชนจากเงินบริจาคแหล่งต่างๆ เพื่อแปรรูปผลิตผลกันเองตั้งแต่ปี 2534

ปัจจุบันชาวบ้านที่นี่ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ‘ชุมชนเข้มแข็ง’ เป็นไปได้จริง

เครือข่าย คนกินข้าวเกื้ัอกูลชาวนา

คนปลูก+คนกิน = ข้าว 🙂

เครือข่าย ‘ฅนกินข้าวเกื้อกูลชาวนา’ เป็นอีกหนึ่งเครือข่ายกำเนิดใหม่จากความร่วมมือร่วมใจระหว่าง บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด กับกลุ่มชาวนาคุณธรรม 4 จังหวัด ยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร และอุบลราชธานี

เจตนารมณ์หลักของเครือข่าย มุ่งสร้างสังคมแห่งการเกื้อกูล ที่เป็นมากกว่าคนขายกับคนซื้อ หรือผู้ผลิตกับผู้บริโภค แต่เป็นสายใยถักร้อยระหว่างคนปลูกกับคนกิน ‘ข้าว’ อย่างแนบแน่น

กลุ่มชาวนาคุณธรรม หรือกลุ่มข้าวคุณธรรม เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มชาวนา จังหวัดยโสธร ที่ทำเกษตรอินทรีย์ตั้งแต่ปี 2538 นำไปสู่การตั้งองค์กรชาวนา เริ่มต้นในพื้นที่แรกๆ ในกลุ่มเกษตรกรทำนา ตำบลนาโส่ ตำบลบากเรือ ปัจจุบันได้ขยายกลุ่มเพิ่มเป็น 4 จังหวัดดังกล่าว

นอกจากผลผลิตแบบกสิกรรมธรรมชาติปลอดสารพิษได้มาตรฐานสากลจากโรงสีชุมชน  คนปลูกเองก็ต้องปฏิบัติตามปฏิญญาชาวนาด้วยการรักษาศีล 5 ลดละเลิกอบายมุขสิ่งมอมเมาทุกประเภท

ข้าวที่ได้มา นอกจากจะปลอดภัยต่อคนกินและระบบนิเวศแล้ว ย่อมมีส่วนพัฒนาชีวิตและจิตใจคนปลูกด้วยในคราวเดียวกัน

ข้าวของเรากว่า 150 สายพันธุ์

เครือข่าย ‘ฅนกินข้าวเกื้อกูลชาวนา’ แม้หมาดใหม่ แต่เปิดกว้างสำหรับสมาชิกคนกินข้าว 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ รายเดือน ราย 6 เดือน และรายปี

มีข้าวหลากประเภทให้เลือกรับ ทั้งข้าวหอมมะลิและหอมมะลิแดง (ในรูปแบบข้าวกล้องและซ้อมมือ) ข้าวหอมนิล ข้าวกล้องงอก จนถึงข้าวกล้องพื้นเมือง 150 สายพันธุ์ ที่ให้ผลผลิตน้อยมากในแต่ละปี

ต้องยอมรับว่าผู้เข้าร่วมเครือข่ายฯควรมีภูมิลำเนาใกล้กรุงเทพฯอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะจุดรับส่งสินค้าหลักอยู่ที่บริษัท ทีวีบูรพา ในซอยรามคำแหง 43/1

แม้ต้องพาข้าวเดินทางไกลสักนิด แต่แนวคิดเกื้อกูลชาวนาเพื่อการพึ่งตนเองยังอยู่ครบครัน

หันมากิน ‘ข้าว’ ที่ช่วยสนับสนุนชาวนาตัวจริงให้มีแรงปลูกข้าวอินทรีย์ ดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

กินอย่างรู้ที่มา

กินอย่างเกื้อกูล เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน

เครือข่าย คนกินข้าวเกื้ัอกูลชาวนา

****************

(หมายเหตุ : ตีพิมพ์ มีนาคม 2553) 

Author

ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
หญิงแกร่งที่ทำงานทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านให้กับ WAY ถ้าเป็นนักฟุตบอลนี่คือผู้เล่นผู้จัดการทีมที่มีประสบการณ์ในสายงานข่าว ทั้งคลุกคลี สัมภาษณ์ บันเทิง ไลฟ์สไตล์ นอกจากนี้การเป็นคุณแม่ซึ่งมีลูกสาวย่างเข้าวัยรุ่นยังช่วยส่งเสริมให้สามารถปั่นงานด้านเด็กและเยาวชนอย่างเชี่ยวชาญ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า