เขตปลอดบุหรี่ในบ้าน

san rafael smoking ban 1

เมืองซานราฟาเอลในแคลิฟอร์เนีย อาจเป็นเมืองที่สวยงามแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา แต่ถ้าคุณเป็นสิงห์อมควัน เมืองแห่งนี้อาจไม่ใช่ที่ที่น่าอภิรมย์สำหรับคุณ

ล่าสุดเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน เมืองซานราฟาเอล ที่อยู่ในย่านชานเมืองของซานฟรานซิสโก ออกข้อบังคับห้ามสูบบุหรี่ ชนิดที่เจ้าหน้าที่หลายคนกล่าวว่าเป็นข้อบังคับเข้มงวดที่สุดในประเทศ ด้วยการห้ามสูบบุหรี่ในบ้านตัวเอง

กฎหมายเทศบัญญัติสั่งห้ามประชาชนสูบบุหรี่ในที่พักที่ใช้ผนังกำแพงร่วมกับผู้อื่น อย่างเช่น อพาร์ตเมนต์ ห้องชุด 2 ชั้น (duplex) และคอนโดมิเนียม เพราะไม่ต้องการให้มีผู้ได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่มือสอง หน่วยงานด้านสาธารณสุขของสหรัฐอเมริการายงานว่า มีผู้เสียชีวิตเพราะควันบุหรี่มือสอง 50,000 คนต่อปี ในนั้นรวมไปถึงเด็กทารกอีก 430 คน
สภาเมืองซานราฟาเอลมีมติรับรองเทศบัญญัติฉบับนี้อย่างเป็นเอกฉันท์เมื่อปลายปีที่แล้ว

“ฉันไม่ได้รู้สึกว่าข้อบังคับมันเข้มงวดขึ้นนะ” รีเบกกา วูดบิวรี นักวิเคราะห์จากเทศบาลให้ความคิดเห็น “ไม่เกี่ยวว่าคนอยู่อาศัยจะเป็นของเจ้าของหรือผู้เช่า เราไม่ต้องการเลือกปฏิบัติ แต่สิ่งที่แบ่งแยกก็คือการมีผนังกำแพงที่ผู้พักอาศัยต้องใช้ร่วมกัน”

แคลิฟอร์เนียออกกฎห้ามสูบบุหรี่ในบาร์ คลับ และภัตตาคารเมื่อปี 1995 ทว่าข้อบังคับของซานราฟาเอลถือเป็นการเคลื่อนไปสู่การห้ามสูบบุหรี่ในบ้านครั้งแรก สมาคมปอดแห่งสหรัฐอเมริกา เรียกการเคลื่อนนี้ว่า “การบุกเบิก”

“กฎหมายตัวนี้จะช่วยให้สุขภาพของคนแคลิฟอร์เนียทุกคนดีขึ้น เพราะช่วยลดควันบุหรี่ที่โชยเข้ามาจากทางระเบียง ลานบ้าน และส่วนอื่นๆ ของบ้าน” เจน วอร์เนอร์ ประธานและซีอีโอของสมาคมปอดแห่งสหรัฐอเมริกา แสดงทัศนะ

san rafael smoking ban 3

แต่ใช่ว่าทุกคนจะดีใจไปกับ “การเคลื่อน” ครั้งนี้

“การห้ามสูบบุหรี่…ครั้งนี้ ตั้งใจลงโทษสิ่งที่ประชาชนทำในบ้านของตัวเอง” โธมัส รัพเพนธาล ผู้พักอาศัยในซานราฟาเอล กล่าว “ผมรู้สึกว่านี่มันเป็นการกดขี่ชัดๆ”

บางคนที่คัดค้านกฎหมายตัวนี้ กล่าวอ้างว่าคนที่ได้รับผลกระทบคือผู้มีรายได้ต่ำ ที่ไม่มีเงินมากพอให้ไปซื้อบ้านเดี่ยว ไบรอัน ออกุสตา จากศูนย์ตะวันตกว่าด้วยกฎหมายและความยากจน มองว่า “หากการสูบบุหรี่คือการเสพติด ซึ่งก็ชัดเจนว่ามันเป็นอย่างนั้น ถ้าอย่างนั้นเรากำลังบอกให้ผู้คนต้องเลิกสูบบุหรี่โดยไม่มีมาตรการใดๆ มาช่วยสนับสนุนให้เลิกสูบ หรือให้เขาย้ายออกจากบ้านตัวเองไปอย่างนั้นใช่ไหม”

คิมเบอร์ลี อเมซีน จากสมาคมปอดแห่งสหรัฐอเมริกา่  ก็เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว

“การเลือกปฏิบัติที่แท้จริงก็คือการไปสร้างปัญหาให้กับครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ ซึ่งไม่อาจหนีไปจากควันบุหรี่มือสองที่ทำให้ถึงตายนี้ได้” อเมซีนเสริมอีกว่า “และพวกเขาก็ไม่อาจไปหาที่อยู่แห่งใหม่ได้ ด้วยเหตุผลทางด้านรายได้หรือสุขภาพของพวกเขา”

……………………………………..

(ที่มา: huffingtonpost.com)

 

สนับสนุนโดย

Author

ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
หญิงแกร่งที่ทำงานทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านให้กับ WAY ถ้าเป็นนักฟุตบอลนี่คือผู้เล่นผู้จัดการทีมที่มีประสบการณ์ในสายงานข่าว ทั้งคลุกคลี สัมภาษณ์ บันเทิง ไลฟ์สไตล์ นอกจากนี้การเป็นคุณแม่ซึ่งมีลูกสาวย่างเข้าวัยรุ่นยังช่วยส่งเสริมให้สามารถปั่นงานด้านเด็กและเยาวชนอย่างเชี่ยวชาญ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า