เรื่องจนๆ กับผลวัดไอคิว

poverty

 

เรื่อง : ศุทธวีร์ ตันติวงศ์ชัย

 

ผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พบว่าความยากจนส่งผลให้ไอคิวลดต่ำลง โดยความคิดดังกล่าวได้ทำการตัดสมมุติฐานความขี้เกียจและการไม่ใฝ่เรียนรู้เป็นเหตุให้ยากจนออกไป

เพราะในความเป็นจริงแล้ว สมองต้องใช้ ‘แรงใจ’ ในการพัฒนาความคิด แต่ภาวะการขาดแรงใจหรือภาวะที่ส่งผลด้านลบต่อจิตใจมีผลให้ระบบการคิดวิเคราะห์ติดขัด

การวิจัยชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสาร Science  ซึ่งเผยรายละเอียดว่า วิธีการแก้ปัญหาขาดแรงใจนั้นทำได้โดยการพักผ่อน รับประทานอาหาร  และอุปสรรคสำคัญคือ การทำงานหนัก เพราะจะส่งผลเสียต่อการคิดวิเคราะห์ แต่ไม่มีผลกับทักษะความรู้โดยกำเนิดหรือลักษณะเฉพาะตัว

“ฉันคิดว่ามันเป็นการเปลี่ยนกระแสความคิด” แคธลีน วอชร์ นักวิทยาศาสตร์ด้านพฤติกรรมแห่งมหาวิทยาลัยคาร์ลสัน สคูล และการจัดการ มินนิโซตา ผู้ซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัยดังกล่าว ให้ความเห็น

โดยเฉพาะแนวคิดที่ว่า กลุ่มคนยากไร้ไม่มีทรัพย์สินเป็นเพราะพวกเขาขี้เกียจ การขาดแรงบันดาลใจหรือขาดไหวพริบ นั้น เซนเทล มัลไลนาธาน นักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้ร่วมวิจัยดังกล่าว แย้งว่า “มันเป็นเรื่องทั่วไปที่พูดกันแบบกว้างๆ สัญชาตญาณของเรานั้นแตกต่างกันอย่างมาก ผู้ยากไร้ไม่ได้แตกต่างไปกว่ากลุ่มคนมีฐานะเลยแต่ความยากจนต่างหากที่ส่งผลกระทบต่อพวกเขา”

ปีที่แล้ว มัลไลนาธานและผู้ร่วมทีมวิจัย ได้นำเสนอผลการศึกษาในวารสาร Science ว่า เมื่อใดที่ใครก็ตามถูกบังคับให้ต้องใส่ใจแต่ปัญหาปากท้องและฐานะทางเศรษฐกิจ พวกเขาจะคิดออกนอกกรอบได้น้อยลงและตัดใจล้มเลิกเป้าหมายต่างๆ ในชีวิตไป

 

private jet

 

จุดประสงค์ของทีมวิจัยชุดนี้ คือ ต้องการตรวจสอบว่า ความรู้สึกที่ทดท้อ เหนื่อยยากและขาดแคนนั้น ส่งผลต่อ ประสิทธิภาพของสมองอย่างไร

มัลไลนาธานและผู้ร่วมงานวิจัย ศึกษาผ่าน 2 กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผู้บริโภค ผู้จับจ่ายใช้สอยในนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา และเกษตรกรไร่อ้อยในประเทศอินเดีย

กลุ่มผู้จับจ่ายในนิวเจอร์ซี ถูกแบ่งเป็นอีก 2 กลุ่มย่อย ตามอัตรารายได้ นั่นคือกลุ่มฐานะทางการเงินดีและกลุ่มฐานะทางการเงินแย่ กลุ่มนักวิจัยสอบถามคนเหล่านี้เรื่องแผนการใช้จ่ายที่เกิดขึ้น โดยถามเจาะลงไปถึงค่าใช้จ่ายไม่คาดคิดอย่างค่าซ่อมรถยนตร์

ประชากรกลุ่มที่มีฐานะไม่สู้ดี  บอกว่าค่าใช้จ่ายส่วนที่อยู่ที่ประมาณ  150 ดอลลาร์สหรัฐ  ส่วนกลุ่มฐานะดีนั้นให้อยู่ที่ 1,500 ดอลลาร์สหรัฐ ไปจนถึงเท่าไหร่ก็ได้ถ้าพวกเขาพอใจ

จากนั้นกลุ่มนิวเจอร์ซีย์ ได้เข้าทำการวัดระดับความรู้และทดสอบทักษะการควบคุมจิตใจและร่างกายภายใต้ภาวะกดดันต่างๆ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้มีฐานะดีค่าซ่อมแซมจะสูงเท่าไหร่ก็ไม่มีผลกับไอคิว ต่างจากกลุ่มที่ฐานะไม่สู้ดีไอคิว จะตกลงจากเดิมถึง 13 คะแนนเมื่อพบว่าค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถนั้นสูงถึง 1,500 ดอลล่าร์

india sugar cane

สมมติฐานของทีมวิจัย มีอยู่ว่า ความกังวลใจในค่าใช้จ่ายที่ทำให้เงินร่อยหรอนั้น มีผลต่อทักษะทางการคิด “คล้ายกับคอมพิวเตอร์ที่มีการทำงานอย่างอื่นอยู่เบื้องหลัง ความวิตกกังวลในเรื่องทรัพย์สินทำให้เกิดความติดขัดในทักษะการคิดและมีผลกระทบต่อการรับรู้ในเวลานั้น” มัลไลนาธาน กล่าว

เพื่อทดสอบว่าผลกระทบนี้เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก กลุ่มนักวิจัยได้เดินทางไปสำรวจ เกษตรกรไร่อ้อยจำนวน 464 คน ณ ประเทศอินเดีย โดยทำการสำรวจทั้งก่อนและหลังช่วงเก็บเกี่ยว

โดยเกษตรกรไร่อ้อยกลุ่มนี้จะมีรายได้เพียง 1 ครั้งต่อปี  1 เดือนก่อนช่วงเก็บเกี่ยว การเงินจะเป็นไปอย่างขัดสน แต่ 1 เดือนภายหลังจากช่วงเก็บเกี่ยว พวกเขาจะมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ

เกษตรกรเข้ารับการทดสอบทักษะการคิดและทักษะการควบคุมความคิดในภาวะต่างๆ ทั้งก่อนและหลังจากช่วงเก็บเกี่ยว เมื่อพวกเขามีปัญหาด้านการเงิน พวกเขาทำผลทดสอบวัดระดับไอคิวได้ไม่ดีและใช้เวลานานในการตอบคำถามที่เกี่ยวกับทักษะการควบคุมการคิดในภาวะต่างๆ โดยผลทดสอบนั้นลดลงประมาณ 9 คะแนน ซึ่งผลที่ได้นั้นแตกต่างจากช่วงที่มีเงินใช้ไม่ขาดมือ

นักวิจัยสนับสนุนความคิดที่ว่าพฤติกรรมหลายอย่างที่เชื่อมโยงไปถึงภาวะความยากจน เช่น การขาดและเข้าไม่ถึงระบบสุขภาพที่ดี  มีน้ำหนักตัวมากเกินไป ขาดความใส่ใจจากครอบครัว และการตัดสินใจทางการเงินที่ผิดพลาด ทั้งนี้ความยากจนอาจเป็นต้นเหตุมากกว่าปัจจัยอื่นๆ

“รัฐบาลและประชาชนควรหลีกเลี่ยงการผลักดันการเก็บภาษีจากผู้คนเหล่านั้น ไม่ว่าพวกเขาจะรวยหรือจน ควรสร้างทางเลือกที่ง่ายที่สุดในการช่วยเหลือทุกคน” อีริค เจ. จอห์นสัน นักจิตวิทยาแห่งโรงเรียนธุรกิจโคลัมเบีย เสนอทางเลือกเพื่อแก้ปัญหา

 

***************************

ที่มา : latimes.com

Author

ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
หญิงแกร่งที่ทำงานทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านให้กับ WAY ถ้าเป็นนักฟุตบอลนี่คือผู้เล่นผู้จัดการทีมที่มีประสบการณ์ในสายงานข่าว ทั้งคลุกคลี สัมภาษณ์ บันเทิง ไลฟ์สไตล์ นอกจากนี้การเป็นคุณแม่ซึ่งมีลูกสาวย่างเข้าวัยรุ่นยังช่วยส่งเสริมให้สามารถปั่นงานด้านเด็กและเยาวชนอย่างเชี่ยวชาญ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า