7 เบาะแส ผลิตภัณฑ์สุขภาพหลอกลวง

โลกทุกวันนี้อยู่ยาก ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย ไร้มาตรฐาน กำลังแพร่ระบาดไปทั่วสังคมไทย ผลิตภัณฑ์ทั้งหลายเหล่านี้แฝงอยู่ในสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องอุปโภคบริโภค และอยู่ในชีวิตประจำวันรอบตัวเรา ไม่ว่าจะมาในรูปของอาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ ซึ่งทั้งหมดล้วนเกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของประชาชนโดยตรง

ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อาจเป็นอันตรายในที่นี้ ได้แก่

  1. อาหาร นม กาแฟ อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารเสริม ฯลฯ
  2. ยา ยารักษาโรคชนิดต่างๆ ทั้งยาเม็ด ยาน้ำ ยาทา ยาฉีด ฯลฯ
  3. เครื่องสำอาง ครีม โลชั่น แป้งทาหน้า ลิปสติก น้ำหอม ผลิตภัณฑ์ย้อมผม เจลแต่งผม ฯลฯ
  4. เครื่องมือแพทย์ ถุงยางอนามัย เก้าอี้ไฟฟ้าสถิต คอนแทคเลนส์ เครื่องนวด ที่นอนแม่เหล็ก ฯลฯ
  5. วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน อาทิ ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำ ฯลฯ
  6. วัตถุเสพติด มอร์ฟีน ฝิ่น ยานอนหลับ ยาลดความอ้วนบางชนิด ทินเนอร์ แลกเกอร์ ฯลฯ

จะเห็นว่าสถานการณ์ภัยสุขภาพกำลังลุกลามผ่านทุกช่องทางการสื่อสาร ทั้งโซเชียลมีเดีย สื่อวิทยุ โทรทัศน์ เกินกว่ากำลังเจ้าหน้าที่จะติดตามตรวจสอบได้ทั่วถึง ที่ผ่านมาแม้จะมีผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง แต่อีกด้านหนึ่งก็ยังมีผู้บริโภคอีกจำนวนไม่น้อยที่ต้องตกเป็นเหยื่อโฆษณาอวดอ้างเกินจริง บ้างสูญเสียทรัพย์สิน บ้างได้รับผลกระทบจากความเจ็บป่วย บ้างถึงขั้นเสียชีวิต

การส่งเสริมให้ประชาชนในฐานะผู้บริโภคได้ลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิ์ของตนเองจึงเป็นสิ่งจำเป็น และเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยยับยั้งวงจรการแพร่ระบาดของผลิตภัณฑ์หลอกลวงเหล่านี้ได้

Infographic ชิ้นนี้เรียบเรียงข้อมูลจากส่วนหนึ่งของ คู่มือประชาชน ฉบับผู้บริโภคที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้จัดทำขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัยและรู้จักการปกป้องสิทธิ์ของตนเอง รวมถึงชี้ช่องทางการร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสเมื่อพบผลิตภัณฑ์ต้องสงสัย

สนับสนุนโดย

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

Author

ชาลิสา พุทธรักษา
นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขานิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ งานอดิเรกยามว่างคือดูสไตล์การแต่งตัวในช่วงนี้ และเป็นผู้ที่ถือคติว่าห้ามแต่งตัวซ้ำกันในแต่ละวัน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า