มหากาพย์ไล่รื้อหาบเร่แผงลอย 6 ปัจจัยที่ผู้ว่าฯ กทม. อย่ามองข้าม
เมื่อไม่กี่วันมานี้ ข่าวการไล่รื้อร้านอาหารข้างทางย่านสีลม เพื่อคืนทางเท้าให้ประชาชน กลายเป็นกระแสร้อนแรง ผู้เขียนจึงติดต่อขอสนทนากับกลุ่มผู้ค้าริมทางในย่านนี้อีกครั้ง เพื่อเสนอมุมมองให้คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร (กทม.) พิจารณาและตัดสินใจอย่างรอบด้าน และเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานของทุกฝ่าย ทั้งนี้ การจัดการปัญหาหาบเร่แผงลอยไม่ได้ยากตรงที่สภาพทางกายภาพ แต่อุปสรรคใหญ่คือ การจัดการผลประโยชน์ของแต่ละกลุ่มแต่ละฝ่ายให้ลงตัว 1. ขนาดกิจการของร้านอาหารข้างทาง กทม. ควรจัดหาพื้นที่สำหรับค้าขายโดยเฉพาะให้เอกชนเช่า ทั้งอาหารราคาถูกและอาหารราคาแพง แต่ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ ขนาดกิจการของผู้ค้าแต่ละราย ซึ่งมีต้นทุนทางเศรษฐกิจไม่เท่ากัน และไม่อาจจ่ายค่าเช่าหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในอัตราเดียวกันได้ ตัวอย่างเช่นผู้ค้าที่ขายอาหารประเภทขนมเบื้อง ขนมครก เครป หรือน้ำปั่น ย่อมไม่สามารถเทียบได้กับผู้ค้าที่ขายอาหารประเภทข้าวหรือก๋วยเตี๋ยว เพราะยอดขายสุทธิและต้นทุนค่าใช้จ่ายในแต่ละวันแตกต่างกัน เมื่อเทียบรายได้ในแต่ละวัน ยอดขายสุทธิของรถเข็นขายก๋วยเตี๋ยวอาจมากกว่ายอดขายของแผงขนมถึง 10-20 เท่า ดังนั้น ผู้ค้าที่สามารถย้ายไปเช่าพื้นที่เอกชนหรือพื้นที่เฉพาะของ กทม. อาจมีเพียงผู้ค้าที่มีรถเข็นหรือแผงขนาดใหญ่ ขณะที่รายย่อยอื่นๆ ที่มีขนาดเล็กกว่าอาจไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ 2. ใครควรได้รับสิทธิในการใช้พื้นที่สาธารณะ คณะผู้บริหาร กทม. และสำนักเทศกิจต้องกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและจัดการได้อย่างต่อเนื่องว่า ใครคือผู้ที่ควรได้รับสิทธิในการใช้พื้นที่สาธารณะ ไม่ได้หมายความว่า ทุกพื้นที่จะสามารถค้าขายได้ แต่ควรพิจารณาพื้นที่สาธารณะที่เป็นเขตพิเศษขึ้น แล้วให้มีการจดทะเบียนเพื่อใช้พื้นที่นั้น อาจแบ่งเกณฑ์กว้างๆ เช่น ‘เขตชุมชน’ มีการพึ่งพิงระหว่างผู้อยู่อาศัยและผู้ค้าซึ่งเป็นคนในย่านนั้น ‘เขตเมือง’ ซึ่งเป็นศูนย์รวมสถานที่ทำงานและเป็นจุดสัญจรของผู้คน … Continue reading มหากาพย์ไล่รื้อหาบเร่แผงลอย 6 ปัจจัยที่ผู้ว่าฯ กทม. อย่ามองข้าม
Copy and paste this URL into your WordPress site to embed
Copy and paste this code into your site to embed