Gap year: ตามหาตัวตนในสังคมที่ไม่อนุญาต

การค้นหาตัวตนควรจะเป็นสิทธิโดยชอบธรรมตั้งแต่เกิดหรือไม่?ทุกวันนี้เราก้มหน้าก้มตาเรียนหนังสืออย่างหนักเพื่อทำงานหาเลี้ยงชีพด้วยความชอบจริงๆ?หรือมันเป็นเพียงไม่กี่ทางเลือกที่สังคมบีบให้เราต้องเดิน? กองบรรณาธิการ WAY ระดมแบบสำรวจจากความคิดไม่ตกของตัวแทนผลผลิตทางการศึกษาที่ก็ยังตอบตัวเองไม่ได้ว่า ชีวิตควรทำอะไรต่อหลังเรียบจบ ภายใต้ระบบสังคมที่การออกนอกเส้นทางไปแสวงหาตัวตนผ่านวัฒนธรรม Gap year เป็นเรื่องแปลกหน้า คำถามคือ สิ่งใดกันที่เป็นขวากหนามขวางกั้นการค้นหาตัวเอง วิถี Gap year  Gap year คือการเว้นช่วงระยะเวลาก่อนหรือหลังชีวิตมหาวิทยาลัย เพื่อออกไปแสวงหาตัวตน ค้นหาตนเอง เรียนรู้โลกผ่านประสบการณ์ชีวิตและกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเป็นอาสาสมัคร ทำงานหาเงิน ท่องเที่ยว ตลอดจนเรียนรู้เก็บเกี่ยวทักษะต่างๆ ก่อนเข้าสู่ชีวิตการทำงานจริง เว็บไซต์ gapyeartrails.com กล่าวถึงที่มาของ Gap year ว่า มีต้นกำเนิดมาจาก ‘Grand Tour’ ในศตวรรษที่ 17 ซึ่งชายหนุ่มในอังกฤษจะถูกส่งไปทั่วยุโรปเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์เป็นเวลา 3 ปี อย่างไรก็ตาม แนวคิดเกี่ยวกับ Gap year ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย จนกระทั่งทศวรรษที่ 1960 เมื่อกลุ่มคนรุ่น Baby boomers ในโลกตะวันตกต้องการหลีกหนีจากความรุนแรงของภาวะสงครามที่ส่งต่อมาจากรุ่นพ่อแม่ และปรารถนาที่จะออกไปสำรวจโลกกว้างมากขึ้น วัตถุประสงค์แรกของ Gap year คือการเรียนรู้วัฒนธรรมระหว่างประเทศ … Continue reading Gap year: ตามหาตัวตนในสังคมที่ไม่อนุญาต