‘ประท้วงครั้งแรก’ ของสิงคโปร์

sing1

 

แปลและเรียบเรียงโดย : กำพล พกนนท์

 

สิงคโปร์ หนึ่งในชาติที่สงบสุขแห่งหนึ่งของโลก ไม่ว่าจะในเชิงเศรษฐกิจ การเมือง หรืออาชญากรรม ปกครองด้วยระบบประชาธิปไตยพรรคเดียวซึ่งผ่านมากว่า 26 ปี อาจพูดได้ว่าเกาะเล็กๆ แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ แทบไม่มีการก่อม็อบหรือรวมตัวประท้วงเลยสักครั้ง ด้วยกฏหมายการห้ามชุมนุมในที่สาธารณะ แต่ในปีนี้เอง ที่แดนลอดช่องเริ่มตื่นตัวกับการประท้วง การนัดหยุดงาน ซึ่งโดยมากมาจากพวกแรงงานอพยพที่เข้ามาขายแรงงาน

เริ่มจากเดือนกุมภาพันธ์ แรงงานชาวบังคลาเทศกว่า 200 คน รวมตัวกันประท้วงหยุดงานกว่า 7 ชั่วโมง หลังจากนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือนและสวัสดิการอาหารที่ด้อยคุณภาพ  ต่อมาในเดือนกันยายน พนักงานขับรถโดยสารประจำทางชาวจีนกว่า 171 คน นัดประท้วงหยุดงานขอขึ้นค่าจ้าง ส่งผลให้ แทน ฉวน จิน รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน สั่งเนรเทศ 29 คน ส่วนที่เหลือสั่งปรับคนละ 2,000 เหรียญสหรัฐ และจำคุก

แทน ฉวน จิน กล่าวด้วยความฉุนเฉียวว่า “เราจะไม่อดทนกับพฤติกรรมนอกกฏหมายแบบนี้ เพราะมันส่งผลกระทบไปถึงการใช้ชีวิตประจำวันของคนอื่น”

ซักทิเวล แรงงานก่อสร้างระหกระเหินมาจากหมู่บ้านทางตอนใต้ของอินเดีย เขาเป็นหนึ่งในหลายหลายๆ คนที่ต้องเสียเงินค่านายหน้าแพงระยับเพื่อมาล่าฝันในสิงคโปร์ เขาทำงานมาได้ 4 ปีแล้ว ส่วนมากต้องอยู่ไซท์งานก่อสร้างตึกระฟ้าหรือไม่ก็อพาร์ทเม้นท์หรู  เขายังจำคำเตือนคำสอนด้วยน้ำเสียงเกรี้ยวกราดของเจ้านายตัวเองในวันแรกที่เริ่มงานได้ขึ้นใจว่า “เขาบอกว่าพวกต่างด้าวต้องอยู่อย่างไม่ให้ใครเห็นใครรู้ เพราะจะทำให้ผู้คนสิงคโปร์รู้สึกอึดอัดและโกรธมาก ทุกวันหลังเลิกงาน เราต้องเตือนตัวเองว่า เรามาที่นี่เพื่อทำงาน ไม่ได้มาหาความสุขหรือมาเที่ยว”

สิงคโปร์เป็นที่พักพิงอิงแอบของชาวต่างด้าวกว่าหนึ่งล้านห้าแสนคน ส่วนมากเข้ามาอาบเหงื่อต่างน้ำในอุตสาหกรรมก่อสร้าง อู่เรือ การขนส่ง หรือกระทั่งการกำจัดขยะ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานที่ชาวสิงคโปร์ไม่อยากทำอยู่แล้ว

คริส เล็กเก็ต ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมสัมพันธ์จากมหาวิทยาลัยเจมส์ คุก ประเทศออสเตรเลีย เผยว่า การประท้วงและนัดหยุดงานในสิงคโปร์ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ ในทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะแรงงานชาวจีนมีประสบการณ์เรื่องข้อพิพาทกับนายจ้างจนกลายเป็นลักษณะเฉพาะตัวของอุตสาหกรรมสัมพันธ์ในจีนไปแล้ว จึงเป็นธรรมชาติที่พวกเขาจะเรียนรู้ว่าการประท้วงมันได้ผล โดยเฉพาะเมื่อยิ่งรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงาน”

เล็กเก็ต  วิเคราะห์ในภาพใหญ่ว่า การไหลทะลักของแรงงานต่างชาติจะทำให้รัฐบาลสิงคโปร์ตกที่นั่งลำบาก เพราะต้องสร้างจุดสมดุลระหว่างความพึงพอใจให้กับพลเมืองของตน แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่อาจเลี่ยงการใช้บริการแรงงานต่างชาติค่าแรงต่ำได้

ในประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่แต่มีพื้นที่ขนาดจิ๋วอย่างสิงคโปร์ ทุกพรรคต่างเอาใจประชาชนด้วยนโยบายสวยหรูอย่าง “การจำกัดจำนวนของแรงงาน” ซึ่งปัจจัยหลักอาจจะไม่ใช่เรื่องของการแย่งงานคนสิงคโปร์ทำอย่างในหลายประเทศ แต่เป็นเรื่องของเหตุอาชญากรรมต่อชาวสิงคโปร์ที่เกิดจากแรงงานต่างชาติซึ่งเสนอตามสื่อหลัก  จนจนทำให้สิงคโปค์ออกาอาการกลัว คนต่างด้าว รุนแรงถึงชขั้นเกลียดชังผู้ที่มีชาติพันธุ์ที่ไม่รู้จักหรือแตกต่างจากตนเอง

 

sing3

 

เอล็กซ์ ลู  บล็อกเกอร์เจ้าถิ่นผู้เฝ้ามองความเป็นไปในแดนลอดช่องบอกว่า “นี่เป็นอาการวิตกจริตขั้นรุนแรงในสังคมสิงคโปร์ เรากำลังจะกลายเป็นสังคมดูเหมือนจะไม่รับรู้ว่ามนุษย์แต่ละคนนั้นมีสิทธิ์โดยธรรมชาติ”

ในปี 2008 รัฐบาลเคยมีแผนจะสร้างหอพักในแรงงานต่างชาติแถบกลางเซรางกูน การ์เด้น ซึ่งถือเป็นย่านของมหาเศรษฐี จึงเกิดเสียงโวยเสียงคัดค้านจากเจ้าที่แถบนั้น โดยเกรงว่าแรงงานเหล่านี้จะเป็นภัยแก่ลูกหลานตน เป็นมลพิษสายตา เพื่อบรรเทาความกังวลของคนกลุ่มนี้ รัฐบาลต้องสร้างรั้วกันและนำต้นไม้มาปลูกเป็นแถบเพื่อไม่ให้หอพักนี้แทรกซึมสู่สายตาเศรษฐีเหล่านั้นได้

คุณนายแทน ผู้อยู่อาศัยในย่านมีอันจะกินนี้มากว่า 20 ปี เปิดเผยว่า ทุกคืนเธอต้องปิดประตู หน้าต่างทุกบานเพราะรำคาญเสียงอึกทึกจากหอพังแรงงานต่างด้าว ซึ่งมีการต่อยตีกันเองบ่อยครั้งจนรบกวนความสงบสุขของผู้คนรอบข้าง เธอขยาดพวกต่างด้าว ถึงขนาดที่ยอมย้ายขั้วทางการเมืองจากพรรคโปรดซึ่งเป็นพรรคที่สนับสนุนให้มีการสร้างหอพักแห่งนี้

“จนถึงทุกวันนี้ ดิฉันก็ยังไม่ยินดีปรีดาที่พวกเขาย้ายมาอยู่แถวนี้ แต่ดิฉันจะทำอะไรได้ล่ะ” เธอเล่าอย่างหดหู่

 

…………………………..

ที่มา : aljazeera.com

 

Author

ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
หญิงแกร่งที่ทำงานทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านให้กับ WAY ถ้าเป็นนักฟุตบอลนี่คือผู้เล่นผู้จัดการทีมที่มีประสบการณ์ในสายงานข่าว ทั้งคลุกคลี สัมภาษณ์ บันเทิง ไลฟ์สไตล์ นอกจากนี้การเป็นคุณแม่ซึ่งมีลูกสาวย่างเข้าวัยรุ่นยังช่วยส่งเสริมให้สามารถปั่นงานด้านเด็กและเยาวชนอย่างเชี่ยวชาญ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า