น้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกละลายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ รายงานจากศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งของสหรัฐอเมริกา (NSIDC) ร่วมกับ หน่วยสำรวจทางอวกาศของญี่ปุ่น และ หน่วยงานอื่นๆ
โดยคาดว่าภายใน 2 สัปดาห์นี้ น้ำแข็งจะละลายมากที่สุด และ จะแข็งตัวจนกลายเป็นน้ำแข็งอีกทีก่อนถึงฤดูหนาว ทั้งนี้ดาวเทียมเผยภาพให้เห็นว่า วันอาทิตย์ 26 สิงหาคม ที่ผ่านมา น้ำแข็งละลายจนพื้นที่ลดเหลือเพียง 4.1 ล้านตารางกิโลเมตร ทุบสติถิก่อนหน้านี้เมื่อปี 2007 ที่ละลายลงเหลือ 4.3 ล้านตารางกิโลเมตร
วอลท์ ไมเออร์ นักวิทยาศาสตร์จาก NSIDC บอกว่า นี่เป็นสัญญาณบอกว่า สภาพน้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทร์อาร์กติกได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว
“สถิติเมื่อปี 2007 ที่น้ำแข็งละลายมากเช่นนั้น เพราะเกิดจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงฤดูร้อน พอมาปีนี้ ถ้าไม่นับพายุลูกใหญ่ต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ลักษณะอากาศปีนี้ถือว่าไม่มีอะไรผิดปกติ แต่กลับเป็นว่าน้ำแข็งตอนนี้เปราะและบางมาก” มาร์ค เซอร์เรส ผู้อำนวยการ NSIDC เพิ่มเติม
จากปรากฎการณ์ดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์ทั้งจาก NSIDC และ อื่นๆ ในเครือข่าย บอกว่าเป็นสัญญาญชัดเจนถึง สภาวะโลกร้อนในระยะยาว
“มหาสมุทรอาร์ติก เคยถูกปกคลุมด้วย แผ่นน้ำแข็งหลายชั้นที่มีอายุยาวนาน 2-3 ปี แต่ตอนนี้ มันกลายสภาพเป็นน้ำแข็งที่เปลี่ยนไปตามฤดูกาลแล้ว ” เซอร์เรส ชี้ให้เห็น
โดยวงจรปกติ น้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติก จะละลายในช่วงหน้าร้อน และ กลับมาเป็นน้ำแข็งในช่วงฤดูหนาว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในปีนี้คือ ปริมาณน้ำแข็งที่ละลายมากที่สุดในรอบ 30 ปี
“การละลายแบบทำลายสถิติเช่นนี้ กำลังจะกลายเป็นความปกติมากขึ้นเรื่อยๆ” คลิฟ เทซาร์ จาก โครงการ Global Artic ของ WWF ให้ความเห็น
นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่า แผ่นน้ำแข็งเป็นมีบทบาทสำคัญต่อสภาพภูมิอากาศ ทำหน้าที่คล้ายกระจกบานใหญ่ที่สะท้อนแสงอาทิตย์ และ รักษาความเย็นให้โลก ทั้งนี้การก่อตัวของน้ำแข็ง จะช่วยสร้างและเก็บกักน้ำทะเลที่เข้มข้น และ รักษาระบบกระแสการไหลเวียนของน้ำทะเลลึก ถ้าไม่มีน้ำแข็ง นักวิทยาศาสตร์เกรงวกันว่า ความสมดุลจะหายไป สภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง
ที่มา guardian.co.uk