ประวัติศาสตร์เส้นทางสู่มหาวิทยาลัย

info-education-entrance-03

ภาพประกอบ: antizeptic
อ้างอิงข้อมูลจาก: โดม-ภราดร เทพสุภา บล็อกเกอร์การศึกษา
วิทยากรรับตรงและแอดมิชชั่น Admission Premium (admissionpremium.com)
บรรณาธิการและวิทยากรรับตรง-แอดมิชชั่น Eduzones (eduzones.com)

 

Old Entrance

2504

  • เพราะสมัยก่อนมหาวิทยาลัยยังมีน้อย แค่ห้าสถาบัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยศิลปากร รวมทั้งยังไม่มีหน่วยงานกลางเข้ามาดูแลโดยตรง ฉะนั้น การจัดสอบจึงเป็นการร่วมมือกันเองของเหล่ามหาวิทยาลัย โดยมี มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นเจ้าภาพจัดการคัดเลือก

2516

  • มหาวิทยาลัยมีมากขึ้น + เกิดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ (คำสั่งแต่งตั้งวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515 และ ปี 2520 เปลี่ยนชื่อเป็นทบวงมหาวิทยาลัย) ทำให้ปีนี้เกิดการสถาปนาการเอ็นทรานซ์ขึ้นอย่างเป็นทางการ
  • สอบครั้งเดียว เลือกหกอันดับ
  • เกิดสถาบัน ‘กวดวิชา’
  • นักเรียนสอบเทียบ เพราะไม่ต้องใช้เกรดสอบเข้ามหาวิทยาลัย เช่น สอบหมอได้ตั้งแต่อายุ 16 ตอนเรียนจบเป็นหมอจริงๆ อายุ 22 ปี…เร็วเกินไป

New Entrance

2542-2549

  • เกิดการปฏิรูปการสอบครั้งใหญ่ เพราะอยากจะลดความเครียด + ลดปัญหาเรื่องการสอบเทียบ
  • จัดสอบสองครั้ง ตุลาคม และ มีนาคม รู้คะแนนก่อน โดยเอาคะแนนที่ดีที่สุดมาใช้สมัคร
  • เลือกอันดับได้สี่อันดับ เก็บคะแนนสะสมไว้ได้อีกสองปี
  • แต่การสอบในเดือนตุลาคม เด็กยังไม่จบ ม.6 เท่ากับว่า ทำให้ครูต้องเร่งสอนให้ทันจบ ม.ปลาย ทั้งหมดภายในสองปีครึ่ง
  • ในตอนแรก มีแผนจะใช้คะแนนสอบ 90 เปอร์เซ็นต์ + GPA (เกรดเฉลี่ยแยกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ตลอดหลักสูตรมัธยมปลายหรือเทียบเท่า) + PR (ระดับเปอร์เซ็นต์ไทล์ในช่วงมัธยมปลาย) รวมเป็น10 เปอร์เซ็นต์ เพื่อลดปัญหาเรื่องนักเรียนเรียน ม.ปลาย ไม่ครบ
  • แต่การวางแผนใช้ระบบ GPA และ PR ไม่ได้บังคับใช้ในปี 2542 เนื่องจากเด็กที่จบ ม.6 ในปี 2542 ต่อต้าน เพราะไม่ได้เตรียมสะสมเกรดมาตั้งแต่เริ่มมัธยมปลาย
  • GPA และ PR ถูกใช้จริงในปี 2543 โดยคิดเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ + คะแนนสอบอีก 90 เปอร์เซ็นต์
  • จากนั้นไม่กี่ปี มีความพยายามเพิ่มสัดส่วนระบบเกรด เป็น 25 เปอร์เซ็นต์ แต่ด้วยความแตกต่างของแต่ละโรงเรียน แผนนี้ก็เลยถูกต้านและพับเก็บไป
  • สุดท้าย ปลายทางก็คือกวดวิชา
อ้างอิงข้อมูลจาก:
enn.co.th
moe.go.th
aupt.or.th
unigang.com

Admission

2549

  • เปลี่ยนระบบมาเป็นแอดมิชชั่น เพราะเด็กเริ่มไม่สนใจการเรียนช่วง ม.ปลาย จึงเพิ่มคะแนนเกรดเฉลี่ยสะสม GPAX (เกรดเฉลี่ยของทุกวิชาที่ได้เรียนมาตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า) และเกรดเฉลี่ยกลุ่มสาระ GPA รวมเป็น 30 เปอร์เซ็นต์
  • เกิดการสอบ A-NET (Advanced National Educational Test) และ O-NET (Ordinary National Educational Test)
  • ระบบนี้ใช้คะแนน GPAX 10 เปอร์เซ็นต์ และ GPA รวม 20 เปอร์เซ็นต์ คู่กับ A/O-Net โดยขึ้นอยู่กับแต่ละคณะและมหาวิทยาลัยว่า จะใช้ A/O-Net ในสัดส่วนเท่าไร A-Net มีตั้งแต่ 0-35 เปอร์เซ็นต์ และ O-Net  มีตั้งแต่ 35-70 เปอร์เซ็นต์ไปเลย
  • แต่…เด็กบอกว่าไม่แฟร์ เพราะแต่ละโรงเรียนมีมาตรฐานการสอนไม่เหมือนกัน แล้วจะให้เป็นมาตรฐานทั้งประเทศได้ยังไง ที่สำคัญ ใช้เกรด 30 เปอร์เซ็นต์ไม่ใช่น้อยๆ
  • เมื่อไม่มีความเท่าเทียม เพราะเด็กไม่เชื่อถือข้อสอบกลาง การรับตรงจากมหาวิทยาลัยจึงบูมมาก เช่น
รับตรง: มหาวิทยาลัยใช้คะแนน O/A-Net แต่ยื่นตรงกับมหาวิทยาลัยเอง
สอบตรง: มหาวิทยาลัยจัดสอบ + คิดข้อสอบเอง
โควตา: บอกคุณสมบัติพิเศษ เช่น โควตาภูมิภาค นักกีฬา เรียนดีแต่ยากจน แล้วแต่จะนึกคิด

 

2553

  • ต้องการแก้ปัญหาเรื่องใช้เกรดเฉลี่ยมากไป จึงลดสัดส่วน GPAX และ GPA เหลือแค่ GPAX 20 เปอร์เซ็นต์ และใช้รวมกับคะแนน O-Net อีก 30 เปอร์เซ็นต์ (ทุกคณะเหมือนกันหมด)
  • เปลี่ยนจาก A-Net เป็นสอบ GAT/PAT แทน (General Aptitude Test / Professional A Aptitude Test)
  • GAT เป็นการสอบวัดความถนัดทั่วไป เป็นข้อสอบเชื่อมโยง ไม่ต้องรอให้เรียนจบ สอบได้ตลอดทั้งปี จึงเปิดให้สอบสี่ครั้ง แล้วเปลี่ยนมาเป็นสามครั้ง และสองครั้ง ตามลำดับ ซึ่งตอนนี้เสถียรอยู่ที่สองครั้ง
  • แต่การสอบ GAT-PAT ไม่ตอบโจทย์กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) จึงเปิดสอบเจ็ดวิชาของกลุ่มแพทย์เอง
  • และตอนที่เปิดให้สอบหลายครั้ง คะแนน GAT/PAT ครั้งแรกจะออกมาเดือนธันวาคม-มกราคม มหาวิทยาลัยจึงเริ่มเปิดรับตรงตั้งแต่คะแนนครั้งแรกประกาศ

2556

  • เพื่อแก้ปัญหากับ กสพท. และ มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่จัดสอบตรงเอง จึงจัดให้มีการสอบเจ็ดวิชาสามัญ (พ.ศ. 2558 เพิ่มจัดสอบเป็นเก้าวิชาสามัญ) เป็นข้อสอบกลางใช้รับตรงร่วมกัน
  • เกิดระบบเคลียริงเฮาส์ (Clearing House) ขึ้นมาเพื่อยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาสำหรับคนที่ติดรับตรง และตัดสิทธิ์ออกจากการคัดเลือกในระบบแอดมิชชั่น

2561

Clearing House / Entrance is coming back

ช่วงที่ 1 ระบบสอบกลาง ครั้งเดียว คือ การสอบ GAT/PAT และเก้าวิชาสามัญ จะมีขึ้น หลังจากนักเรียนเรียนจบชั้น ม.6 แล้ว โดยจะจัดสอบกลางเดือนมีนาคม โดยใช้ระยะเวลาการจัดสอบประมาณหกสัปดาห์ – สองเดือน และจะไม่ให้มีการเปิดสอบรับตรงนอกช่วงเวลานี้ แต่หากมหาวิทยาลัยใดมีความจำเป็นต้องเปิดรับตรง ต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็นต่อรัฐมนตรี

ช่วงที่ 2 ระบบเคลียริงเฮาส์ อย่างน้อยสองรอบ เมื่อมีการประกาศผลคะแนนสอบกลาง นักเรียนจะรู้คะแนนของตัวเองก่อน ทำให้ประมาณได้ว่าจะไปแข่งกับใครหรือหลักสูตรใด และเลือกเรียนในสาขาวิชาที่ต้องการได้สี่อันดับ ผ่านระบบเคลียริงเฮาส์ที่จะมีอย่างน้อยสองรอบ

  • รอบแรก นักเรียนยื่นคะแนนสอบกลางไปที่มหาวิทยาลัยแล้ว มหาวิทยาลัยก็จะส่งชื่อนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่ระบบเคลียริงเฮาส์ และแจ้งให้นักเรียนทราบว่าผ่านการคัดเลือกกี่แห่ง พร้อมให้เลือกว่าจะยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาที่ใด หากนักเรียนเลือกยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา ก็จะถูกตัดสิทธิ์จากระบบเคลียริงเฮาส์รอบสองทันที
  • รอบสอง นักเรียนที่ไม่ผ่านการคัดเลือกในรอบแรก และนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกในรอบแรกแต่ไม่ได้ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา สามารถยื่นคะแนนสอบเพื่อเข้าสู่ระบบเคลียริงเฮาส์ในรอบสอง

ในอนาคต อาจไม่จำเป็นต้องมีแอดมิชชั่นอีกต่อไป เพราะคาดว่าระบบสอบกลางและระบบเคลียริงเฮาส์ จะรับนักเรียนเข้าเรียนได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ส่วนนักเรียนที่เหลืออีก 10 เปอร์เซ็นต์ สามารถสมัครเรียนโดยตรงกับมหาวิทยาลัยที่ยังมีที่นั่งว่างได้โดยตรงอีกครั้งหนึ่ง

info education entrance-2

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า