ถอดรองเท้าเข้าห้องเรียนกันเถอะ

student shoes

ทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยบอร์นมัธ (Bournemouth University) เฝ้าติดตามและสังเกตเด็กจำนวนหลายหมื่นคน ที่ถอดรองเท้าเอาไว้นอกห้อง และพบว่าเด็กมีแนวโน้มตั้งใจและเอาใจใส่ในการเรียนมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การวิจัยนี้ เป็นหนึ่งในนโยบายผลักดันให้หลายๆ โรงเรียนในอังกฤษ กำหนดให้เด็กๆ ไม่ต้องใส่รองเท้าเข้าห้องเรียน  ซึ่งเดินตามรอยโรงเรียนในแถบสแกนดิเนเวีย ที่พยายามพัฒนามาตรฐานทางวิชาการและพฤติกรรม และหนึ่งในหลายๆ นโยบายคือ ‘การถอดรองเท้า’

การศึกษาครั้งนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสังเกตและศึกษานักเรียนจำนวนหลายหมื่นคนจากกว่า 100 โรงเรียนใน 25 ประเทศ เป็นระยะเวลากว่า 10 ปีติดต่อกัน

นอกจากประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวียแล้ว ทีมนักวิจัยยังไปเยี่ยมชมโรงเรียนที่นิวซีแลนด์และออสเตรเลีย โครงการวิจัยอันยาวนานนี้ เริ่มต้นในลอนดอนแถบตะวันตกที่ซึ่งพฤติกรรมและผลการเรียนทั้งหมดถูกนำมาวิเคราะห์ กินเวลาไปจนถึงตอนพวกเขาเข้ามหาวิทยาลัย

เป็นเวลาหลายสิบปีมาแล้วที่สถานศึกษาแถบสแกนดิเนเวีย เรียนรู้และรับเอา ‘การถอดรองเท้า’ เข้ามาใช้ในห้องเรียน เพราะช่วงฤดูหนาวที่มีหิมะหรือลูกเห็บ นักเรียนต้องถอดรองเท้าไว้หน้าประตูโดยอัตโนมัติ

03

ตอนนี้ หลักสูตรต่างๆ เรียกร้องให้ครูในอังกฤษ ประยุกต์เอานโยบาย ‘ถอดรองเท้า’ เข้ามาใช้ ด้วยเชื่อว่าข้อปฏิบัตินี้จะมอบโอกาสในการทำข้อสอบที่ดีทีสุดให้แก่นักเรียน

ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า การที่เด็กๆ ไม่ใส่รองเท้าในห้องเรียน จะพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เพราะการถอดรองเท้าจะทำให้พวกเขารู้สึกเหมือนอยู่บ้านและรู้สึกผ่อนคลายในการเรียนรู้มากกว่า

สตีเฟน เฮพเพลล์ หัวหน้าทีมวิจัยและศาสตราจารย์ที่ Centre for Excellence in Media Practice (CEMP) มหาวิทยาลัยบอร์นมัธ เผยว่า เด็กๆ ชอบนั่งกับพื้นมากกว่า พวกเขารู้สึกผ่อนคลายกว่าเวลาที่ไม่ได้ใส่รองเท้า

“ที่สุดท้ายที่เด็กๆ จะนั่งอ่านหนังสือคือเก้าอี้ (นั่งห้อยขา) และเรายังพบอีกว่า เด็กๆ 95 เปอร์เซ็นต์ ไม่นั่งเก้าอี้อ่านหนังสือที่บ้าน แต่พวกเขาเลือกที่จะนอนอ่านหนังสือแทนในวันหยุด”

“การทำบรรยากาศห้องเรียนให้เหมือนบ้าน นั่นหมายถึงการกระตุ้นให้เด็กๆ อ่านหนังสือในห้องเรียนมากขึ้น”

“ในโรงเรียนที่เด็กๆ ถอดรองเท้า เด็กๆ จะมาถึงโรงเรียนเร็วและกลับช้ากว่าปกติ ซึ่งแปลว่า เวลาในการเรียนรู้ในแต่ละวัน เพิ่มมากขึ้น”

นอกจากนี้ การไม่ใส่รองเท้า ส่งผลให้งบประมาณในการทำความสะอาดลดลง 27 เปอร์เซ็นต์ และโรงเรียนก็ใช้จ่ายไปกับเฟอร์นิเจอร์น้อยลง เพราะไม่ต้องซื้อเก้าอี้และโต๊ะสำหรับเด็กทุกคน ในเมื่อพวกเขานั่งกับพื้นได้

shoes-619526_960_720

ศาสตราจารย์เฮพเพลล์ เฉลยว่า ทุกสิ่งทุกอย่างปรับไปตามความชอบของเด็กๆ มาตรฐานทางวิชาการของพวกเขาจึงมีแนวโน้มพัฒนาขึ้นด้วย

“กุญแจสำคัญของความสำเร็จ คือ ความผูกพัน และถ้าเด็กๆ ต้องการไปเล่นที่ไหน ที่นั่นพวกเขาจะทำอะไรๆ ได้ดีขึ้น เมื่อพวกเขามาถึงโรงเรียนสาย และกลับเร็ว นั่นหมายความว่าพวกเขาไม่รู้สึกผูกพันหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับที่นั่น และเด็กๆ ที่สวมรองเท้าจะรู้สึกผูกพันน้อยกว่าเด็กที่ถอดรองเท้า”

ในเว็บไซต์ของศาสตราจารน์เฮพเพลล์ ได้ให้คำแนะนำบางประการสำหรับโรงเรียนที่ต้องการนำนโยบายถอดรองเท้าไปใช้ว่า นโยบายนี้ควรนำไปใช้กับทุกคนในโรงเรียน รวมถึงหัวหน้าครู แขกที่มาเยี่ยม และจำเป็นอย่างยิ่งที่เด็กๆ จะไม่โดนล้อเวลาถอดรองเท้าด้วย

“เด็กต้องรับรู้ว่าถุงเท้าของพวกเขาจะไม่มีวันถูกนำมาถากถางล้อเลียนเมื่อต้องถอดมันออกมา” ศาสตราจารย์แฮพเพลล์แนะนำ

อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยชิ้นนี้ ไม่มีข้อใดที่ชี้ว่า รองเท้าที่ถูกถอดไว้ข้างนอกเป็นตัวก่อปัญหาให้กับเด็กๆ

 


ที่มา: telegraph.co.uk

logo sponsor

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า