หลอดประหยัดไฟรักษ์โลก แต่ไม่รักเรา

new-bulbs

ในยุครักษ์โลก แทบทุกบ้านหันมาใช้หลอดประหยัดไฟแทนหลอดไส้แบบเก่า แต่จากการเปิดเผยของ สำนักสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Environmental Protection Agency: EPA) พบว่าหลอดแบบใหม่เป็นพิษต่อร่างกายไม่น้อยทีเดียว กรณีที่แตกหรือระเบิด เจ้าหลอดประหยัดไฟจะปล่อยก๊าซพิษออกมา และจะปล่อยสารปรอทมากกว่าปริมาณที่ร่างกายรับได้สูงสุดถึง 20 เท่า

ทั้งหมดนี้อ้างอิงจากการศึกษาของสถาบัน Fraunhofer Wilhelm Klauditz ที่ศึกษาให้ สำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งเยอรมัน (German’s Federal Environment Agency)

โดยสรุปคร่าวๆ ผลกระทบต่อร่างกายมีดังนี้

– เวียนศีรษะ

– ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์: อาการปวดศีรษะเป็นชุดๆ เป็นในเวลาเดิม

– ไมเกรน

– ชัก

– กล้ามเนื้ออ่อนแรง

– ไม่มีสมาธิ

– วิตกกังวล

เพราะอะไร?

1. หลอดประหยัดไฟประกอบด้วยปรอท

สารปรอทเป็นอันตรายต่อระบบประสาทโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเด็กๆ และสตรีมีครรภ์ ส่งผลโดยตรงต่อสมอง ระบบประสาท ตับและไต และยังมีส่วนทำลายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกันและระบบสืบพันธุ์ และอาจนำไปสู่อาการสั่น วิตกกังวล นอนไม่หลับ ความจำเสื่อม ปวดศีรษะ มะเร็ง และอัลไซเมอร์

2. หลอดประหยัดไฟอาจก่อมะเร็ง

ผลการศึกษาวิจัยโดย ปีเตอร์ บรอนด์ จาก Alab Laboratory แห่งกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนีพบว่าหลอดไฟชนิดนี้อุดมไปด้วยสารก่อมะเร็ง จากสารประกอบต่างๆ ดังนี้

– ฟีนอล (Phenol) ผลึกสีขาวมีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนซึ่งเป็นพิษ ได้มาจากน้ำมันถ่านหินที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรม

– แนปธาลีน (Napthalene) ผลึกสารระเหย ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิน ถูกใช้ในการผลิตลูกเหม็น และเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในอุตสาหกรรมผลิตสารเคมีหลายชนิด

– สไตรีน (Styrene) ไฮโดรคาร์บอนประเภทไม่อิ่มตัว ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม

bulbs

3. หลอดประหยัดไฟปล่อยรังสีอัลตราไวโอเล็ต (ยูวี) และกักเก็บรังสียูวีซี

เรารับรู้กันทั่วไปว่ารังสียูวีนั้นเป็นอันตรายต่อผิว (เพราะอาจนำไปสู่มะเร็งผิวหนัง) และดวงตา ซึ่งรังสีจากหลอดไฟชนิดนี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบภูมิคุ้มกัน และยิ่งไปกว่านั้นยังทำลายเนื้อเยื่อผิวหนังในส่วนที่ช่วยเสริมสร้างวิตามินดี 3

โดยสรุป หลอดไฟชนิดนี้เป็นพิษต่อร่างกาย กรณีหมดอายุการใช้งานไม่ควรทิ้งในถังขยะธรรมดา ถ้าบ้านใดเกิดหลอดไฟแตก ควรจะเปิดหน้าต่าง ประตูแล้วออกจากบ้านไปอย่างน้อย 15 นาทีเป็นอย่างต่ำเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารพิษให้น้อยที่สุด วิธีนี้อาจจะเป็นทางที่ดีที่สุดในปัจจุบัน เพราะผู้บริโภคไม่ค่อยมีตัวเลือกในการซื้อหลอดไฟมากนัก


ที่มา: realfarmacy.com
ocregister.com
naturalnews.com

 

2016-10-19-new-banner

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า