ชีวิตติดแอร์ การนั่งในห้องเย็นฉ่ำทั้งวันดีจริงหรือ

เราใช้แอร์กันทุกวัน ข้อมูลจากสหรัฐระบุว่าทั้งในออฟฟิศและที่พักอาศัย 90 เปอร์เซ็นต์ของประเทศมีเครื่องปรับอากาศเปิดเย็นฉ่ำ และเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนี้เองที่กินไฟฟ้าราว 10 เปอร์เซ็นต์ของการบริโภคไฟฟ้าทั้งโลก

แน่นอนว่าเป็นไปได้ยากสำหรับเมืองร้อนอย่างบ้านเรา ที่อากาศทั้งอบอ้าวและสำนักงานอยู่ในอาคารสูง แต่จากการศึกษาใน International Journal of Epidemiology บอกว่า ผู้ที่ทำงานอยู่ในห้องแอร์เป็นเวลานานๆ มักจะป่วยไข้หรือมีปัญหาสุขภาพมากกว่าคนที่ทำงานในห้องโล่งโปร่งรับลมธรรมชาติ

“รายงานชิ้นนี้พบว่าการอยู่ในออฟฟิศกับเครื่องปรับอากาศมีแนวโน้มเกิดอาการ sick building syndrome (SBS) มากกว่าอยู่ในออฟฟิศที่มีอากาศถ่ายเทตามธรรมชาติ” คือคำพูดของ วิลเลียม ฟิสค์ (William Fisk) หัวหน้าทีมสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร จาก Lawrence Berkeley National Laboratory “อาการ SBS นี้จะแสดงออกทางตา จมูก หรือการระคายคอ และอาการเกี่ยวกับระบบหายใจอื่นๆ เช่น ไอ”

ฟิสค์บอกว่า อาการนี้ “อาจจะขึ้นอยู่กับความชื้นของเครื่องปรับอากาศ ที่ทำให้ผู้คนสัมผัสกับเชื้อแบคทีเรียเพิ่มขึ้น โรคภูมิแพ้ และอาการระคายเคือง”

“ระบบเครื่องปรับอากาศไวต่อการสะสมเชื้อโรคและภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น” วาซิม ลาบากี (Wasim Labaki) ศาสตราจารย์ด้านอายุรศาสตร์และโรคปอด จากวิทยาลัยแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทย์มิชิแกน (Michigan Medicine University of Michigan) บอก

“อย่างไรก็ตาม การดูแลรักษาระบบเหล่านี้ให้เหมาะสม รวมถึงการเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศ ก็จำเป็นสำหรับการป้องกันการหมุนเวียนของอากาศที่ไม่ดีต่อสุขภาพ”

ข้อดีกับร่างกายของเครื่องปรับอากาศและห้องที่เป็นระบบปิดก็มีเหมือนกัน งานศึกษาของมหาวิทยาลัยเยล (Yale University) แอร์ช่วยลดความเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตเนื่องจากโรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ

“แอร์ถูกคาดหวังว่าจะช่วยลดความเสี่ยงของ heat stroke และความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตเนื่องจากคลื่นความร้อน ซึ่งกลายเป็นเรื่องปกติในสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง” ฟิสค์กล่าว

และสำหรับผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ การเปิดแอร์แทนที่จะเปิดหน้าต่างรับอากาศภายนอก จะป้องกันอนุภาคต่างๆ ลดอาการแพ้ลงได้ “แอร์ยังทำให้หน้าต่างถูกปิด และแอร์มีระบบกรองอากาศที่สามารถกรองอนุภาคเล็กๆ ออกจากอากาศที่ไหลผ่าน มลภาวะจากภายนอก เช่น อนุภาค และเชื้อภูมิแพ้ต่างๆ จะถูกทำให้ลดลง”

มาร์ค อาโรนิกา (Mark Aronica) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันและโรคภูมิแพ้ จาก Cleveland Clinic สนับสนุนว่า “สำหรับคนไข้ภูมิแพ้หรือมีอาการแฝงของโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) หรือ ถุงลมโป่งพอง การอยู่ในตัวอาคาร เปิดเครื่องปรับอากาศและปิดหน้าต่าง จะช่วยลดการสัมผัสละอองและมลภาวะต่างๆ ได้”

นอกจากทางกาย อุณหภูมิในห้องแอร์ยังมีผลด้านจิตวิทยา ประสิทธิภาพการทำงานจะอยู่ในระดับสูงนานขึ้นเมื่ออยู่ในห้องที่มีในอุณหภูมิสบายๆ ไม่ใช่ร้อนเหงื่อแตกหรือหนาวจนขนลุก

“ส่วนสำคัญของงานวิจัยชี้ว่าประสิทธิภาพของการทำงานในออฟฟิศจะสูงที่สุดเมื่ออุณหภูมิถูกรักษาไว้ที่ประมาณ 21.6 องศาเซลเซียส หรือบวกลบไม่เกิน 1 หรือ 2 องศา”

อีกด้านหนึ่ง มองในมุมประหยัดพลังงาน หากคิดว่าแอร์ช่วยทำให้บิลค่าไฟมีตัวเลขน่าปวดหัว วิธีทำให้ห้องเย็นโดยไม่ต้องเลือกแอร์เป็นชอยส์แรกก็มีไม่น้อย เช่น การใช้วัสดุกันความร้อนบนหลังคา ผนัง ป้องกั้นแสงแดด มีช่องเปิดที่เหมาะสม แม้แต่การเปิดพัดลมแทน ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดแอร์ตลอดเวลา

 

อ้างอิงข้อมูลจาก:
huffpost.com

 

สนับสนุนโดย

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า