วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2562 WAY เดินทางไปสังเกตการณ์การเคลื่อนย้าย “ประตูแดง” เข้าสู่โกดังชั่วคราวโดยทีมงาน Documentation of Oct 6 เพื่อเตรียมจัดทำโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลา (The Initiative of October 6 Museum)
ประตูดังกล่าวคือประตูที่ วิชัย เกษศรีพงศ์ษา และ ชุมพร ทุมไมย สองเจ้าหน้าที่ไฟฟ้าถูกฆ่าแขวนคออย่างเป็นปริศนาในวันที่ 24 กันยายน 2519 หลังจากติดโปสเตอร์ประท้วงการกลับมาของ จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งบวชเป็นสามเณรที่สิงคโปร์ ก่อนเดิสทางกลับประเทศไทยในวันที่ 19 กันยายน 2519
การฆาตกรรมนี้ถือเป็นหมุดหมายสำคัญสำหรับเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เนื่องจากต่อมามีการแสดงละครเกี่ยวกับการแขวนคอ 2 ช่างไฟฟ้าโดยนักศึกษาธรรมศาสตร์ซึ่งการแสดงดังกล่าวถูกโจมตีว่าเป็นการหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ จนนำไปสู่การสังหารหมู่นักศึกษาโดยเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยไม่มีใครได้รับโทษ
เวลากัดกินประตูเหล็กจนสนิมเกรอะกรัง ประตูเหล็กนี้คือประตูบานที่ วิชัย เกษศรีพงศ์ษา และ ชุมพร ทุมไมย ช่างการไฟฟ้าสองคนที่ถูกแขวนคอที่จังหวัดนครปฐม
ประตูบานนี้ตั้งอยู่ในที่ดินส่วนบุคคลในย่านที่เรียกว่าสามแยกกระบือเผือก จังหวัดนครปฐม
บ้านเกิดของ ชุมพร ทุมไมย อยู่ที่อุบลราชธานี ที่นั่นพี่ชายของเขายังคงเก็บหนังสือพิมพ์เมื่อปี 2519 ไว้ในลังกระดาษ น้องชายของเขากับเพื่อนรัก วิชัย เกษศรีพงศ์ษา ลิ้นจุกปากบนหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์
ชุมพล ทุมไมย พี่ชายของชุมพร เล่าเรื่องราวของน้องชายให้ทีมถ่ายทำสารคดีฟัง หลังจบการศึกษาชั้นมัธยม ชุมพรเรียนแผนกไฟฟ้าที่วิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา ที่นั่นเขาจะได้พบกับเพื่อนรักของเขา กาลต่อมาทั้งสองคนถูกฆาตกรรมที่เมืองนครปฐม ไกลบ้านเกิดหลายร้อยกิโลเมตร
“เขาไม่คุยหรอก แต่เขาชอบดูตำราการเมือง เขาสนใจความคิดก้าวหน้า เราก็สังเกตเขาอยู่ เขาอ่านหนังสือ เช เกวารา จิตร ภูมิศักดิ์” ชุมพล ทุมไมย รำลึกถึงความสนใจทางการเมืองของน้องชาย
การเคลื่อนย้ายประตูเหล็กออกมาจากสถานที่เหตุการณ์จริง มาจากความกังวลถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่บริเวณดังกล่าวและประตูซึ่งเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์อาจถูกทำลาย หรือแยกชิ้นส่วนออกไป การเคลื่อนย้ายประตูจึงเป็นความพยายามในการเก็บรวบรวมวัตถุที่เป็นประจักษ์พยานทางประวัติศาสตร์เพื่อให้เป็นสมบัติสาธารณะ ผ่านการจัดแสดงนิทรรศการชั่วคราวและเพื่อจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลาในอนาคต
ช่างกำลังรื้อถอนประตูเหล็กเพื่อนำไปเก็บรักษาไว้ในโกดังชั่วคราวก่อนที่จะนำไปจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ในอนาคต
การเคลื่อนย้ายประตูเหล็กออกมาจากสถานที่เหตุการณ์จริง มาจากความกังวลถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่บริเวณดังกล่าวและประตูซึ่งเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์อาจถูกทำลาย หรือแยกชิ้นส่วนออกไป การเคลื่อนย้ายประตูจึงเป็นความพยายามในการเก็บรวบรวมวัตถุที่เป็นประจักษ์พยานทางประวัติศาสตร์เพื่อให้เป็นสมบัติสาธารณะ ผ่านการจัดแสดงนิทรรศการชั่วคราวและเพื่อจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลาในอนาคต
ประตูเหล็กสีแดงกำลังถูกเคลื่อนย้ายไปสู่โกดังชั่วคราวเพื่อจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลา (The Initiative of October 6 Museum) โดยคณะทำงานกลุ่มเล็กๆ ในเบื้องต้น ด้วยพื้นฐานความคิดที่ว่า พิพิธภัณฑ์เป็นพื้นที่การเรียนรู้นอกห้องเรียนที่สำคัญประการหนึ่ง พิพิธภัณฑ์มีอิทธิพลในการสร้างความทรงจำร่วมและคุณค่าร่วม และสื่อสารกับสังคมในวงกว้างผ่านการเลือกจัดแสดงปรากฎการณ์ เหตุการณ์ และคุณค่าของเหตุการณ์ประวัติศาสตร์
Author
อนุชิต นิ่มตลุง
อาชีพเก่าคือคนขายโปสการ์ดภาพถ่ายขาวดำยุคฟิล์ม จับกล้องดิจิตอลรับเงินเดือนประจำครั้งแรกที่นิตยสาร a day weekly เมื่อปี 2547 ถ่ายงานหลากหลายรูปแบบทั้งงานสตูดิโอ ภาพข่าว สารคดี มีความสามารถพิเศษสั่งตัวแบบได้ตั้งแต่พริตตี้ คนงานทุบหินแถวหิมาลัย ไล่ไปจนถึงงานที่ถูกใครต่อใครหยิบยืมไปใช้สอยบ่อยๆ อย่างภาพถ่ายนักวิชาการที่ไม่น่าจะถ่ายรูปขึ้น นอกจากทำงานให้ WAY อย่างยาวนาน ยังเป็นเจ้าของกิจการเครื่องหนัง Dog's vision อันลือลั่น