‘ภาษีน้ำตาลในเครื่องดื่ม’ หวานกว่า จ่ายแพงกว่า

 

26 เมษายน 2559 สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) มีมติเห็นชอบข้อเสนอให้จัดเก็บภาษี ‘เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานสุขภาพ’ ต่อมาประเด็นดังกล่าวเป็นที่ถกเถียงกันในสังคมออนไลน์อย่างหลากหลาย เช่น เป็นการแก้ปัญหาตรงจุดหรือไม่ ใช่วิธีการลดโรคอ้วนได้จริงหรือเปล่า หรือสุดท้ายแล้วจะเดินตามรอยภาษีเหล้า เบียร์ บุหรี่ อีกหรือไม่ ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ร่างกฏหมายฉบับนี้ดูจะเป็นรูปธรรมขึ้นหลังจากที่โมเดลการขึ้นภาษีน้ำตาลเริ่มเป็นที่พูดถึงและนำไปปรับใช้แล้วในหลายๆ ประเทศ อาทิ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา บราซิล ฝรั่งเศส ฯลฯ

“จากผลวิจัยจากประเทศที่ได้ใช้มาตรการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ที่อาจจะต้องบอกว่ายังเป็นการวิจัยและโมเดลที่ใหม่ ผลการวิจัยยังระบุไม่ได้ว่าผลต่อสุขภาพเป็นอย่างไร แต่ที่พบคือการบริโภคที่น้อยลง” คือความเห็นของ ทพ.ธงชัย วชิรโรจน์ไพศาล อุปนายกทันตแพทยสภา และได้เปรียบเทียบการขึ้นราคาตามกฎหมายให้เห็นภาพว่า

“หากชาเชียวขนาดปกติ 300 มิลลิลิตร ราคา 20 บาท โดยเฉลี่ยมีปริมาณน้ำตาล 15 ช้อนชา ถ้าเจ้าของธุรกิจยืนยันใส่ 15 ช้อนชาคงเดิม ราคาจะปรับขึ้นจากเดิมเป็น 25 บาท หากปรับสูตรน้ำตาลลงมาที่ 10-15 ช้อน ราคาขายปลีกจะอยู่ที่ 24 บาท หากลดความหวานลงตามกฎหมายใหม่ในสัดส่วนน้ำตาล 6 มิลลิลิตร ต่อบรรจุภัณฑ์ขนาด 100 มิลลิลิตร ราคาขายปลีกจะอยู่ที่ราคาเดิมคือ 20 บาท

“หมายความว่า มันคือทางเลือกของผู้บริโภคมากกว่าการเก็บภาษีจากเหล้าและบุหรี่ หนึ่งคือการใช้กฎหมายเพื่อจูงใจอุตสาหกรรมให้ผลิตเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลน้อย และสอง ใช้แรงกดดันจากยอดซื้อของผู้บริโภคในการกดดันอุตสาหากรรมธุรกิจอีกทีหนึ่ง ว่าถ้าผู้บริโภคอยากกินหวานเท่าเดิมก็อาจจะต้องจ่ายเพิ่ม แต่ถ้าหวานลงมาหน่อยให้จ่ายเท่าเดิม”

โดย ทพ.ธงชัย กล่าวว่า การขึ้นภาษีเครื่องดื่ม มีผลครอบคลุมอยู่เพียง ‘น้ำตาลในเครื่องดื่มเท่านั้น’ โดยยังไม่ได้มีผลไปถึงน้ำตาลที่เป็นวัตถุดิบปรุงอาหาร ทั้งไม่รวมถึง ‘สารให้ความหวานแทนน้ำตาล’ ในเครื่องดื่มด้วย ซึ่งการขึ้นภาษีเครื่องดื่มนั้น อ้างอิงจากผลการวิจัยในประเทศไทยที่ชี้ว่าคนไทยบริโภคน้ำตาลเฉลี่ยคนละประมาณ 16.7 ช้อนชาต่อวัน ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดเกือบสามเท่า ซึ่งครึ่งหนึ่งในนั้นมาจากเครื่องดื่ม

 


logo sponsor

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า