ผลไม้ขี้เหร่กู้โลก

 

A volunteers shows an "ugly" strawberry at the "Fruta Feia" (Ugly Fruit) co-op  in Lisbon on March 17, 2014. The co-op was created over the last year with the objective to give another "destiny" to the fruit and vegetables that don't fit   supermarket standards. Founder Isabel Sores decided to create this association in a bid to curb wastage and also help small farmers that are struggling due to the financial crisis.  AFP PHOTO / PATRICIA DE MELO MOREIRA

 

Loblaws  ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดในแคนาดา มีร้านค้ากว่า 1,000 แห่งทั่วประเทศ เพิ่งปล่อยแคมเปญขายผักผลไม้ไม่สวยในราคาพิเศษเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีเป้าหมายเพื่อลดปริมาณอาหารเหลือทิ้ง จากเดิมที่แต่ละปีชาวแคนาดาทิ้งอาหารโดยเฉลี่ย 40 เปอร์เซ็นต์

แคมเปญนี้มีชื่อว่า No Name Naturally Imperfect  โดยเริ่มต้นที่ 2 พืชผลหลักสำหรับทำซุปคือ แอปเปิ้ล มันฝรั่ง รูปร่างไม่สวย ตั้งราคาขายต่อลูกสูงสุดไม่เกิน 30 เซนต์ในร้าน Loblaws ที่เมืองออนทาริโอและควิเบก บริษัทหวังว่าแคมเปญนี้จะช่วยให้ยอดขายผักผลไม้ขี้เหร่ดีขึ้นแบบก้าวกระโดดในอนาคต

“เราให้ความสำคัญกับหน้าตามากกว่ารสชาติ” เอียน กอร์ดอน รองประธานอาวุโสของบริษัท Loblaw บอกอีกว่า “เมื่อคุณปอกเปลือกหรือหั่นแอปเปิลคุณก็ไม่รู้แล้วว่ามันเคยบิดเบี้ยวหรือมีตำหนิ”

 

potato

ข้อมูลจากโครงการสิ่งแวดล้อมขององค์การสหประชาชาติ เผยว่าโดยปกติ เกษตรกรจะคัดผลผลิตที่ไม่สวยและมีตำหนิทิ้งประมาณ 20-40 เปอร์เซ็นต์ เพราะไม่สวยพอจะวางขายในร้าน

แคมเปญนี้ทำให้ผู้ที่รักสุขภาพจ่ายได้ในราคาน้อยลง นอกจากนี้ยังช่วยรัฐบาลแคนาดาประหยัดไปได้ถึง 31,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเดิมเป็นมูลค่าอาหารเหลือทั้งในแต่ละปี ขณะที่ทั้งโลกมีมูลค่าอาหารเหลือทิ้งรวมกันปีละ 400,000 ล้านดอลลาร์ โดยอ้างอิงข้อมูลจาก U.K.-based Waste & Resources Action Program (WRAP)  เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ในประเทศพัฒนาแล้ว อาหารเหลือทิ้งเกิดขึ้นบ่อยครั้งอันเนื่องมาจากมาตรฐานของผู้ค้าปลีกและผู้บริโภคที่วางไว้สูง บรรดาร้านขายของชำมักยึดติดกับมาตรฐานคุณภาพที่วางไว้อย่างเข้มงวดและให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์ภายนอกมากเกินไป จนนำไปสู่การคัดทิ้งผลผลิตที่มีคุณค่า ถ้าเทียบเชิงปริมาณแล้ว แต่ละปีผลผลิตที่ยังไม่เน่าเสียถูกโยนทิ้งในประเทศพัฒนาแล้ว สามารถนำไปเลี้ยงผู้คนอีกซีกโลกที่ยากจนหิวโหยได้ถึง 870 ล้านคน

 

 

Ugly Fruits

 

ประเด็นอาหารเหลือทิ้งยังมีมากกว่านั้น  รู้หรือไม่ว่าอาหารเหลือทิ้งส่วนใหญ่ซึ่งมีปลายทางอยู่ที่หลุมฝังกลบ ขยะประเภทนี้จะเน่าเปื่อยและปล่อยก๊าซมีเทนออกมาซึ่งก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกือบ 30 เท่า

ในสหรัฐอเมริกาอาหารเหลือทิ้งมีเกือบ 30 เปอร์เซ็นต์  ขยะอินทรีย์เหล่านี้มีปริมาณมากเป็นอันดับ 2 ในหลุมฝังกลบ ถ้าเปรียบเทียบในระดับโลกแล้วอาหารเหลือทิ้งมีส่วนปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกถึง 7 เปอร์เซ็นต์

และถ้าเปรียบอาหารเหลือทิ้งเป็นประเทศๆ หนึ่ง อาหารเหลือทิ้งก็จะกลายเป็นประเทศอันดับ 3 ของโลกที่สร้างก๊าซเรือนกระจก เป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกาและจีน

 

ugly carrot

 

ทั้งนี้ Loblaws ไม่ได้เป็นผู้ค้าปลีกรายแรกที่ออกแคมเปญขายผักผลไม้ขี้เหร่ ปีนเกลียวนโยบายเคร่งคุณภาพของรัฐบาล หากปีที่แล้วสหภาพยุโรปได้ตั้งให้เป็นปีแห่งการต่อต้านอาหารเหลือทิ้ง  (the European Year Against Food Waste) และผลักดันให้ซูเปอร์มาร์เก็ตฝรั่งเศส Intermarché  ขายผักและผลไม้รูปร่างไม่สวยในราคาถูกกว่ามาตรฐาน ภายใต้ชื่อ แคมเปญ  Inglorious Fruits and Vegetables  ส่งผลให้ยอดขายโดยรวมของซูเปอร์มาร์เก็ตดีขึ้น 24 เปอร์เซ็นต์ และเข้าถึงผู้บริโภค 21 ล้านคนเพียงเดือนแรกของการปล่อยแคมเปญ

 

*******************************

(ที่มา : thinkprogress.org)

logo

Author

ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
หญิงแกร่งที่ทำงานทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านให้กับ WAY ถ้าเป็นนักฟุตบอลนี่คือผู้เล่นผู้จัดการทีมที่มีประสบการณ์ในสายงานข่าว ทั้งคลุกคลี สัมภาษณ์ บันเทิง ไลฟ์สไตล์ นอกจากนี้การเป็นคุณแม่ซึ่งมีลูกสาวย่างเข้าวัยรุ่นยังช่วยส่งเสริมให้สามารถปั่นงานด้านเด็กและเยาวชนอย่างเชี่ยวชาญ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า