ปลดล็อกขายเหล้า ‘5 วันพระใหญ่ 6 สนามบิน’ หวังกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

วันที่ 5 กรกฎาคม 2567 ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ครั้งที่ 3/2567 ลงมติเห็นชอบให้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใน 5 วันสำคัญทางศาสนาคือ วันอาสาฬหบูชา วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันเข้าพรรรษา และวันออกพรรษา โดยอนุญาตให้จำหน่ายได้ในท่าอากาศยานแห่งชาติ 6 แห่งคือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานเชียงราย ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานหาดใหญ่ ขณะที่การรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการหารือแนวทางการปลดล็อกนี้ด้วย 

มติของคณะกรรมการฯ ครั้งนี้พุ่งเป้าให้เกิดเม็ดเงินจากการท่องเที่ยว และกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคการท่องเที่ยว แต่ทำให้เกิดคำถามตามมาว่าจะสามารถก่อให้เกิดเม็ดเงินทางเศรษฐกิจได้จริงหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด 

จากรายงานวิจัย ‘International Wine and Spirits in ASEAN: The Economic Contribution of the International Wine and Spirits Value Chain in Thailand and Vietnam’ in Thailand ของ Oxford Economics ปี 2023 เลียม คอร์ดิงลีย์ (Liam Cordingley) นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ Oxford Economics พบว่า การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ทั้งไวน์และเหล้า) มีศักยภาพสร้างเม็ดเงินอย่างมีนัยยะให้กับเศรษฐกิจไทยได้มากถึง 6,900 ล้านบาทต่อ GDP ทั้งหมดในปี 2022 ก่อให้การสร้างงาน 20,500 ตำแหน่ง และสร้างรายได้จากการเก็บภาษี 10,000 ล้านบาท โดยศักยภาพของไทยตรงนี้ สามารถนำมาสู่ยุทธศาสตร์การสร้างเศรษฐกิจเพื่อการดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีกำลังในการจับจ่ายสูง โดยเฉพาะการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปพร้อมกับการบริการค้าปลีก ร้านอาหารและเครื่องดื่ม

ขณะที่การจัดเก็บภาษีนั้น กระทรวงการคลังคาดการณ์ว่า หากมีการลดภาษีไวน์และสุราชุมชน รวมทั้งลดอัตราภาษีธุรกิจสถานบันเทิงจาก 10 เปอร์เซ็นต์ เหลือเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 1 ปี โดยสิ้นสุดภายในปี 2024 จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาคการท่องเที่ยวได้ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติและนักท่องเที่ยวชาวไทย อีกทั้งยังสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวคุณภาพสูงในระยะยาวได้

การคาดการณ์จาก Oxford Economics นี้ สามารถทำให้มองเห็นภาพว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้ อาจไม่ใช่เพียงแค่การปลดล็อกเฉพาะพื้นที่เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการลดอัตราภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การผ่อนปรนภาคธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว รัฐควรคำนึงถึงการควบคุมปัญหาที่เกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สนับสนุนเสริมสร้างวินัยและการดื่มอย่างรับผิดชอบควบคู่ไปด้วย ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของไทยสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่า ลดปัญหาและสร้างวัฒนธรรมในการดื่มที่ดีในระยะยาว 

อ้างอิง:
สนับสนุนโดย

Author

ณัฏฐชัย ตันติราพันธ์
อดีตผู้สื่อข่าวต่างประเทศ อดีต น.ศ. ป.โท ในประเทศอีเกียที่เรียนไม่จบ ผู้มีความหมกมุ่นหลายอย่าง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า