คำถามสำหรับนักประวัติ-รัฐ-นิติศาสตร์
ทำไมการแก้ ม.112 ด้วยคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเมื่อ พ.ศ. 2519 (หลัง 6 ตุลา) เพื่อเพิ่มโทษให้หนักขึ้น จึงกระทำได้ แต่การแก้ ม. 112 โดยสมาชิกสภาผู้แทนฯ ที่มาจากการเลือกตั้ง จึงกระทำไม่ได้ แถมผู้ที่พยายามแก้ไขกฎหมายนี้ กลับถูกพิจารณาว่าล้มล้างระบอบการปกครองอีกด้วย
เราจะอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวอย่างไร
คำตอบของคำถามข้างต้น อาจจะไม่ใช่เพียงแค่นิติสงครามหรือการเล่นกลทางกฎหมายอย่างคิดสั้นๆ ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย แต่อาจจะเป็นเพราะบริบทของการแก้ไข ม.112 ได้เปลี่ยนไปเรียบร้อยแล้ว ใช่หรือไม่
กล่าวคือระบอบการปกครองในปัจจุบัน ดูเหมือนจะไม่ใช่ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่ได้เปลี่ยนเป็นระบอบ ‘ราชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญ’ ไปเรียบร้อยแล้ว (หรือเรียกอีกอย่างว่า ‘สมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีการเลือกตั้ง’) กระนั้นหรือ? การแก้ไข ม. 112 เพื่อพยายามกลับไปเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จึงเป็นความผิดฐานล้มล้างระบอบ ‘ราชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญ’ ใช่หรือไม่?
การขัดขวางทั้งหลายเป็นความพยายามพิทักษ์ระบอบดังกล่าว ใช่หรือไม่
กระบวนการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เกิดขึ้นอย่างไร เมื่อไหร่ มีองค์ประกอบสำคัญอะไรบ้าง เป็นคำถามที่ต้องอธิบาย
คำถามพ่วง: แต่ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง บุคคลและองค์กรทั้งหลายที่พยายามขัดขวางและกล่าวหาว่า การแก้ไข ม.112 เป็นการล้มล้างระบอบนั้น พวกเขาเองต่างหากที่ได้ทำการเปลี่ยนระบอบไปแล้ว ใช่หรือไม่ ถือเป็นความผิดหรือไม่