จากสถิติระบุว่าการทำวัคซีนบางตัว อาจเกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับ ตลอด 200 ปีที่ผ่านมา มีข้อมูลยืนยันว่า การแพทย์สมัยใหม่แสดงความรับผิดชอบต่อกรณีภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยอันเนื่องมาจากการทำวัคซีนน้อยมาก
ตัวอย่าง: วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ B
ในปี 1996 หน่วยงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ (Centers for Disease Control and Prevention: CDC) รายงานกรณีคนไข้วัย 0-1 ปี 54 รายเกิดอาการข้างเคียงจากการทำวัคซีนไวรัสตับอักเสบ B และพบว่า ร้อยละ 60 ของผู้ทำวัคซีน จะสูญเสียภูมิต้านทานภายใน 12 ปี
ขณะที่ระบบรายงานผลข้างเคียงจากวัคซีน (Vaccine Adverse Event Reporting System: VAERS) ซึ่งเป็นโครงการติดตามผลวัคซีนโดยความร่วมมือของ CDC และองค์การอาหารและยาสหรัฐ (Food and Drug Administration: FDA) ให้ข้อมูลว่า เกิดผลข้างเคียงกับเด็กวัย 0-1 ปี จำนวน 1,080 ราย และมีรายงานเด็กเสียชีวิต 47 ราย
ทั้งนี้ ผู้ที่สัมผัสกับเชื้อไวรัสตับอักเสบ B ร้อยละ 50 จะไม่แสดงอาการหลังติดเชื้อ ร้อยละ 30 จะพัฒนาและมีอาการคล้ายไข้และสร้างภูมิคุ้มกันขึ้น ส่วนอีกร้อยละ 20 จะพัฒนาอาการไปเป็นผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ B
การทำวัคซีนสามารถช่วยได้ร้อยละ 95 อีกร้อยละ 5 ผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการแต่กลายเป็นพาหะของโรค
ร้อยละ 75 ของผู้ป่วยจะติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการ ร้อยละ 25 จะพัฒนาสู่การติดเชื้อที่ตับหรือมะเร็งตับ หลังจากเชื้อฟักตัวนาน 10-30 ปี
หากแพทย์ยืนยันว่าการทำวัคซีนปลอดภัย ก็ไม่ควรบ่ายเบี่ยงที่จะเซ็นรับรองในแบบฟอร์มกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อน หรือปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ขึ้นกับคนไข้
ที่มา: realfarmacy.com