คิดก่อนทาน ‘หวานน้อย’

cola1

 

หน้าร้อนที่ผ่านมา โคคา โคล่า เปิดตัวสไปรท์สูตรแคลอรี่ต่ำ หวานเหมือนเดิมแต่ที่เปลี่ยนไปคือ ไม่เพิ่มระดับน้ำตาลในเส้นเลือดและที่สำคัญเป็นความหวานที่มาจากธรรมชาติแท้ๆ

เจ้าความหวานที่ว่านี้มาจากต้นหญ้าหวานที่ชื่อว่า สเตเวีย (Stevia) ที่มีต้นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ซึ่งกลายเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่กำลังได้รับความนิยมในหมู่ผู้ผลิตเครื่องดื่มน้ำอัดลมยักษ์ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น เป็บซี่โค หรือ โคคาโคล่า ที่เอาใจคนรักสุขภาพ ซึ่งมีสถิติบริโภคโซดาลดลง 17 เปอร์เซ็นต์จากปี 1998  เพราะกลัวโรคภัยต่างๆ โดยเฉพาะโรคอ้วนที่อ้างว่ามาจากน้ำอัดลม

โคคาโคล่า โฆษณาสไปรท์สูตรล่าสุด ว่า มีแคลอรี่ต่ำว่าสูตรเดิม 30 เปอร์เซ็นต์  และจากการแถลงข่าวเปิดตัวของบริษัทแม่ สไปรท์ สูตรใหม่นีถูกวางเป็นตัวแทนสไปรท์สูตรดั้งเดิม (แคลอรี่สูง) ที่จะค่อยๆ หายจากตลาดผู้บริโภคไปในที่สุด

ด้านเป็บซี่โคเอง ก็ได้ทดลองวางขายอัดลมที่มีส่วนผสมของ สเตเวีย แล้วในสหรัฐอเมริกา ในช่วงหน้าร้อนที่ผ่านมาเช่นกัน

 

 

stevia

 

สเตเวียคืออะไร

สารให้ความหวานแคลอรี่ต่ำที่สกัดมาจาก ต้นสเตเวียเริ่มมีวางขายในปี 2009  แต่จริงๆ แล้วชาวแอฟริกาใต้ใช้ต้นสเตเวียในฐานะสารให้ความหวานมานานมากแล้ว

ในปัจจุบัน สเตเวียถูกนำมาขายในชื่อยี่ห้อต่างๆ เช่น Truvia  และ PureVia ซึ่งสารสกัดจากสเตเวียนั้นมีชื่อว่า Rebaudioside A หรือ Reb A  ที่ให้ความหวานกว่าน้ำตาล 200  เท่า ร่างกายดูดซึมได้ทันที ไม่สะสมเป็นน้ำตาลในเลือด

เดือนธันวาคม ปี 2008 สเตเวีย และ สารสกัด Reb A  ได้รับอนุญาตให้ขายในสหรัฐอเมริกา ในร้านขายอุปกรณ์และเครื่องปรุงสำหรับทำอาหารโดยเฉพาะ เนื่องจากยังเป็นวัตถุประกอบอาหารที่ต้องได้รับการดูแลความปลอดภัยและอาจมีอาการข้างเคียง ทั้งนี้จากการทดลองกับสัตว์  พบว่ามีผลกระทบต่อระบบการเจริญพันธ์และการขยายพันธุ์ และ อาจทำให้เกิดการกลายพันธุ์ แต่ยังไม่พบว่ามีอันตรายต่อมนุษย์

ในปี 2008  ผู้ผลิตและจำหน่าย Truvia และ PureVia  ได้เสนอผลการวิจัยต่อองค์การอาหารและยาสหรัฐหรือ FDA ให้พิจารณาความปลอดภัยของ Reb A และ ขอให้ใช้ในฐานะ ส่วนผสมอาหารที่ปลอดภัย (GRAS) และในที่สุด FDA ให้การรับรอง แต่ก็เฉพาะสารสกัด Reb A เท่านั้น ส่วนสารสกัดจากสเตเวียชนิดอื่นๆ FDA ไม่รับรองว่าปลอดภัย

กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อผู้บริโภคอย่าง  The Center for Science in the Public Interest หรือ CSPI เชื่อว่า   Reb A  ได้รับการรับรองเร็วเกินไป  โดยเผยว่า ในอดีต FDA เคยเรียกร้องให้มีการทดสอบกับสัตว์ 2 ชนิดที่แตกต่างกัน  แต่ที่สุดแล้วขั้นตอนนี้ก็ไม่ได้ทำ ทั้งนี้ CSPI ชี้แจงเจตนาว่าไม่ได้ต้องการออกมาเตือนให้ผู้บริโภคหลีกเลี่ยง Reb A แต่สังคมควรตระหนักว่า FDA ไม่ได้ทำการทดสอบความปลอดภัยให้ครบขั้นตอนอย่างที่เคยทำ

 

***********************************

(ที่มา eatingwell.com , thedailymeal.com)

logo คคสกับสถาบันวิจัย resize

Author

ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
หญิงแกร่งที่ทำงานทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านให้กับ WAY ถ้าเป็นนักฟุตบอลนี่คือผู้เล่นผู้จัดการทีมที่มีประสบการณ์ในสายงานข่าว ทั้งคลุกคลี สัมภาษณ์ บันเทิง ไลฟ์สไตล์ นอกจากนี้การเป็นคุณแม่ซึ่งมีลูกสาวย่างเข้าวัยรุ่นยังช่วยส่งเสริมให้สามารถปั่นงานด้านเด็กและเยาวชนอย่างเชี่ยวชาญ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า