ไมเคิล แอนเดอร์สัน กุมารแพทย์ เมืองเชอโรกี เคาน์ตี้ รัฐแอตแลนตา ผุดโปรเจคท์จ่ายยารักษาโรคสมาธิสั้น ให้แก่เด็กๆ ด้วยเชื่อว่าจะเป็นวิธีที่จะทำให้เด็กเก่งขึ้น โดยเฉพาะเด็กๆ ที่มาจากครอบครัวรายได้ต่ำ
ยาที่ว่าคือ Adderall ที่ใช้รักษาโรคสมาธิสั้น ซึ่ง นพ.แอนเดอร์สัน เชื่อว่า ถ้านำมาแจกจ่ายให้เด็กๆ ที่ผลการเรียนด้อยถึงปานกลาง จะทำให้ผลการเรียนขยับขึ้นได้ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่เต็มไปด้วยความหลากหลายและไม่เท่าเทียมกัน
เจตนาของเขาคือ สร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในสังคมโรงเรียน นพ.แอนเดอร์สัน บอกอีกว่า จากการที่เขาได้ไปรักษาเด็กๆ ทำให้พบว่าครอบครัวรายได้ต่ำหลายต่อหลายครอบครัวไม่ได้มีทางเลือกมากนัก จึงต้องเลือกวิธีนี้มาใช้สังคมแบบนี้
“การจะไปปรับสภาพแวดล้อมเด็กๆ ให้ดีขึ้นนั้น ค่าใช้จ่ายมันสูงเกินไป เราจึงต้องไปปรับเปลี่ยนที่ตัวเด็ก” แอนเดอร์สันให้เหตุผล
ยา Adderall นั้นมีสรรพคุณในพัฒนาและฟื้นฟูสมาธิ และออกฤทธิ์ควบคุมแรงกระตุ้นของตนเองสำหรับคนที่เป็นโรคสมาธิสั้น ซึ่งผลข้างเคียงที่ตามมาจากยาดังกล่าว มีตั้งแต่การเจริญเติบโตหยุดชะงัก ความดันโลหิตสูง และบางรายมีอาจมีอาการจิตเภท
ในอเมริกา การจ่ายยาชนิดนี้จะต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด และถูกแบ่งประเภทโดยสำนักงานปราบปรามยาเสพติดสหรัฐอเมริกา (DEA) เพราะอาจเข้าข่ายเสพติดได้
The New York Times ที่นำเสนอรายงานชิ้นนี้ เผยอีกว่า ในเมืองเล็กๆ ที่เต็มไปด้วยความไม่เท่าเทียมกัน ‘เทรนด์เด็กเก่ง’ กำลังแพร่หลายในบรรดาครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ และลูกๆ เองก็ไม่ได้ความสามารถโดดเด่นหรือผลการเรียนเป็นเลิศ จึงหมดโอกาสชิงทุนการศึกษา
โดย นพ.แอนเดอร์สัน เชื่อว่า เขากำลังสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในหมู่เด็กนักเรียน
“ สำหรับเด็ก ผมก็เหมือนกับติวเตอร์ สำหรับครอบครัว ผมเป็นที่ปรึกษา”
อย่างไรก็ตาม ความคิดดังกล่าวยังไม่ได้นำไปปฏิบัติจริง เพราะเป็นเพียงโครงการในอนาคตของนายแพทย์แอนเดอร์สันเท่านั้น
ทั้งนี้ ศึกษาธิการประจำโรงเรียนในรัฐแคลิฟอร์เนีย เผยกับ The New York Times ว่า อัตราเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นเพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็ว สวนทางกับทุนการศึกษาที่ลดจำนวนลงเรื่อยๆ
ข้อมูลจาก ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) ระบุว่า ตั้งแต่ปี 1997-2006 แต่ละปีมีคนเป็นโรคสมาธิสั้นเพิ่มขึ้น 3 เปอร์เซ็นต์ และในปี 2003-2007 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 5.5 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2007 มีเด็กอายุ 4-7 ปี เป็นโรคสมาธิสั้นราว 5.4 ล้านคน
ที่มา : commondreams.org