ชุมชนแออัดในฮาซาริบัก (Hazaribagh)เมืองดากา เมืองหลวงของบังคลาเทศ เป็นแหล่งผลิตหนังและผลิตภัณฑ์จากหนังสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ตอนนี้คนจำนวนมากกำลังป่วยเรื้อรังจากสารเคมีและได้รับบาดเจ็บจากการทำงานชนิดรายวัน
เนื่องจากโรงงานฟอกหนังที่ตั้งอยู่ในฮาซาริบัก ปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำ ทำให้แม่น้ำเต็มไปด้วยเศษอาหาร กรดซัลฟิวริก โครเมี่ยม และ ตะกั่ว
ริชาร์ด แพร์เฮาส์ จากกลุ่ม Human Rights Watch เจ้าของรายงานชุดนี้ เผยว่า น้ำจากโรงงานฟอกหนัง ทำให้สภาพแวดล้อมเต็มไปด้วยสารเคมี ส่งผลให้ชาวบ้านป่วยและคนงานบาดเจ็บจากกาทำงานคลุกคลีกับสารเคมีอันตราย
แพร์เฮาส์บอกอีกว่า ผลิตภัณฑ์และสินค้าหนังที่ผลิตในบังคลาเทศ 90 เปอร์เซ็นต์ทำในฮาซาริบัก ที่ตลบอบอวลไปด้วยกลิ่นเหม็น และคนในชุมชนแออัดราว 15, 000 คนเป็นลูกจ้างโรงงานฟอกหนัง
ตลาดการส่งออกของประเทศยากจนในกลุ่มเอเชียใต้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มีมูลค่าราว 663 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2011-2012 ลูกค้าหลัก คือ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อิตาลี เยอรมนี สเปน และ สหรัฐอเมริกา แพร์เฮาส์เสริมว่าบริษัทต่างๆ ที่นำเข้าหนังจากฮาซาริบักควรตระหนักว่าเรื่องสุขภาพ ความปลอดภัยในชีวิตของซัพพลายเออร์ และ ผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมบ้าง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของบังคลาเทศ ดีลิป บอรา ให้สัมภาษณ์แก่รอยเตอร์ว่า รัฐบาลตระหนักถึงปัญหามลพิษและอันตรายต่อสุขภาพในชุมชนฮาซาริบักดี แต่แผนการย้ายโรงงานฟอกหนักไปยังพื้นที่นอกเมืองดากา กำลังจะเกิดขึ้นกลางปี 2013
แย้งกับกลุ่ม Human Rights Watch ให้ข้อมูลเพิ่มว่าแผนการย้ายโรงฟอกหนังออกไปนอกเมือง มีการพูดถึงตั้งแต่ปี 2005 แล้ว แต่เส้นตายก็ถูกยืดออกไปเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่ศาลสูงสุด มีคำสั่งให้ย้ายโรงฟอกหนังไปนอกเมืองดากาภายในปี 2009
ก่อนหน้านี้ มีการเคลื่อนไหวเรื่องสารพิษจากโรงงานฟอกหนังบรรดาจากกลุ่มทำงานด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ หลายครั้ง รัฐบาลก็พยายามหวานล้อมและรับปากว่าจะย้ายโรงงาน แต่ก็เลื่อนไปเรื่อยๆ ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการเอาใจเจ้าของกิจการโรงงานฟอกหนัง
รายงานชิ้นนี้ แพร์เฮาส์ใช้เวลาเก็บข้อมูล 5 เดือน สัมภาษณ์ 134 คน เขาสรุปว่า อากาศและดินในฮาซาริบัก “มีระดับการปนเปื้อนสูงมากอย่างไม่น่าเชื่อ” และเขาก็ยังเห็นคนในสลัมอาบน้ำในบ่อที่ทั้งดำและสกปรกไปด้วยสารพิษ อย่างเป็นปกติ
เขายังพบอีกว่า เด็กๆ อายุราว 11 ขวบ ที่ทำงานในโรงงานฟอกหนังเพื่อแลกค่าจ้างราวเดือนละ 12.30 ดอลลาร์ (ราว 375 บาท) ถูกบังคับให้ทำงานเสี่ยงและอันตราย เช่น เอาหนังสัตว์ไปชุบสารเคมี หรือ ตัดหนังสัตว์ด้วยมีดคมเฉียบ และใช้เครื่องจักรที่อันตรายต่างๆ
ทั้งนี้บังคลาเทศส่งออกทั้งหนังดิบและผลิตภัณฑ์หนังสำเร็จรูปรายใหญ่ เกือบทั้งหมดเป็นรองเท้า แบรนด์เนมต่างๆ และระดับไฮเอนด์
ที่มา : reuters.com