20 สารเคมีใกล้ตัวกับโอกาสการเกิดโรคมะเร็งมากขึ้น

เรื่อง: พีระพัฒน์ สวัสดิรักษ์

ในชีวิตประจำวัน สารเคมีอันตรายมากมายรอบตัวเราเป็นตัวการก่อมะเร็ง รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในวัยเด็กนั้น ส่วนใหญ่จะตรวจพบมะเร็งในช่วงอายุ 5 ขวบ และมีอัตราการเกิดโรคสูงในช่วงขวบปีแรก มะเร็งในวัยเด็กที่พบมากที่สุดคือโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ตามมาด้วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และโรคมะเร็งสมอง

เป็นที่รู้กันว่ามีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันระหว่างสารเคมีที่เป็นพิษกับโรคมะเร็งในวัยเด็ก และเนื่องจากโรคมะเร็งในวัยเด็กจำนวนมากเกิดขึ้นในช่วงต้นของชีวิต นักวิทยาศาสตร์จึงมุ่งเน้นศึกษา มีงานวิจัยหลายชิ้นพยายามหาคำตอบว่า การได้รับสารพิษของพ่อแม่ทั้งก่อนและระหว่างตั้งครรภ์อาจเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่ทำให้เด็กมีโอกาสเป็นมะเร็งมากขึ้น

นี่คือรายชื่อสารก่อมะเร็ง (carcinogens) บางส่วน ที่ถูกเผยแพร่โดยเว็บไซต์ alternet.org เพื่อให้เห็นภาพรวมกว้างๆ ของสารพิษก่อมะเร็งใกล้ตัว โดยรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยมะเร็ง (International Agency for Research on Cancer) ศูนย์มะเร็งแห่งชาติ (National Cancer Institute) สถาบันคุ้มครองสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (Environmental Protection Agency) และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ (Centers for Disease Control and Prevention)

มลพิษทางอากาศ (Air Pollution)

สถานะ: อากาศปนเปื้อนสารพิษ ซึ่งเราหายใจเข้าไปทั้งหมด
ที่มา: เขม่าจากไอเสียรถยนต์ เขม่าจากปล่องควันอุตสาหกรรม ก๊าซพิษจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ควันจากเครื่องดับกลิ่น น้ำยาทำความสะอาด วัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ วัสดุใหม่ ควันบุหรี่ ละอองเรณู และรา
เสี่ยงต่อโรค: โรคมะเร็ง โรคหอบหืด โรคทางเดินหายใจ การคลอดก่อนกำหนด

อะฟลาท็อกซิน (Aflatoxins)

สถานะ: กลุ่มสารเคมีพิษที่ก่อตัวในอากาศชื้นอบอุ่น เชื้อราและราต่างๆ ในถั่วลิสง ข้าวโพด
ที่มา: เนยถั่วลิสง
เสี่ยงต่อโรค: มะเร็งตับ
ผู้มีความเสี่ยง: ผู้ที่ตับไม่แข็งแรง ตับมีความเสียหาย และผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง

อนาบอลิก สเตียรอยด์ (Anabolic Steroids)

สถานะ: ยาที่มีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเพศชาย
ที่มา: ยาฉีด, ยารับประทาน ยาเหน็บช่องคลอด ยาทาผิวภายนอก
เสี่ยงต่อโรค: มะเร็งตับ
ผู้ที่มีความเสี่ยง: เด็กและวัยรุ่นที่ใช้สเตียรอยด์เป็นเครื่องมือช่วยในการปรับปรุงสมรรถนะด้านกีฬา

สารหนู (Arsenic)

สถานะ: สารเคมีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ พบได้ในอากาศ น้ำ ดิน
การแพร่สู่สิ่งแวดล้อม: สารปนเปื้อนในน้ำประปา อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมถลุงแร่
ที่มา: สารกำจัดศัตรูพืชรุ่นเก่า
เสี่ยงต่อโรค: มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งผิวหนัง มะเร็งปอด มะเร็งในระบบทางเดินอาหาร มะเร็งไต มะเร็งตับ และมะเร็งเม็ดเลือด
ผู้ที่มีความเสี่ยง: เด็กๆ อาจสัมผัสสารหนูได้เมื่อเล่นใกล้โครงสร้างไม้เก่าๆ ที่ได้รับการฟื้นฟูจากสารหนูทองแดงโครเมียม โดยทั่วไปจะพบในสนามเด็กเล่นและโต๊ะกลางแจ้ง

แร่ใยหิน (Asbestos)

สถานะ: กลุ่มแร่ธาตุที่เป็นของเหลวซึ่งก่อตัวขึ้นทั่วโลกตามธรรมชาติทางธรณีวิทยา
การแพร่สู่สิ่งแวดล้อม: การฟุ้งกระจายระหว่างก่อสร้างหรือทำลายอาคาร โดยเฉพาะอาคารเก่า
ที่มา: ฉนวนกันความร้อน ผนังอาคาร กระเบื้อง ฝ้าเพดาน หลังคา พื้นเคลือบการต่อเรือ
เสี่ยงต่อโรค: มะเร็งปอด มะเร็งในทางเดินอาหาร และมะเร็งเยื่อหุ้มปอดจากแร่ใยหิน (Mesothelioma)
ผู้มีความเสี่ยง
: เด็กๆ ที่จับต้องกับแร่ใยหินจากพื้นผิวฝ้าเพดานมีความเสี่ยงสูง และจะทวีความรุนแรงขึ้นในโรงเรียนที่มีความเก่าแก่ ซึ่งมีการดูแลรักษาอาคารเรียนด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจากแร่ใยหิน

แอสพาร์เทม (Aspartame)

สถานะ: สารให้ความหวานเทียม
ที่มา: เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
เสี่ยงต่อโรค: โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
ผู้มีความเสี่ยง: หากเด็กได้รับสารนี้ตั้งแต่ช่วงที่มารดากำลังตั้งครรภ์จะเป็นอันตรายและเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมากขึ้น

เบนซิน (Benzene)

สถานะ: ตัวทำละลายบาง ไม่มีสี กลิ่นหอม
ที่มา: น้ำยาลบสีเก่า น้ำยาทำความสะอาด กาว
เสี่ยงต่อโรค: โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคที่เกี่ยวกับเลือด
ผู้มีความเสี่ยง: เสี่ยงต่อเด็กและวัยรุ่น เพราะอาจได้สัมผัสกับน้ำมันเบนซินผ่านผิวหนังขณะเติมน้ำมันในสถานีบริการตนเอง หรือเมื่อเติมน้ำมันกับเครื่องยนต์ขนาดเล็ก เช่น เครื่องตัดหญ้า

เบนโซพรีน (Benzopyrene)

สถานะ: เขม่าไหม้สีดำ
ที่มา: ย่างอาหาร ปิ้งขนมปัง คั่วกาแฟ สูบยาสูบ รวมทั้งจากไอเสียรถยนต์และไฟป่าด้วย
เสี่ยงต่อโรค: มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งปอด

แคดเมียม (Cadmium)

สถานะ: ธาตุโลหะหนัก พบได้ตามธรรมชาติ เช่น ดิน แหล่งน้ำ เหมืองแร่
ที่มา: พลาสติก แบตเตอรี่
การแพร่สู่สิ่งแวดล้อม: โรงเผาขยะ โรงกลั่นสังกะสี และควันบุหรี่
เสี่ยงต่อโรค: กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มะเร็งตับอ่อน

ดีดีที (DDT)

สถานะ: สารกำจัดศัตรูพืชออร์แกนิกคลอรีน
เสี่ยงต่อโรค : มะเร็งเต้านม
ผู้มีความเสี่ยง: เด็กสาวที่สัมผัสกับ DDT และสตรีที่มารดาเคยได้รับยา DDT ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งมากกว่าผู้หญิงทั่วไป

Diethylstilbesterol (DES)

สถานะ: ยาสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการแท้งลูก
เสี่ยงต่อโรค: มะเร็งในช่องคลอด และอาจทำให้ระบบสืบพันธุ์ในเพศชายเปลี่ยนแปลงไป

ไอเสียเครื่องยนต์ดีเซล

สถานะ: เขม่าคาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจนและกำมะถันฟอร์มาลดีไฮด์ และเบนโซลีน
เสี่ยงต่อโรค: โรคมะเร็งหลายชนิด
เพิ่มเติม: ไอเสียดีเซลเป็นพิษมากกว่าไอเสียน้ำมันเบนซิน

ไดออกซิน (Dioxins)

สถานะ: สารปนเปื้อนที่มีความเป็นพิษ
ที่มา: ผลิตขึ้นในระหว่างการเผาพลาสติก พีวีซี และสารประกอบคลอรีนอื่นๆ พบในอาหารที่มีไขมันสูง ไข่ นมสำหรับทารก รวมถึงนมแม่
เสี่ยงต่อโรค: โรคมะเร็งหลายชนิด

ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde)

สถานะ: สารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยได้
ที่มา: ไม้อัด ไม้อัดกาว กาว กระดาษฉนวน เรซิน เฟอร์นิเจอร์ใหม่ รถใหม่ หรือของที่ซื้อมาใหม่ จะปล่อยฟอร์มาลดีไฮด์ออกสู่สิ่งแวดล้อม
เสี่ยงต่อโรค: มะเร็งเม็ดเลือดขาว

ลินเดน (Lindane) หรือ HCB (Hexachlorobenzene)

สถานะ: สารก่อมลพิษอินทรีย์อย่างถาวร
ผลิตภัณฑ์: ยากำจัดแมลง ยารักษาเหา
เสี่ยงต่อโรค: มะเร็งตับ
เพิ่มเติม: ปัจจุบันห้ามใช้เพื่อการเกษตร และมียารักษาเหาที่ปลอดภัยกว่าแล้ว

ไนโตรซามีน (Nitrosamine)

สถานะ: สารเคมีที่เป็นพิษ
เกิดจาก: ผลิตขึ้นในระหว่างการย่อยสลายเนื้อสัตว์ที่มีไนเทรต เช่น ฮอตด็อกหรือไส้กรอก นอกจากนี้ยังพบได้จากควันบุหรี่อีกด้วย
เสี่ยงต่อโรค: มะเร็งในระบบทางเดินอาหาร

PCBs (Polychlorinated Biphenyls)

สถานะ: สารประกอบที่มีคลอรีนสูง
ที่มา: ฉนวนไฟฟ้า
เสี่ยงต่อโรค: โรคมะเร็ง

Perchloroethylene (PERC) หรือ Tetrachloroethylene

สถานะ: ตัวทำละลาย
เกิดจาก: ใช้ในการซักแห้งและการล้างไขมันโลหะ
เสี่ยงต่อโรค: มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สารกำจัดศัตรูพืช (Pesticide)

สถานะ: สารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ในเกษตรกรรม
ที่มา: สารกำจัดศัตรูพืชที่มีส่วนผสมของมาลาไทออน (Malathion) และ ไดอะซีนอน (Diazinon)
เสี่ยงต่อโรค: โรคมะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

รังสี (Radiation)

สถานะ: คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ที่มา: ถ่ายโอนพลังงานเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ สามารถบิดเบือนโครงสร้างโมเลกุลภายในเซลล์ของร่างกาย ซึ่ง DNA หรือสารพันธุกรรมของมนุษย์เป็นเป้าหมายที่อ่อนแอที่สุด
เสี่ยงต่อโรค: โรคมะเร็งและโรคทางพันธุกรรม


ที่มา: alternet.org

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า