เราไม่ทิ้งกัน ชาวโลกทำกันอย่างไร

เราทั้งหมดมีความทึ่งใจมาก เป็นเรื่องแปลกใจมากที่ทุกอย่างจัดการได้อย่างรวดเร็ว และการดำเนินการเพื่อได้รับเงิน เตรียมตัววางแผนกันมาเป็นอย่างดีเยี่ยม

 Laurenz Bostedt

ข้างต้นคือคำกล่าวของ Laurenz Bostedt ช่างภาพอิสระชาวเยอรมนี หลังจากประเทศเยอรมนีดำเนินนโยบายการเยียวยาประชาชนและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส Covid-19

นอกจากเยอรมนี หลายประเทศทั่วโลกล้วนเผชิญกับสถานการณ์คล้ายคลึงกัน จึงจำเป็นต้องมีนโยบายช่วยเหลือประชาชน โอบอุ้มภาคธุรกิจ เพื่อพยุงและกระตุ้นเศรษฐกิจ

ปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดทำข้อมูลมาตรการการเยียวยาประชาชนและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส Covid-19 ในประเทศต่างๆ

ในสถานการณ์เช่นนี้ แต่ละประเทศดำเนินนโยบายอย่างไร เพื่อทำให้คำว่า “เราไม่ทิ้งกัน” สมจริงและมีผลในทางปฏิบัติมากกว่าคำพูด

ญี่ปุ่น

แจกเงินเงินอุดหนุน-ชดเชยเยียวยาภาคธุรกิจ
แจกเงิน 1 แสนเยน (ราว 30,000 บาท) ให้ประชาชนทุกคน– ให้เงินช่วยเหลือลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบสูงสุด 8,330 เยน/วัน (ราว 2,500 บาท)

– ให้เงินช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือรับจ้างทั่วไปที่ได้รับผลกระทบ 4,100 เยน/วัน (ราว 1,200 บาท)
กู้เงินฉุกเฉินได้คนละ 100,000-200,000 เยน (ราว 30,000-60,000 บาท) โดยไม่คิดดอกเบี้ยปล่อยสินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจ SMEs ที่ได้รับผลกระทบ โดย Japan Federation of Credit Guarantee Corporations (JFG) จะช่วยค้ำประกันสินเชื่อให้

– ธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศใช้ Special Funds-Supplying Operations ช่วยให้ภาคธุรกิจเข้าถึงสินเชื่อได้ โดยไม่คิดดอกเบี้ย เป็นเวลา 1 ปี
แจกเงิน
  • แจกเงิน 1 แสนเยน (ราว 30,000 บาท) ให้ประชาชนทุกคน
เงินอุดหนุน-ชดเชย
  • ให้เงินช่วยเหลือลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบสูงสุด 8,330 เยน/วัน (ราว 2,500 บาท)
  • ให้เงินช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือรับจ้างทั่วไปที่ได้รับผลกระทบ 4,100 เยน/วัน (ราว 1,200 บาท)
เยียวยา
  • กู้เงินฉุกเฉินได้คนละ 100,000-200,000 เยน (ราว 30,000-60,000 บาท) โดยไม่คิดดอกเบี้ย
ภาคธุรกิจ
  • ปล่อยสินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจ SMEs ที่ได้รับผลกระทบ โดย Japan Federation of Credit Guarantee Corporations (JFG) จะช่วยค้ำประกันสินเชื่อให้
  • ธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศใช้ Special Funds-Supplying Operations ช่วยให้ภาคธุรกิจเข้าถึงสินเชื่อได้ โดยไม่คิดดอกเบี้ย เป็นเวลา 1 ปี

เกาหลีใต้

แจกเงินเงินอุดหนุน-ชดเชยเยียวยาภาคธุรกิจ
– แจกเงินครัวเรือนละ 1 ล้านวอน (ราว 27,000 บาท) ยกเว้นครัวเรือนที่มีรายได้สูง (ประมาณ 30% ของครัวเรือนทั้งหมด)

– แจกบัตรของขวัญจำนวน 3.5 ล้านล้านวอน เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจท้องถิ่น
          
– แจกเงินผ่าน paychecks กระตุ้นการใช้จ่าย
– เพิ่มเงินเดือน 20% ให้ผู้สูงอายุ

– เพิ่มเบี้ยยังชีพสำหรับผู้หางานอายุน้อย
 – ลดภาษีรถยนต์ส่วนตัว 70%

– คืนเงินที่ใช้ซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน 10% หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากประหยัดไฟ
– อุดหนุนบริษัทที่พนักงานลาหยุดโดยที่ยังได้รับค่าจ้าง (paid leave) เพื่อกักตัว 14 วัน
 
– ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจขนาดเล็ก

– ให้เงินอุดหนุนผู้ประกอบการรายย่อยจ่ายเงินเดือนพนักงาน

– ช่วยเหลือร้านค้าขนาดเล็กที่มีผู้ติดเชื้อแวะเข้าไปในพื้นที่ เมื่อกลับมาเปิดทำการปกติ

 – ให้การอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการป้องกันเพลิงสำหรับเจ้าของที่ หรือผู้ให้เช่าตลาดพื้นเมือง (traditional market) หากผู้ให้เช่าลดค่าเช่าอย่างน้อย 20% ของทั้งพื้นที่
แจกเงิน
  • แจกเงินครัวเรือนละ 1 ล้านวอน (ราว 27,000 บาท) ยกเว้นครัวเรือนที่มีรายได้สูง (ประมาณ 30% ของครัวเรือนทั้งหมด)
  • แจกบัตรของขวัญจำนวน 3.5 ล้านล้านวอน เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจท้องถิ่น
  • แจกเงินผ่าน paychecks กระตุ้นการใช้จ่าย
เงินอุดหนุน-ชดเชย
  • เพิ่มเงินเดือน 20% ให้ผู้สูงอายุ
  • เพิ่มเบี้ยยังชีพสำหรับผู้หางานอายุน้อย
เยียวยา
  • ลดภาษีรถยนต์ส่วนตัว 70%
  • คืนเงินที่ใช้ซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน 10% หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากประหยัดไฟ
ภาคธุรกิจ
  • อุดหนุนบริษัทที่พนักงานลาหยุดโดยที่ยังได้รับค่าจ้าง (paid leave) เพื่อกักตัว 14 วัน
  • ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจขนาดเล็ก
  • ให้เงินอุดหนุนผู้ประกอบการรายย่อยจ่ายเงินเดือนพนักงาน
  • ช่วยเหลือร้านค้าขนาดเล็กที่มีผู้ติดเชื้อแวะเข้าไปในพื้นที่ เมื่อกลับมาเปิดทำการปกติ
  • ให้การอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการป้องกันเพลิงสำหรับเจ้าของที่ หรือผู้ให้เช่าตลาดพื้นเมือง (traditional market) หากผู้ให้เช่าลดค่าเช่าอย่างน้อย 20% ของทั้งพื้นที่

ฮ่องกง

แจกเงินเงินอุดหนุน-ชดเชยเยียวยาภาคธุรกิจ
– ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปจะได้รับเงิน 10,000 ดอลลาร์ฮ่องกง (ราว 42,000 บาท)

– เพิ่มเบี้ยเลี้ยงรายเดือนให้ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยเป็น 2 เท่า
– พนักงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จะได้รับเงินชดเชย 50% เป็นเวลา 6 เดือน สูงสุดไม่เกิน 9,000 ดอลลาร์ฮ่องกง (ราว 38,000 บาท)-ผู้เช่าที่อยู่อาศัยในอสังหาฯ ที่เป็นของรัฐ จะได้รับส่วนลดค่าเช่า 75%

– สร้างงาน 30,000 ตำแหน่ง รวมถึงงานราชการและฝึกงาน

– ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า MTR 20% เป็นเวลา 6 เดือน

– เลื่อนจ่ายภาษีออกไปอีก 3 เดือน
-ให้เงินช่วยเหลือธุรกิจค้าปลีกและร้านอาหาร และธุรกิจอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง

 – สนับสนุนสินเชื่อให้แก่ SMEs โดยรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกันเต็มจำนวน เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ ไม่เกินจำนวน 2 ล้านดอลลาร์ฮ่องกงต่อธุรกิจ

– เยียวยาผู้ประกอบการของท่าอากาศยานฮ่องกงโดยเฉพาะร้านค้าปลีกและร้านอาหาร ด้วยการลดค่าเช่าสถานที่ และค่าบริการสนามบินอื่นๆ

แจกเงิน
  • ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปจะได้รับเงิน 10,000 ดอลลาร์ฮ่องกง (ราว 42,000 บาท)
  • เพิ่มเบี้ยเลี้ยงรายเดือนให้ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยเป็น 2 เท่า
เงินอุดหนุน-ชดเชย
  • พนักงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จะได้รับเงินชดเชย 50% เป็นเวลา 6 เดือน สูงสุดไม่เกิน 9,000 ดอลลาร์ฮ่องกง (ราว 38,000 บาท)
เยียวยา
  • ผู้เช่าที่อยู่อาศัยในอสังหาฯ ที่เป็นของรัฐ จะได้รับส่วนลดค่าเช่า 75%
  • สร้างงาน 30,000 ตำแหน่ง รวมถึงงานราชการและฝึกงาน
  • ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า MTR 20% เป็นเวลา 6 เดือน
  • เลื่อนจ่ายภาษีออกไปอีก 3 เดือน
ภาคธุรกิจ
  • ให้เงินช่วยเหลือธุรกิจค้าปลีกและร้านอาหาร และธุรกิจอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง
  • สนับสนุนสินเชื่อให้แก่ SMEs โดยรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกันเต็มจำนวน เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ ไม่เกินจำนวน 2 ล้านดอลลาร์ฮ่องกงต่อธุรกิจ
  • เยียวยาผู้ประกอบการของท่าอากาศยานฮ่องกงโดยเฉพาะร้านค้าปลีกและร้านอาหาร ด้วยการลดค่าเช่าสถานที่ และค่าบริการสนามบินอื่นๆ

มาเลเซีย

แจกเงินเงินอุดหนุน-ชดเชยเยียวยาภาคธุรกิจ
– คนขับแท็กซี่ คนขับรถทัวร์ คนขับสามล้อที่ขึ้นทะเบียน และไกด์ท่องเที่ยว
ได้รับเงิน 600 ริงกิต (ราว 4,500 บาท)
                   
– ครอบครัวที่มีรายได้ไม่เกิน 4,000 ริงกิต (ราว 30,000 บาท) ได้รับเงิน 1,600 ริงกิต (ราว 12,000 บาท) 

– คนโสดอายุ 21 ปีขึ้นไปที่มีรายได้ไม่เกิน 2,000 ริงกิต (ราว 15,000 บาท) ได้รับเงิน 800 ริงกิต (ราว 6,000 บาท)
          
– ครอบครัวที่มีรายได้ 4,001-8,000 ริงกิต ได้รับเงิน 1,000 ริงกิต (ราว 7,500 บาท)

– คนโสดอายุ 21 ปีขึ้นไป มีรายได้ 2,001-4,000 ริงกิต (ราว 15,000-30,000 บาท) ได้รับเงิน 500 ริงกิต (ราว 3,750 บาท)
– ไม่อนุญาตให้นายจ้างลดเงินเดือนลูกจ้าง ที่มีรายได้ต่ำกว่า 4,000 ริงกิตต่อเดือน (ราว 30,000 บาท)

– ลดอัตราการส่งเงินสมทบในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจาก 11% เหลือ 7% 

 – แรงงานที่ต้องหยุดพักงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 และได้ขึ้นทะเบียนประกันการว่างงาน จะได้รับเงินช่วยเหลือ 600 ริงกิตต่อเดือน (ราว 4,500 บาท) เป็นระยะเวลาสูงสุด 6 เดือน

– เพิ่มเบี้ยเลี้ยงพิเศษให้บุคลากรสาธารณสุข จากเดิม 400 ริงกิต/เดือน เป็น 600 ริงกิต/เดือน (ราว 4,500 บาท)

– จ่ายเบี้ยเลี้ยงพิเศษให้กับทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่ป้องกันพลเรือน พนักงานดับเพลิง และอาสาสมัคร 200 ริงกิต/เดือน (ราว 1,480 บาท)

– ข้าราชการและข้าราชการเกษียณ ได้รับเงิน 500 ริงกิต (ราว 3,700 บาท)
– ลดค่าไฟฟ้า น้ำประปา

– ใช้อินเทอร์เน็ตฟรี ตลอดช่วงการ lockdown

 – ขยายเวลาชำระหนี้สินเชื่อต่างๆ รวมถึงสัญญาจำนองและสัญญาเช่าซื้อให้แก่ลูกหนี้รายบุคคลและผู้ประกอบการ SMEs เป็นเวลา 6 เดือน

– ขยายระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาเป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เมษายน 2563

– ลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สูงสุด 1,000 ริงกิต (ราว 7,500 บาท) เมื่อใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวในประเทศ (ตั้งแต่มีนาคม-สิงหาคม 2563)
– ให้เงิน 1,000 ริงกิต (ราว 7,500 บาท) แก่ผู้ประกอบการท้องถิ่นจำนวน 10,000 ราย เพื่อส่งเสริมการขายสินค้าใน E-commerce

 – ลดค่าไฟฟ้า 15% ต่อเดือน สำหรับธุรกิจโรงแรม บริษัทท่องเที่ยว สายการบิน ห้างสรรพสินค้า ศูนย์แสดงสินค้า และสวนสนุก (ตั้งแต่เมษายน-กันยายน 2563)

 – จัดสรรเงินช่วยเหลือ 200 ล้านริงกิต ให้แก่ Human Resource Development Fund (HRDF) เพื่อให้ลูกจ้าง 40,000 คน ในภาคการท่องเที่ยวและผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงผู้ได้รับผลกระทบทางอ้อม เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์
แจกเงิน
  • คนขับแท็กซี่ คนขับรถทัวร์ คนขับสามล้อที่ขึ้นทะเบียน และไกด์ท่องเที่ยว
    ได้รับเงิน 600 ริงกิต (ราว 4,500 บาท)
  • ครอบครัวที่มีรายได้ไม่เกิน 4,000 ริงกิต (ราว 30,000 บาท) ได้รับเงิน 1,600 ริงกิต (ราว 12,000 บาท) 
  • คนโสดอายุ 21 ปีขึ้นไปที่มีรายได้ไม่เกิน 2,000 ริงกิต (ราว 15,000 บาท) ได้รับเงิน 800 ริงกิต (ราว 6,000 บาท)
  • ครอบครัวที่มีรายได้ 4,001-8,000 ริงกิต ได้รับเงิน 1,000 ริงกิต (ราว 7,500 บาท)
  • คนโสดอายุ 21 ปีขึ้นไป มีรายได้ 2,001-4,000 ริงกิต (ราว 15,000-30,000 บาท) ได้รับเงิน 500 ริงกิต (ราว 3,750 บาท)
เงินอุดหนุน-ชดเชย
  • ไม่อนุญาตให้นายจ้างลดเงินเดือนลูกจ้าง ที่มีรายได้ต่ำกว่า 4,000 ริงกิตต่อเดือน (ราว 30,000 บาท)
  • ลดอัตราการส่งเงินสมทบในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจาก 11% เหลือ 7% 
  • แรงงานที่ต้องหยุดพักงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 และได้ขึ้นทะเบียนประกันการว่างงาน จะได้รับเงินช่วยเหลือ 600 ริงกิตต่อเดือน (ราว 4,500 บาท) เป็นระยะเวลาสูงสุด 6 เดือน
  • เพิ่มเบี้ยเลี้ยงพิเศษให้บุคลากรสาธารณสุข จากเดิม 400 ริงกิต/เดือน เป็น 600 ริงกิต/เดือน (ราว 4,500 บาท)
  • จ่ายเบี้ยเลี้ยงพิเศษให้กับทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่ป้องกันพลเรือน พนักงานดับเพลิง และอาสาสมัคร 200 ริงกิต/เดือน (ราว 1,480 บาท)
  • ข้าราชการและข้าราชการเกษียณ ได้รับเงิน 500 ริงกิต (ราว 3,700 บาท)
เยียวยา
  • ลดค่าไฟฟ้า น้ำประปา
  • ใช้อินเทอร์เน็ตฟรี ตลอดช่วงการ lockdown
  • ขยายเวลาชำระหนี้สินเชื่อต่างๆ รวมถึงสัญญาจำนองและสัญญาเช่าซื้อให้แก่ลูกหนี้รายบุคคลและผู้ประกอบการ SMEs เป็นเวลา 6 เดือน
  • ขยายระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาเป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เมษายน 2563
  • ลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สูงสุด 1,000 ริงกิต (ราว 7,500 บาท) เมื่อใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวในประเทศ (ตั้งแต่มีนาคม-สิงหาคม 2563)
ภาคธุกิจ
  • ให้เงิน 1,000 ริงกิต (ราว 7,500 บาท) แก่ผู้ประกอบการท้องถิ่นจำนวน 10,000 ราย เพื่อส่งเสริมการขายสินค้าใน E-commerce
  • ลดค่าไฟฟ้า 15% ต่อเดือน สำหรับธุรกิจโรงแรม บริษัทท่องเที่ยว สายการบิน ห้างสรรพสินค้า ศูนย์แสดงสินค้า และสวนสนุก (ตั้งแต่เมษายน-กันยายน 2563)
  • จัดสรรเงินช่วยเหลือ 200 ล้านริงกิต ให้แก่ Human Resource Development Fund (HRDF) เพื่อให้ลูกจ้าง 40,000 คน ในภาคการท่องเที่ยวและผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงผู้ได้รับผลกระทบทางอ้อม เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์

สิงคโปร์

แจกเงินเงินอุดหนุน-ชดเชยเยียวยาภาคธุรกิจ
– ผู้ที่มีอายุ 21 ปีขึ้นไป และมีรายได้น้อยกว่า 28,000 ดอลลาร์สิงคโปร์/ปี (ราว 644,000 บาท) จะได้รับเงินช่วยเหลือ 1,200 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 27,600 บาท) 

– คนที่มีรายได้ 28,000-100,000 ดอลลาร์สิงคโปร์/ปี (ราว 644,000-2,300,000 บาท) จะได้รับเงินช่วยเหลือ 900 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 20,700 บาท) 

– คนที่มีรายได้มากกว่า 100,000 ดอลลาร์สิงคโปร์/ปี (ราว 2,300,000 บาท) หรือเป็นเจ้าของอสังหาฯ มากกว่า 1 แห่ง จะได้รับเงินช่วยเหลือ 600 ดอลลาร์สิงคโปร์  

– สำหรับคนที่มีลูกอายุต่ำกว่า 21 ปี จะได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มอีก 300 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 6,900 บาท)

– ผู้สูงอายุ (มากกว่า 50 ปีขึ้นไป) จะได้รับการเติมเงินในบัตร PAssion 100 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 2,300 บาท) เพื่อใช้ซื้อสินค้าที่ซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าในเครือข่าย
 
– ผู้มีรายได้น้อยจะได้เงินอุดหนุนและคูปองซื้ออาหารเพิ่ม 100 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 2,300 บาท)
– พนักงานของบริษัทที่ต้องกักตัวจะถือว่าเป็นการลาป่วยพิเศษและได้รับเงินเดือน

 – บริษัทที่พนักงานต้องกักตัวตามคำสั่ง จะได้รับเงินชดเชยวันละ 100 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 2,300 บาท) หลังจากพนักงานครบกำหนดระยะเวลา Quarantine

– คนขับแท็กซี่และรถเช่าส่วนบุคคล ที่ถูกสั่งให้กักตัว (Quarantine Order) จะได้รับเงินชดเชยอย่างน้อย 400 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 9,200 บาท) พร้อมยกเว้นค่าเช่าแท็กซี่ 

– คนขับรถแท็กซี่และรถเช่าส่วนบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากจำนวนผู้ใช้บริการลดลง จะได้รับเงินชดเชยไม่เกิน 20 ดอลลาร์สิงคโปร์/คัน/วัน (ราว 460 บาท) เป็นเวลา 3 เดือน

– คนที่มีอาชีพรับจ้างทั่วไป ที่เป็นผู้อยู่อาศัยถาวรและเป็นพลเมืองของสิงคโปร์ จะได้รับเงินชดเชยวันละ 100 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 2,300 บาท)
– สนับสนุนเงินค่าไฟฟ้าและน้ำประปา เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 เท่าตามขนาดของครัวเรือน (โครงการ USave rebates เป็นมาตรการที่มีอยู่แล้ว แต่เพิ่มมูลค่าเงินสนับสนุน)– เดือนเมษายน 2563 รัฐบาลช่วยทุกบริษัทจ่ายเงินเดือนพนักงาน 75% แต่สูงสุดไม่เกินคนละ 3,450 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 79,000 บาท)
          
– เดือนพฤษภาคม-ธันวาคม 2563 รัฐจะช่วยจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 25-75% ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ เช่น ธุรกิจการบินและท่องเที่ยว ได้รับ 75%, ธุรกิจอาหาร ได้รับ 50%, อุตสาหกรรมอื่นๆ ได้รับ 25%
แจกเงิน
  • ผู้ที่มีอายุ 21 ปีขึ้นไป และมีรายได้น้อยกว่า 28,000 ดอลลาร์สิงคโปร์/ปี (ราว 644,000 บาท) จะได้รับเงินช่วยเหลือ 1,200 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 27,600 บาท) 
  • คนที่มีรายได้ 28,000-100,000 ดอลลาร์สิงคโปร์/ปี (ราว 644,000-2,300,000 บาท) จะได้รับเงินช่วยเหลือ 900 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 20,700 บาท) 
  • คนที่มีรายได้มากกว่า 100,000 ดอลลาร์สิงคโปร์/ปี (ราว 2,300,000 บาท) หรือเป็นเจ้าของอสังหาฯ มากกว่า 1 แห่ง จะได้รับเงินช่วยเหลือ 600 ดอลลาร์สิงคโปร์  
  • สำหรับคนที่มีลูกอายุต่ำกว่า 21 ปี จะได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มอีก 300 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 6,900 บาท)
  • ผู้สูงอายุ (มากกว่า 50 ปีขึ้นไป) จะได้รับการเติมเงินในบัตร PAssion 100 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 2,300 บาท) เพื่อใช้ซื้อสินค้าที่ซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าในเครือข่าย
  • ผู้มีรายได้น้อยจะได้เงินอุดหนุนและคูปองซื้ออาหารเพิ่ม 100 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 2,300 บาท)
เงินอุดหนุน-ชดเชย
  • พนักงานของบริษัทที่ต้องกักตัวจะถือว่าเป็นการลาป่วยพิเศษและได้รับเงินเดือน
  • บริษัทที่พนักงานต้องกักตัวตามคำสั่ง จะได้รับเงินชดเชยวันละ 100 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 2,300 บาท) หลังจากพนักงานครบกำหนดระยะเวลา Quarantine
  • คนขับแท็กซี่และรถเช่าส่วนบุคคล ที่ถูกสั่งให้กักตัว (Quarantine Order) จะได้รับเงินชดเชยอย่างน้อย 400 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 9,200 บาท) พร้อมยกเว้นค่าเช่าแท็กซี่ 
  • คนขับรถแท็กซี่และรถเช่าส่วนบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากจำนวนผู้ใช้บริการลดลง จะได้รับเงินชดเชยไม่เกิน 20 ดอลลาร์สิงคโปร์/คัน/วัน (ราว 460 บาท) เป็นเวลา 3 เดือน
  • คนที่มีอาชีพรับจ้างทั่วไป ที่เป็นผู้อยู่อาศัยถาวรและเป็นพลเมืองของสิงคโปร์ จะได้รับเงินชดเชยวันละ 100 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 2,300 บาท)
เยียวยา
  • สนับสนุนเงินค่าไฟฟ้าและน้ำประปา เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 เท่าตามขนาดของครัวเรือน (โครงการ USave rebates เป็นมาตรการที่มีอยู่แล้ว แต่เพิ่มมูลค่าเงินสนับสนุน)
ภาคธุรกิจ
  • เดือนเมษายน 2563 รัฐบาลช่วยทุกบริษัทจ่ายเงินเดือนพนักงาน 75% แต่สูงสุดไม่เกินคนละ 3,450 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 79,000 บาท)
  • เดือนพฤษภาคม-ธันวาคม 2563 รัฐจะช่วยจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน 25-75% ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ เช่น ธุรกิจการบินและท่องเที่ยว ได้รับ 75%, ธุรกิจอาหาร ได้รับ 50%, อุตสาหกรรมอื่นๆ ได้รับ 25%

ฟิลิปปินส์

แจกเงินเงินอุดหนุน-ชดเชยเยียวยาภาคธุรกิจ
แจกเงินกลุ่มผู้มีรายได้น้อย 18 ล้านครัวเรือน จำนวน 5,000-8,000 เปโซฟิลิปปินส์ (ราว 3,200-5,000 บาท) เป็นเวลา 2 เดือน รวมถึงกลุ่มคนไร้บ้าน ครอบครัวที่มีคนว่างงาน ผู้สูงอายุ ครอบครัวเล็ก ผู้พิการ ผู้ตั้งครรภ์และต้องหยุดงานเพื่อให้นมบุตร– สนับสนุนค่าจ้าง และสนับสนุนด้านการเงินให้แก่แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19– จัดสรรงบประมาณเพื่อช่วยเหลือแรงงานที่ตกงานและได้รับผลกระทบผ่านการเพิ่มทักษะ รวมทั้งมีคอร์สเรียนฟรีผ่านมือถือและคอมพิวเตอร์ 

– จัดสรรสินเชื่อภายใต้โครงการของ Government Service Insurance System (GSIS) ให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงผู้เกษียณที่ได้รับผลกระทบ
แจกเงิน
  • แจกเงินกลุ่มผู้มีรายได้น้อย 18 ล้านครัวเรือน จำนวน 5,000-8,000 เปโซฟิลิปปินส์ (ราว 3,200-5,000 บาท) เป็นเวลา 2 เดือน รวมถึงกลุ่มคนไร้บ้าน ครอบครัวที่มีคนว่างงาน ผู้สูงอายุ ครอบครัวเล็ก ผู้พิการ ผู้ตั้งครรภ์และต้องหยุดงานเพื่อให้นมบุตร
เงินอุดหนุน-ชดเชย
  • สนับสนุนค่าจ้าง และสนับสนุนด้านการเงินให้แก่แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
เยียวยา
  • จัดสรรงบประมาณเพื่อช่วยเหลือแรงงานที่ตกงานและได้รับผลกระทบผ่านการเพิ่มทักษะ รวมทั้งมีคอร์สเรียนฟรีผ่านมือถือและคอมพิวเตอร์ 
  • จัดสรรสินเชื่อภายใต้โครงการของ Government Service Insurance System (GSIS) ให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงผู้เกษียณที่ได้รับผลกระทบ

อิตาลี

แจกเงินเงินอุดหนุน-ชดเชยเยียวยาภาคธุรกิจ
– จ่ายค่าชดเชย 50%ของเงินเดือนให้พ่อแม่ที่ใช้สิทธิลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร (parental leave) สำหรับครอบครัวที่มีเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี

– แจกคูปองให้ลูกจ้างในภาคการท่องเที่ยว คนละ 600 ยูโร (ราว 21,300 บาท)
– สนับสนุนค่าจ้าง และสนับสนุนด้านการเงินให้แก่แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19– เลื่อนจ่ายค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซ รวมทั้งค่าเช่าที่อยู่อาศัยของครัวเรือนออกไป

– ลดหย่อนภาษีและเลื่อนการจ่ายเบี้ยประกันให้กับผู้มีรายได้รวมต่ำกว่า 2 ล้านยูโร/ปี รวมถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการปิดเมือง
– ลดหย่อนภาษีให้กับธุรกิจที่มีรายได้รวมต่ำกว่า 2 ล้านยูโร/ปี รวมทั้งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการปิดเมือง 

– อนุญาตให้พักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยถึงวันที่ 30 กันยายน 2563

 – จัดสรรงบประมาณมูลค่ากว่า 4 พันล้านยูโร ให้แก่หน่วยงาน SACE (State-owned Export Credit Agency) เพื่อสนับสนุนธุรกิจส่งออกและขาดสภาพคล่อง
แจกเงิน
  • จ่ายค่าชดเชย 50%ของเงินเดือนให้พ่อแม่ที่ใช้สิทธิลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร (parental leave) สำหรับครอบครัวที่มีเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี
  • แจกคูปองให้ลูกจ้างในภาคการท่องเที่ยว คนละ 600 ยูโร (ราว 21,300 บาท)
เงินอุดหนุน-ชดเชย
  • สนับสนุนค่าจ้าง และสนับสนุนด้านการเงินให้แก่แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
เยียวยา
  • เลื่อนจ่ายค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซ รวมทั้งค่าเช่าที่อยู่อาศัยของครัวเรือนออกไป
  • ลดหย่อนภาษีและเลื่อนการจ่ายเบี้ยประกันให้กับผู้มีรายได้รวมต่ำกว่า 2 ล้านยูโร/ปี รวมถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการปิดเมือง
ภาคธุรกิจ
  • ลดหย่อนภาษีให้กับธุรกิจที่มีรายได้รวมต่ำกว่า 2 ล้านยูโร/ปี รวมทั้งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการปิดเมือง 
  • อนุญาตให้พักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยถึงวันที่ 30 กันยายน 2563
  • จัดสรรงบประมาณมูลค่ากว่า 4 พันล้านยูโร ให้แก่หน่วยงาน SACE (State-owned Export Credit Agency) เพื่อสนับสนุนธุรกิจส่งออกและขาดสภาพคล่อง

สเปน

แจกเงินเงินอุดหนุน-ชดเชยเยียวยาภาคธุรกิจ
– จ่ายเงินให้พนักงานบริษัทที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 75% ของเงินเดือน
ภาคธุรกิจ
– ช่วยเหลือค่าไฟฟ้า ประปา อินเทอร์เน็ต และค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ให้บริการทั่วถึงแก่ประชาชนทุกคน
 
– ลดหย่อนภาษีให้กับผู้ที่ตกงานหรือผู้ที่มีอาชีพรับจ้างทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
– รัฐบาลสเปนช่วยจ่ายเงินสมทบประกันสังคมให้พนักงานแทนบริษัทที่เป็น SMEs เต็มจำนวน แต่กรณีที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่กว่า SMEs รัฐบาลจะจ่ายให้ในสัดส่วน 75%
เงินอุดหนุน-ชดเชย
  • จ่ายเงินให้พนักงานบริษัทที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 75% ของเงินเดือนภาคธุรกิจ
เยียวยา
  • ช่วยเหลือค่าไฟฟ้า ประปา อินเทอร์เน็ต และค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ให้บริการทั่วถึงแก่ประชาชนทุกคน
  • ลดหย่อนภาษีให้กับผู้ที่ตกงานหรือผู้ที่มีอาชีพรับจ้างทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
ภาคธุรกิจ
  • รัฐบาลสเปนช่วยจ่ายเงินสมทบประกันสังคมให้พนักงานแทนบริษัทที่เป็น SMEs เต็มจำนวน แต่กรณีที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่กว่า SMEs รัฐบาลจะจ่ายให้ในสัดส่วน 75%

เยอรมนี

แจกเงินเงินอุดหนุน-ชดเชยเยียวยาภาคธุรกิจ
– รัฐบาลจ่ายเงินค่าจ้างบางส่วนให้พนักงานที่สูญเสียรายได้จากชั่วโมงการทำงานที่ลดลง และหากพนักงานมีบุตร จะได้เงินสนับสนุน 67%  ครอบคลุมทั้งพนักงานประจำและพนักงานชั่วคราว (temporary worker) – รัฐบาลช่วยจ่ายเงินสมทบประกันสังคมเต็มจำนวนให้พนักงานจนถึงสิ้นปี 2564 จากเดิมกำหนดให้บริษัทเอกชนต้องเป็นผู้จ่ายให้พนักงาน
          
– รัฐบาลท้องถิ่น (state government) อาทิ แคว้นบาวาเรีย มีแผนการจ่ายเงินโดยตรงให้แก่ SMEs รายเล็ก เพื่อเยียวยาผลกระทบอย่างเร่งด่วน เป็นเงินจำนวน 5,000-30,000 ยูโร/ราย (ราว 178,000-1,070,000 บาท)

 – ปรับกฎเกณฑ์ทางภาษีให้ยืดหยุ่นขึ้น อาทิ อนุมัติให้บริษัทเอกชนที่ได้รับผลกระทบเลื่อนการจ่ายภาษีออกไปได้ และไม่คิดเบี้ยปรับภาษีจนถึงสิ้นปี 2563

– สนับสนุนสภาพคล่องให้กับบริษัทเอกชน โดยผ่อนคลายกฎเกณฑ์ของโครงการปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัทเอกชน และโครงการปล่อยสินเชื่อให้กับ start-up ที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี
เงินอุดหนุน-ชดเชย
  • รัฐบาลจ่ายเงินค่าจ้างบางส่วนให้พนักงานที่สูญเสียรายได้จากชั่วโมงการทำงานที่ลดลง และหากพนักงานมีบุตร จะได้เงินสนับสนุน 67%  ครอบคลุมทั้งพนักงานประจำและพนักงานชั่วคราว (temporary worker)
ภาคธุรกิจ
  •  รัฐบาลช่วยจ่ายเงินสมทบประกันสังคมเต็มจำนวนให้พนักงานจนถึงสิ้นปี 2564 จากเดิมกำหนดให้บริษัทเอกชนต้องเป็นผู้จ่ายให้พนักงาน
  • รัฐบาลท้องถิ่น (state government) อาทิ แคว้นบาวาเรีย มีแผนการจ่ายเงินโดยตรงให้แก่ SMEs รายเล็ก เพื่อเยียวยาผลกระทบอย่างเร่งด่วน เป็นเงินจำนวน 5,000-30,000 ยูโร/ราย (ราว 178,000-1,070,000 บาท)
  • ปรับกฎเกณฑ์ทางภาษีให้ยืดหยุ่นขึ้น อาทิ อนุมัติให้บริษัทเอกชนที่ได้รับผลกระทบเลื่อนการจ่ายภาษีออกไปได้ และไม่คิดเบี้ยปรับภาษีจนถึงสิ้นปี 2563
  • สนับสนุนสภาพคล่องให้กับบริษัทเอกชน โดยผ่อนคลายกฎเกณฑ์ของโครงการปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัทเอกชน และโครงการปล่อยสินเชื่อให้กับ start-up ที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี

ฝรั่งเศส

แจกเงินเงินอุดหนุน-ชดเชยเยียวยาภาคธุรกิจ
– ครอบครัวได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมอีกครอบครัวละ 150 ยูโร (ราว 5,300 บาท) และอีก 100 ยูโร (ราว 3,500 บาท) ต่อบุตร 1 คน
          
– ครอบครัวที่ได้รับเงินช่วยเหลือเกี่ยวกับที่พักอาศัย หรือเงินช่วยเหลือผู้พิการ จะได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก 100 ยูโร (ราว 3,500 บาท)

 – กรณีสูญเสียรายได้จากชั่วโมงการทำงานที่ลดลง จะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลในสัดส่วนที่มากขึ้น โดยครอบคลุมทั้งพนักงานประจำและพนักงานชั่วคราว
 – อนุญาตให้บริษัทที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เลื่อนการจ่ายเงินสมทบประกันสังคม และการจ่ายภาษี
 
 – บริษัทที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สามารถแสดงความจำนงเพื่อขอภาษีคืนได้

 – ไม่มีบทลงโทษสำหรับบริษัทที่ได้รับผลกระทบ หากเกิดการผิดนัดชำระหนี้กับคู่สัญญาที่เป็นรัฐ
เงินอุดหนุน-ชดเชย
  • ครอบครัวได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมอีกครอบครัวละ 150 ยูโร (ราว 5,300 บาท) และอีก 100 ยูโร (ราว 3,500 บาท) ต่อบุตร 1 คน
  • ครอบครัวที่ได้รับเงินช่วยเหลือเกี่ยวกับที่พักอาศัย หรือเงินช่วยเหลือผู้พิการ จะได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก 100 ยูโร (ราว 3,500 บาท)
  • กรณีสูญเสียรายได้จากชั่วโมงการทำงานที่ลดลง จะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลในสัดส่วนที่มากขึ้น โดยครอบคลุมทั้งพนักงานประจำและพนักงานชั่วคราว
ภาคธุรกิจ
  • อนุญาตให้บริษัทที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เลื่อนการจ่ายเงินสมทบประกันสังคม และการจ่ายภาษี
  • บริษัทที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สามารถแสดงความจำนงเพื่อขอภาษีคืนได้
  • ไม่มีบทลงโทษสำหรับบริษัทที่ได้รับผลกระทบ หากเกิดการผิดนัดชำระหนี้กับคู่สัญญาที่เป็นรัฐ

อังกฤษ

แจกเงินเงินอุดหนุน-ชดเชยเยียวยาภาคธุรกิจ
– ชดเชยรายได้ให้ลูกจ้างที่ต้องกักตัว 14 วัน หรือป่วยโควิด-19 สัปดาห์ละ 95.85 ปอนด์ (ราว 3,900 บาท) สูงสุด 28 สัปดาห์– อนุโลมให้ผู้เช่าที่อยู่อาศัยจ่ายค่าเช่าบ้านได้ต่ำสุดที่ 30% ของค่าเช่าบ้านในแต่ละเขต มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563

– หากกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สามารถขอยกเว้นการผ่อนชำระได้ 3 เดือน


– เลื่อนการจ่ายภาษีให้บุคคลที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

 – หากยื่นภาษีจะได้รับคืนภาษีเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 20 ปอนด์ (ราว 1,040 ปอนด์/ปี)
– รัฐช่วยจ่ายเงินเดือนแทนนายจ้างที่ถูกพักงาน หรือปิดกิจการจากโควิด-19 สูงสุด 80% ของเงินเดือนที่เคยได้ แต่ไม่เกิน 2,500 ปอนด์ (ราว 100,000 บาท) เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่มีนาคม-พฤษภาคม 2563

– สนับสนุนเงินทุนให้ธนาคารพาณิชย์ เพื่อกระตุ้นให้ปล่อยสินเชื่อกับกลุ่ม SMEs
 
 – ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ จาก 1% เป็น 0% เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีความสามารถในการปล่อยสินเชื่อมากยิ่งขึ้น

– ช่วยเหลือภาคธุรกิจขนาดเล็ก โดยการยกเว้นค่าธรรมเนียม 1 ปี, ให้เงิน 3,000 ปอนด์ (ราว 120,000 บาท) กับธุรกิจขนาดเล็กประมาณ 7 แสนบริษัท  
          
– ยกเว้น business rate tax เป็นเวลา 1 ปี

– เลื่อนการจ่ายภาษี VAT ของภาคธุรกิจและภาษีรายได้ออกไป
เงินอุดหนุน-ชดเชย
  • ชดเชยรายได้ให้ลูกจ้างที่ต้องกักตัว 14 วัน หรือป่วยโควิด-19 สัปดาห์ละ 95.85 ปอนด์ (ราว 3,900 บาท) สูงสุด 28 สัปดาห์
เยียวยา
  • อนุโลมให้ผู้เช่าที่อยู่อาศัยจ่ายค่าเช่าบ้านได้ต่ำสุดที่ 30% ของค่าเช่าบ้านในแต่ละเขต มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563
  • หากกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สามารถขอยกเว้นการผ่อนชำระได้ 3 เดือน
  • เลื่อนการจ่ายภาษีให้บุคคลที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
  • หากยื่นภาษีจะได้รับคืนภาษีเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 20 ปอนด์ (ราว 1,040 ปอนด์/ปี)
ภาคธุรกิจ
  • รัฐช่วยจ่ายเงินเดือนแทนนายจ้างที่ถูกพักงาน หรือปิดกิจการจากโควิด-19 สูงสุด 80% ของเงินเดือนที่เคยได้ แต่ไม่เกิน 2,500 ปอนด์ (ราว 100,000 บาท) เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่มีนาคม-พฤษภาคม 2563
  • สนับสนุนเงินทุนให้ธนาคารพาณิชย์ เพื่อกระตุ้นให้ปล่อยสินเชื่อกับกลุ่ม SMEs
  • ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ จาก 1% เป็น 0% เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีความสามารถในการปล่อยสินเชื่อมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยเหลือภาคธุรกิจขนาดเล็ก โดยการยกเว้นค่าธรรมเนียม 1 ปี, ให้เงิน 3,000 ปอนด์ (ราว 120,000 บาท) กับธุรกิจขนาดเล็กประมาณ 7 แสนบริษัท  
  • ยกเว้น business rate tax เป็นเวลา 1 ปี
  • เลื่อนการจ่ายภาษี VAT ของภาคธุรกิจและภาษีรายได้ออกไป

สหรัฐอเมริกา

แจกเงินเงินอุดหนุน-ชดเชยเยียวยาภาคธุรกิจ
– คนโสดที่มีรายได้น้อยกว่า 75,000 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี (ราว 2.4 ล้านบาท) จะได้รับเงินจากรัฐบาล 1,200 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 38,400 บาท)
 
– คนโสดที่มีรายได้ 75,001- 99,999 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี ได้รับเงินลดหลั่นลงมา
          
– ครอบครัวที่มีรายได้น้อยกว่า 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี (ราว 4.8 ล้านบาท) ได้รับเงิน 2,400 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 38,400 บาท)  

– ครอบครัวที่มีลูกอายุต่ำกว่า 17 ปี จะได้รับเพิ่ม 500 ดอลลาร์สหรัฐ/คน (ราว 16,000 บาท)
 
– คนว่างงานจะได้รับเพิ่มอีก 600 ดอลลาร์สหรัฐ/สัปดาห์ เป็นเวลา 4 เดือน (ราว 19,200 บาท/สัปดาห์)

– แจกเงิน 1,500 ดอลลาร์สหรัฐ/คน (ราว 48,000 บาท) ให้กับทุกคนที่มีหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
– พักชำระหนี้เพื่อการศึกษาได้ถึงวันที่ 30 กันยายน 2563

– ถ้าต้องลาป่วยเพราะโควิด-19 เป็นเวลา 2 สัปดาห์ จะได้รับค่าจ้างตามปกติ ถ้า 10 สัปดาห์ จะได้รับค่าจ้าง 2 ใน 3

– ขยายระยะเวลาการชำระภาษีเงินได้ประจำปี 2562 ออกไป 3 เดือน จากวันที่ 15 เมษายน 2563 เป็น 15 กรกฎาคม 2563 สำหรับยอดการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ไม่เกิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ไม่เกิน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
– จัดสรรเงินกู้วงเงิน 3.67 แสนล้านดอลลาร์ ให้กับธุรกิจ SMEs

 – รับซื้อตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้นที่มีอายุน้อยกว่า 270 วัน (Commercial Paper) เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
แจกเงิน
  • คนโสดที่มีรายได้น้อยกว่า 75,000 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี (ราว 2.4 ล้านบาท) จะได้รับเงินจากรัฐบาล 1,200 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 38,400 บาท)
  • คนโสดที่มีรายได้ 75,001- 99,999 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี ได้รับเงินลดหลั่นลงม
  • ครอบครัวที่มีรายได้น้อยกว่า 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี (ราว 4.8 ล้านบาท) ได้รับเงิน 2,400 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 38,400 บาท)  
  • ครอบครัวที่มีลูกอายุต่ำกว่า 17 ปี จะได้รับเพิ่ม 500 ดอลลาร์สหรัฐ/คน (ราว 16,000 บาท)
  • คนว่างงานจะได้รับเพิ่มอีก 600 ดอลลาร์สหรัฐ/สัปดาห์ เป็นเวลา 4 เดือน (ราว 19,200 บาท/สัปดาห์)
  • แจกเงิน 1,500 ดอลลาร์สหรัฐ/คน (ราว 48,000 บาท) ให้กับทุกคนที่มีหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
เยียวยา
  • พักชำระหนี้เพื่อการศึกษาได้ถึงวันที่ 30 กันยายน 2563
  • ถ้าต้องลาป่วยเพราะโควิด-19 เป็นเวลา 2 สัปดาห์ จะได้รับค่าจ้างตามปกติ ถ้า 10 สัปดาห์ จะได้รับค่าจ้าง 2 ใน 3
  • ขยายระยะเวลาการชำระภาษีเงินได้ประจำปี 2562 ออกไป 3 เดือน จากวันที่ 15 เมษายน 2563 เป็น 15 กรกฎาคม 2563 สำหรับยอดการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ไม่เกิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ไม่เกิน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ภาคธุรกิจ
  • จัดสรรเงินกู้วงเงิน 3.67 แสนล้านดอลลาร์ ให้กับธุรกิจ SMEs
  • รับซื้อตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้นที่มีอายุน้อยกว่า 270 วัน (Commercial Paper) เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้

ออสเตรเลีย

แจกเงินเงินอุดหนุน-ชดเชยเยียวยาภาคธุรกิจ
– แจกเงินให้ผู้มีรายได้น้อย ผู้พิการ ผู้รับเงินบำนาญ จำนวน 750 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 15,000 บาท) 
        
 – แจกเงิน 550 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 11,000 บาท) ทุก 15 วัน ให้กับคนตกงาน เกษตรกร ฯลฯ เป็นระยะเวลา 6 เดือน
– อนุญาตให้ถอนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อการเกษียณอายุได้ก่อนกำหนด 20,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 400,000 บาท) โดยไม่ต้องเสียภาษี
          
– ผ่อนคลายเกณฑ์กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและประกันสังคม
– รัฐบาลช่วยจ่ายเงินเดือนให้พนักงานคนละ 1,500 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 30,000 บาท) ทุก 2 สัปดาห์ สูงสุด 6 เดือน โดยบริษัทนั้นต้องมีรายได้ไม่เกิน 1,000 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย และต้องมีรายได้ลดลงอย่างน้อย 30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่หากเป็นบริษัทที่มีรายได้เกิน 1,000 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย จะต้องมีรายได้ลดลงอย่างน้อย 50%
         
 – ค้ำประกันสินเชื่อ SMEs ให้ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จำนวน 50% ของวงเงินสินเชื่อ พร้อมทั้งเร่งกระบวนการพิจารณาสินเชื่อให้เร็วขึ้น
          
– ให้เงินช่วยเหลืออุตสาหกรรมการบิน (สายการบินและสนามบิน)
แจกเงิน
  • แจกเงินให้ผู้มีรายได้น้อย ผู้พิการ ผู้รับเงินบำนาญ จำนวน 750 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 15,000 บาท) 
  • แจกเงิน 550 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 11,000 บาท) ทุก 15 วัน ให้กับคนตกงาน เกษตรกร ฯลฯ เป็นระยะเวลา 6 เดือน
เงินอุดหนุ-ชดเชย
  • อนุญาตให้ถอนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อการเกษียณอายุได้ก่อนกำหนด 20,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 400,000 บาท) โดยไม่ต้องเสียภาษี
  • ผ่อนคลายเกณฑ์กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและประกันสังคม
ภาคธุรกิจ
  • รัฐบาลช่วยจ่ายเงินเดือนให้พนักงานคนละ 1,500 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 30,000 บาท) ทุก 2 สัปดาห์ สูงสุด 6 เดือน โดยบริษัทนั้นต้องมีรายได้ไม่เกิน 1,000 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย และต้องมีรายได้ลดลงอย่างน้อย 30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่หากเป็นบริษัทที่มีรายได้เกิน 1,000 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย จะต้องมีรายได้ลดลงอย่างน้อย 50%
  • ค้ำประกันสินเชื่อ SMEs ให้ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จำนวน 50% ของวงเงินสินเชื่อ พร้อมทั้งเร่งกระบวนการพิจารณาสินเชื่อให้เร็วขึ้น
  • ให้เงินช่วยเหลืออุตสาหกรรมการบิน (สายการบินและสนามบิน)

แคนาดา

แจกเงินเงินอุดหนุน-ชดเชยเยียวยาภาคธุรกิจ
– ผู้ที่ว่างงานจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 จะได้รับเงินช่วยเหลือเดือนละ 2,000 ดอลลาร์แคนาดา (ราว 46,000 บาท) เป็นเวลา 4 เดือน– ผ่อนผันการชำระสินเชื่อที่อยู่อาศัย
          
– เลื่อนจ่ายหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษาให้ทุกคนโดยอัตโนมัติ ไปจนถึง 30 กันยายน 2563
– รัฐบาลช่วยจ่ายค่าจ้าง 75% เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม – 6 มิถุนายน 2563 โดยจะจ่ายให้ไม่เกิน 847 ดอลลาร์แคนาดา/สัปดาห์ (ราว 20,000 บาท) สำหรับบริษัทหรือองค์กรที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เท่านั้น และต้องเป็นบริษัทที่มีรายได้ลดลงอย่างน้อย 30% เมื่อเทียบกับปีก่อน
         
 – เลื่อนการจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปี 2562 ไปจนถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2563 
         
 – เลื่อนชำระภาษีไปจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563
แจกเงิน
  • ผู้ที่ว่างงานจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 จะได้รับเงินช่วยเหลือเดือนละ 2,000 ดอลลาร์แคนาดา (ราว 46,000 บาท) เป็นเวลา 4 เดือน
เยียวยา
  • ผ่อนผันการชำระสินเชื่อที่อยู่อาศัย
  • เลื่อนจ่ายหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษาให้ทุกคนโดยอัตโนมัติ ไปจนถึง 30 กันยายน 2563
ภาคธุรกิจ
  • รัฐบาลช่วยจ่ายค่าจ้าง 75% เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม – 6 มิถุนายน 2563 โดยจะจ่ายให้ไม่เกิน 847 ดอลลาร์แคนาดา/สัปดาห์ (ราว 20,000 บาท) สำหรับบริษัทหรือองค์กรที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เท่านั้น และต้องเป็นบริษัทที่มีรายได้ลดลงอย่างน้อย 30% เมื่อเทียบกับปีก่อน
  • เลื่อนการจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปี 2562 ไปจนถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2563 
  • เลื่อนชำระภาษีไปจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563

นิวซีแลนด์

แจกเงินเงินอุดหนุน-ชดเชยเยียวยาภาคธุรกิจ
นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีประกาศลดเงินเดือนตัวเองลง 20%– รัฐบาลช่วยนายจ้างจ่ายค่าจ้างให้พนักงานที่ทำงานในบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 และมีรายได้ลดลงอย่างน้อย 30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดังนี้
         
 – หากเป็นพนักงานประจำ (full-time) ซึ่งทำงานสัปดาห์ละ 20 ชั่วโมงขึ้นไป จะได้รับค่าจ้าง 585.80 ดอลลาร์นิวซีแลนด์/สัปดาห์ (ราว 11,500 บาท) เป็นเวลา 12 สัปดาห์

– หากเป็นพนักงานพาร์ตไทม์ (part-time) ซึ่งทำงานน้อยกว่าสัปดาห์ละ 20 ชั่วโมง จะได้รับค่าจ้าง 350 ดอลลาร์นิวซีแลนด์/สัปดาห์ (ราว 6,800 บาท) เป็นเวลา 12 สัปดาห์
เยียวยา
  • นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีประกาศลดเงินเดือนตัวเองลง 20%
ภาคธุกิจ
  • รัฐบาลช่วยนายจ้างจ่ายค่าจ้างให้พนักงานที่ทำงานในบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 และมีรายได้ลดลงอย่างน้อย 30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดังนี้
  • หากเป็นพนักงานประจำ (full-time) ซึ่งทำงานสัปดาห์ละ 20 ชั่วโมงขึ้นไป จะได้รับค่าจ้าง 585.80 ดอลลาร์นิวซีแลนด์/สัปดาห์ (ราว 11,500 บาท) เป็นเวลา 12 สัปดาห์
  • หากเป็นพนักงานพาร์ตไทม์ (part-time) ซึ่งทำงานน้อยกว่าสัปดาห์ละ 20 ชั่วโมง จะได้รับค่าจ้าง 350 ดอลลาร์นิวซีแลนด์/สัปดาห์ (ราว 6,800 บาท) เป็นเวลา 12 สัปดาห์

สนับสนุนโดย

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า