เทรนด์ครอบแก้วมาแรงในริโอ’ 2016

Cupping_results

สำหรับคอกีฬาโอลิมปิก ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นเทรนด์สุขภาพที่เกิดขึ้นในหมู่นักกีฬาชื่อดังจากทีมชาติสหรัฐ ไม่ว่าจะเป็น ไมเคิล เฟลพ์ส (Michael Phelps) นักว่ายน้ำเจ้าของ 19 เหรียญทองจากการเข้าแข่งขันโอลิมปิกมาแล้วห้าครั้ง หรือนักยิมนาสติก อเล็กซ์ แนดดอร์ (Alex Naddour) ขณะที่ในหมู่เซเล็บบริตีและดาราอาจจะเห็น เกวนเน็ต พัลโทรว มีรอยจ้ำกลมๆ แบบนี้มาตั้งแต่ปี 2004

ร่องรอยสีแดงคล้ำที่ปรากฏบนหลังและไหล่ของสองนักกีฬา เกิดจากการรักษาด้วยแพทย์แผนจีนที่เคยได้รับความนิยมในเมืองไทยมาพักใหญ่ๆ นั่นคือการครอบแก้ว (cupping) หรือครอบกระปุกเพื่อลดอาการปวดเมื่อยในตำแหน่งนั้นๆ แต่หลังจากทำแล้ว จะทิ้งรอยเป็นจ้ำกลมๆ แดงๆ ราวหนึ่งถึงสองสัปดาห์จึงจะจางหายไป ซึ่งการรักษาแบบนี้จะทำร่วมกับการฝังเข็ม

นอกจากเชื่อว่าการครอบแก้วจะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแล้ว ยังมีการกล่าวอ้างว่าการบำบัดด้วยวิธีนี้จะช่วยให้หายใจสะดวก การไหลเวียนของเลือดทำได้ดีขึ้น นอกจากนั้น ยังสามารถรักษาอาการผิวหนังอักเสบเรื้อรัง (eczema) และสิว รวมทั้งอาการไมเกรนได้

Cupping-2

แม้ว่าปัจจุบัน เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์การกีฬาจะเจริญรุดหน้าอย่างไร แต่การดูแลร่างกายด้วยแพทย์ทางเลือกยังคงได้รับความสนใจ โดยนักยิมนาสติกหนุ่มให้สัมภาษณ์ USAToday  ว่า การครอบแก้วสามารถป้องกันอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นกับเขาได้ และเขาค้นพบวิธีนี้จากเว็บไซต์ Amazon

ขณะที่ คีแนน โรบินสัน ผู้ฝึกสอนส่วนตัวของ ไมเคิล เฟลพ์ส ระบุว่า เขาเป็นคนทำครอบแก้วให้กับนักว่ายน้ำหนุ่ม และเห็นว่าเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้นักกีฬาฟื้นตัวหลังออกกำลังกาย

ดร.อะยาซ ฟาร์ฮัต ผู้ช่วยผู้อำนวยการ London Cupping Clinic ให้ข้อมูลว่า การบำบัดด้วยการครอบแก้วได้รับความนิยมในหมู่นักกีฬามานับสิบปี โดย หวัง ชุน (Wang Qun) นักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติจีนก็ทำแบบนี้มาตั้งแต่โอลิมปิกที่ปักกิ่งเมื่อปี 2008 หลังจากนั้น นักกีฬาระดับโลกหลายคนก็เริ่มสนใจและเข้ารับการบำบัดด้วยวิธีนี้ ไม่ว่าจะเป็น แอนดี เมอร์เรย์ นักเทนนิสชาวสก็อตเจ้าของสองแชมป์วิมเบิลดันติด และ ฟลอยด์ เมย์เวทเธอร์ นักมวยแชมป์โลกชาวอเมริกัน

แล้วในมุมผู้เชี่ยวชาญและนักวิทยาศาสตร์เห็นอย่างไร

เดวิด โคลฮูน (David Colquhoun) ผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชวิทยาแห่ง University College London ให้สัมภาษณ์ Independent ว่า การรักษาด้วยครอบแก้วยังไม่เคยมีการรับรองผลหรือมีงานวิจัยวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาด้านนี้โดยตรงแต่อย่างใด การบำบัดด้วยวิธีดังกล่าวมักจะเชื่อมโยงกับการฝังเข็ม แต่ไม่น่าจะช่วยบรรเทาอาการใดๆ ได้

 


อ้างอิงจาก:
independent.co.uk
usatoday.com
nytimes.com
bbc.co.uk

logo sponsor

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า