ความลับของอาหารลดราคา

reduced_items-01

 

ไม่ว่ารวยหรือจน แทบทุกคนชอบของลดราคาทั้งนั้น หลายคนอุทิศตนเป็น ‘นักคว้า’ รอเวลาซูเปอร์มาร์เก็ตแปะป้ายลดราคาอาหารที่ชอบ ก็พร้อมจะพุ่งตัวไปทันที

เพราะขึ้นชื่อว่าอาหารแล้ว การแปะว่าลดราคาไม่ได้หมายความว่าคุณค่าจะลดลง โอเค…ความอร่อยอาจจะลดลงไปบ้างตามความสดใหม่ แต่ความปลอดภัยและสารอาหารยังครบครัน และเมื่อถึงเวลา มันถูกแปะสติกเกอร์สีเหลืองเอาไว้ว่า 50 เปอร์เซ็นต์… เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม

แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าซูเปอร์มาร์เก็ตดังๆ เขาลดกันตอนไหน และควรซื้ออย่างไรให้ฉลาด มีตัวอย่างจากประเทศอังกฤษมาให้ดูเป็นแนวทาง

• ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่อย่าง เซนส์เบอรี (Sainsbury) มาร์คส์แอนด์สเปนเซอร์ (Marks and Spencer) และ เวทโรส (Waitrose) พบว่าเวลา 5 โมงเย็นถึง 1 ทุ่ม คือช่วงเวลาที่ดีที่สุด และจะได้ของดี ลดราคาถึง 75-90 เปอร์เซ็นต์

• สหกรณ์ชุมชนมักลดราคารอบแรกในช่วงบ่ายต้นๆ และรอบถัดไปในช่วงที่อาหารชนิดนั้นยังขายไม่ออกสักที

• มาร์คส์แอนด์สเปนเซอร์ จะลดราคาอาหารมากที่สุดถึงสามรอบ ขณะที่ มอร์ริสันส์ (Morrisons) และเทสโก (Tesco) ลดราคาหลายครั้งในรอบหนึ่งวัน

แล้วซูเปอร์มาร์เก็ตแต่ละที่จะมีวิธีการตัดสินใจแปะป้ายเหลืองลดราคาเมื่อไหร่ อย่างไร

คำตอบอยู่ที่ ‘ซัพพลายและดีมานด์’

 

reduced_items-02
ที่มา : southamptonoldlady.wordpress.com/tag/st-marys-southampton/

 

อย่างที่รู้กันดี ซูเปอร์มาร์เก็ตทุกแห่งจะวางอาหารสดใหม่ไว้ด้านหลังเชลฟ์ และจะผลักของที่เก่ากว่ามาวางขายด้านหน้า

ในมือพนักงานจะมีเครื่องสแกนบาร์โค้ด ซึ่งจะทำหน้าที่สองอย่างคือ 1.บอกว่ามีของเหลือกี่ชิ้น 2.ขายไปได้ในอัตราเร็วเท่าไหร่ ถ้ามันอยู่ในข่ายสต็อคที่ยังขายไม่ได้ สแกนเนอร์จะแนะนำว่าควรแปะป้ายลดราคา

นี่เป็นเหตุผลหนึ่งในการแปะป้ายลดราคา นอกจากนั้นคือ เมื่อล่วงเข้าช่วงเย็นแล้ว สแกนเนอร์บอกว่าสินค้าหรืออาหารชนิดนั้นขายได้ไม่ดี บางทีมองด้วยตาก็ได้

แต่ ทิม สมิธ ผู้อำนวยการฝ่ายคุณภาพของ Tesco ชี้ว่า ของที่อยากได้จะกลายเป็นของหายาก (rare item) เมื่อซูเปอร์มาร์เก็ตต้องลดราคาสินค้าหลายอย่าง

“เราเชื่อว่า ไม่ควรทิ้งอาหารปลอดภัย ชนิดไหนๆ ลงถังขยะทั้งนั้น ดังนั้นเราจึงใส่ใจในการสั่งสินค้าในปริมาณที่เหมาะกับร้าน/สาขา”

ในวันนี้  ‘การลดปริมาณขยะ’ คือภารกิจหลักของซูเปอร์มาร์เก็ตอังกฤษทุกที่ แต่ถ้าป้ายเหลืองไม่ได้ช่วยทำให้สินค้าขายออกได้หมด ก็ไม่มีความจำเป็นในการโยนอาหารชนิดนั้นลงถังขยะแต่อย่างใด

ยกตัวอย่างที่เทสโก ที่ตั้งเป้าไว้ว่าการทิ้งอาหารจะต้องเท่ากับศูนย์ภายในปี 2017 จะใช้แอพพลิเคชั่นทำงานร่วมกับองค์กรการกุศลท้องถิ่น เพื่อประสานงานการบริจาคอาหาร

ด้านซูเปอร์มาร์เก็ตมอร์ริสันส์  ก็บริจาคอาหารเดือนละ 200,000 ชิ้นให้กับองค์กรการุกศล ส่วนมาร์คส์แอนด์สเปนเซอร์เผยว่าถ้าไม่สามารถทิ้งอาหารได้ อาหารจะถูกนำเข้าสู่กระบวนการย่อยแบบไม่ใช้ออกซิเจน เปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงาน

“กรณีนี้คุณกำลังมองหาตัวช่วยที่ทำให้คุณประหยัดไป 1 หรือ 2 ปอนด์ ซึ่งมันจะไม่เหมือนการซื้อช่วงเซลส์ซึ่งจะประหยัดไปได้ถึง 200 ปอนด์ในบางที” แอนดี เว็บบ์ จาก becleverwithyourcash.com เปรียบเทียบ

“แต่ทุกคนก็ชอบต่อรองราคาใช่มั้ยล่ะ สักนิดก็ยังดี” แอนดีทิ้งท้ายด้วยทิปส์เล็กๆ น้อยๆ สำหรับขาประจำป้ายเหลืองอีกว่า

“สิ่งสำคัญที่สุดคือ อย่าซื้อเพียงเพราะมันลดราคา ราคาจะลดจริงๆ ก็ต่อเมื่อเป็นสิ่งที่เราต้องการ”


ที่มา: bbc.com

 

2016-10-19-new-banner

 

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า