‘ร่าง พ.ร.บ.ยาใหม่’ อย่ามองข้าม พ.ร.บ.ยาฉบับประชาชน

prescription02

 

กพย.ห่วงร่าง พ.ร.บ. ยา ฉบับใหม่ เหตุขาดการรับฟังความเห็น การมีส่วนร่วมภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง หลังบังคับใช้อาจสร้างปัญหา ไม่คุ้มครองประชาชนเท่าที่ควร แนะนำร่างพ.ร.บ.ยาฉบับประชาชน ใช้เป็นหลักการเพื่อจัดทำร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่จะดีกว่า

ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการคัดค้านร่าง พ.ร.บ. ยา พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เตรียมที่จะเสนอร่าง พ.ร.บ. ยา พ.ศ. …. ฉบับใหม่ เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ภายหลังผ่านการแก้ไขและพิจารณาของทางคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยมองว่ากระบวนการดำเนินการของทาง อย.มีความเร่งรีบ ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีกระบวนการเปิดรับฟังความเห็น ทั้งที่ต้องดำเนินการตั้งแต่เริ่มแรก จนกระทั่งผ่านการพิจารณาชั้นกฤษฎีกา

ทั้งยังไม่มีการเปิดเผย ซึ่งที่ผ่านมาทาง กพย. ได้ขอร่าง พ.ร.บ. ยา พ.ศ. … ที่ทางกฤษฏีกาพิจารณาก็ยังไม่ได้รับ ทำให้เกิดความกังวล ทั้งนี้เท่าที่ทราบ เห็นว่า ร่าง พ.ร.บ. ยา ฉบับใหม่นี้ มีข้อบกพร่องค่อนข้างมาก ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อคัดค้าน โดยเฉพาะจากทางกลุ่มเภสัชกรรม

รศ.ดร.นิยดา กล่าวว่า ประเด็นที่ทุกฝ่ายต่างเป็นห่วง ได้แก่ การควบคุมการส่งเสริมการขายยา ที่กำหนดแบบหลวมๆ คับแคบ ไม่รัดกุม โดยนำไปไว้รวมกับหมวดควบคุมการโฆษณา การอนุญาตให้ต่ออายุทะเบียนตำรับยาโดยไม่มีการทบทวนทะเบียนตำรับยา การยกเว้นให้ผู้ประกอบวิชาชีพผสมยาได้ไม่ต้องขึ้นทะเบียนตำรับยา, การไม่มีข้อห้ามการผลิตและการขายยาชุด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ไม่กระทบแต่ผู้ที่อยู่ในวงวิชาชีพเท่านั้น แต่ยังกระทบต่อประโยชน์ในด้านสิทธิการคุ้มครองซึ่งอาจสร้างปัญหาตามมาได้

 

Front view portrait of pharmacist standing in front of table with tablets

 

 

“เดิมเคยมีการนำเสนอร่าง พรบ.ยา เพื่อปรับปรุงแก้ไขตั้งแต่เมื่อปี 2545 เนื่องจาก พ.ร.บ. ยา ปัจจุบันใช้มาตั้งแต่ปี 2510 ซึ่งถือว่าล้าสมัยมาก จำเป็นต้องมีการกำหนดขึ้นใหม่ แต่หลังจากนำเสนอไปแล้ว จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้า จนกระทั่งมีการนำเสนอ ร่าง พ.ร.บ .ยา ฉบับใหม่นี้ แต่ทั้งนี้ก็ควรจะทำให้ดีตั้งแต่แรกเริ่ม ไม่ใช่ปล่อยให้เกิดช่องว่างหรือปัญหาและมาปรับแก้ภายหลัง ซึ่งการแก้ไขกฎหมายเป็นที่ทราบว่ายุ่งยาก” ผู้จัดการแผนงานกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) เพิ่มเติม

ดร.ภญ.นิยดา  ย้ำว่า อย.ควรเปิดรับฟังความเห็นตั้งแต่แรก ไม่ใช่มารับฟังความเห็นหลังจากที่ผ่านกฤษฏีกาแล้ว อีกทั้งหากนำเข้า สนช. แม้ว่าจะปรับแก้ไข แต่เป็นการแก้ไขรายมาตรา อาจทำให้ไม่ได้เนื้อหาที่สมบูรณ์ และหลังบังคับใช้อาจเป็นปัญหาได้

อย่างไรก็ตาม ดร.ภญ.นิยดา ทิ้งท้ายว่า ขณะนี้ยังมีร่าง พ.ร.บ. ยา ฉบับประชาชน เป็นการจัดทำขึ้นโดยภาคประชาชนและนักวิชาการด้านยา ที่ครอบคลุมทุกด้าน มุ่งเน้นไปที่การคุ้มครองและดูแลประชาชนเป็นที่ตั้ง ซึ่งสามารถใช้เป็นหลักในการจัดทำร่าง พ.ร.บ. ยา ได้

 

 

logo

Author

WAY

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า