ศาลเยอรมันให้นิยาม แฮงก์โอเวอร์=ป่วย

เทศกาลเบียร์ Oktoberfest เริ่มต้นขึ้นแล้วที่มิวนิค แน่นอนว่าผู้คนที่หลั่งไหลไปรวมกันต้อง ‘ดื่ม’ – ดื่มในหลายนิยาม ดื่มแบบกรึ่มๆ ดื่มแบบสนุกสนาน ดื่มแบบเคลิบเคลิ้ม เมา ปิดท้ายที่มึนงง ปวดหัว อ้วก ภาพเริ่มตัดหาย แฮงก์โอเวอร์

ภาวะ ‘แฮงก์’ ไม่ใช่เรื่องพึงประสงค์สำหรับใครๆ จึงมีผลิตภัณฑ์ทั้งเครื่องดื่มและสารเสริมอาหารออกมามากมายที่แปะป้ายคุณสมบัติว่า ‘แก้เมาค้าง’

วันจันทร์ที่ผ่านมา หลังจากเทศกาลเบียร์เริ่มต้น ศาลท้องถิ่นในเมืองแฟรงค์เฟิร์ตตัดสินให้คำนิยามการแฮงก์โอเวอร์ว่าเท่ากับ ‘การป่วยไข้’ อย่างหนึ่ง

เปล่า ไม่ได้ทำให้คนที่เมาหัวราน้ำทำให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น และสามารถอ้างได้ว่า “อ๋อ ผมไม่ได้เมา จริงๆ นี่มันอาการไม่สบายชัดๆ”

เรื่องนี้เกิดเพราะมีการร้องเรียนมาว่า การอ้างอิงคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหลังการดื่มหนักว่าสามารถรักษาอาการเมาค้างได้นั้น เป็นเรื่องผิดกฎหมาย

Deutsche Welle (DW) สื่อเยอรมัน รายงานคำตัดสินของศาลในแฟรงค์เฟิร์ตถึงการให้นิยามความป่วยไข้ไม่สบายว่า “…แม้จะเป็นอาการผิดจากปกติหรือผิดจากกิจกรรมธรรมดาของร่างกายเพียงเล็กน้อยชั่วครั้งชั่วคราวก็ตาม”

เมื่อการเมาค้างถูกระบุให้เป็น ‘อาการป่วย’ บริษัทผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแก้แฮงก์จึงไม่สามารถอ้างว่าผลิตภัณฑ์ของตนเองมีคุณสมบัติ ‘รักษา’ อาการเกี่ยวเนื่องจากการแฮงก์ เช่น หมดแรง ปวดหัว หรือคลื่นไส้ได้

ศาลระบุเพิ่มเติมอีกว่า “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่สามารถอ้างคุณสมบัติในการป้องกัน บำบัด รักษาอาการป่วยของมนุษย์ หรือทำให้เกิดความพึงพอใจในตัวผลิตภัณฑ์นั้นได้”

อย่างไรก็ตาม ไม่มีการระบุชื่อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแต่อย่างใด

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า