โลกทุกวันนี้อยู่ยาก ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย ไร้มาตรฐาน กำลังแพร่ระบาดไปทั่วสังคมไทย ผลิตภัณฑ์ทั้งหลายเหล่านี้แฝงอยู่ในสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องอุปโภคบริโภค และอยู่ในชีวิตประจำวันรอบตัวเรา ไม่ว่าจะมาในรูปของอาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ ซึ่งทั้งหมดล้วนเกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของประชาชนโดยตรง
ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อาจเป็นอันตรายในที่นี้ ได้แก่
- อาหาร นม กาแฟ อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารเสริม ฯลฯ
- ยา ยารักษาโรคชนิดต่างๆ ทั้งยาเม็ด ยาน้ำ ยาทา ยาฉีด ฯลฯ
- เครื่องสำอาง ครีม โลชั่น แป้งทาหน้า ลิปสติก น้ำหอม ผลิตภัณฑ์ย้อมผม เจลแต่งผม ฯลฯ
- เครื่องมือแพทย์ ถุงยางอนามัย เก้าอี้ไฟฟ้าสถิต คอนแทคเลนส์ เครื่องนวด ที่นอนแม่เหล็ก ฯลฯ
- วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน อาทิ ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำ ฯลฯ
- วัตถุเสพติด มอร์ฟีน ฝิ่น ยานอนหลับ ยาลดความอ้วนบางชนิด ทินเนอร์ แลกเกอร์ ฯลฯ
จะเห็นว่าสถานการณ์ภัยสุขภาพกำลังลุกลามผ่านทุกช่องทางการสื่อสาร ทั้งโซเชียลมีเดีย สื่อวิทยุ โทรทัศน์ เกินกว่ากำลังเจ้าหน้าที่จะติดตามตรวจสอบได้ทั่วถึง ที่ผ่านมาแม้จะมีผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง แต่อีกด้านหนึ่งก็ยังมีผู้บริโภคอีกจำนวนไม่น้อยที่ต้องตกเป็นเหยื่อโฆษณาอวดอ้างเกินจริง บ้างสูญเสียทรัพย์สิน บ้างได้รับผลกระทบจากความเจ็บป่วย บ้างถึงขั้นเสียชีวิต
การส่งเสริมให้ประชาชนในฐานะผู้บริโภคได้ลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิ์ของตนเองจึงเป็นสิ่งจำเป็น และเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยยับยั้งวงจรการแพร่ระบาดของผลิตภัณฑ์หลอกลวงเหล่านี้ได้
Infographic ชิ้นนี้เรียบเรียงข้อมูลจากส่วนหนึ่งของ ‘คู่มือประชาชน ฉบับผู้บริโภค’ ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้จัดทำขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัยและรู้จักการปกป้องสิทธิ์ของตนเอง รวมถึงชี้ช่องทางการร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสเมื่อพบผลิตภัณฑ์ต้องสงสัย
สนับสนุนโดย