สตรีมีครรภ์กับพาราเซตามอล

pregnant
นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยมหาวิทยาลัยเอเดินเบิร์ก ในสก็อตแลนด์ ตีพิมพ์งานวิจัยในวารสาร Science Translational Medicine เผยถ้ากินยาแก้ปวดติดต่อกันนานเกิน 7 วันจะเข้าไปรบกวนการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้มีหน้าที่สำคัญในการสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชาย

ถ้าจำเป็นต้องกินจริงๆ ควรกินให้ปริมาณน้อยที่สุด ส่วนใครต้องการรักษาระยะยาวควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดีกว่า

Medicines and Healthcare Products Regulatory Agency (MHRA) องค์กรที่มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางการแพทย์และการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ของอังกฤษ ให้ข้อมูลเพิ่มว่า คนทั่วไปมักจะคิดว่าพาราเซตามอลมีความปลอดภัยถ้าจำเป็นต้องกินจริงๆ โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์กับการใช้เพื่อรักษาไข้หวัด ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อร่างกายได้

มูลนิธิวิจัยจากเดนมาร์ก Danish National Research Foundation ก็พบว่าสตรีที่รับประทานยาแก้ปวดมีโอกาสให้กำเนิดบุตรชายที่มาพร้อมภาวะอัณฑะไม่เคลื่อนลงมาในถุงอัณฑะ (undescended testis) ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อระบบสืบพันธุ์ในอนาคต

เพื่อค้นหาว่า อะไรอยู่เบื้องหลังความเกี่ยวข้องกันนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองกับหนูตั้งครรภ์ โดยให้กินยาพาราเซตามอลติดต่อกัน 7 วัน ผลการทดลองพบว่าในเลือดหนูมีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำมากกว่าตัวที่กินยาหลอก (ยาที่ไว้เปรียบเทียบกับยาจริง เพื่อดูว่ายาจริงมีประสิทธิผลหรือไม่)

paracetamol-vs-placebo

ดร.รอด มิเชล หัวหน้าทีมวิจัยมหาวิทยาลัยเอเดินเบิร์ก เผยว่า การใช้ยาพาราเซตามอลเป็นระยะเวลานานช่วงตั้งครรภ์นั้น จะเพิ่มความเสี่ยงต่อระบบสืบพันธุ์ของทารกเพศชาย

“เราแนะนำให้สตรีมีครรภ์รับประทานยาแก้ปวดให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้” อย่างไรก็ตาม วิทยาลัยสุขภาพเด็กและกุมารเวชศาสตร์ (Royal College of Paediatrics and Child Health) ประเทศ ให้ข้อมูลว่า พาราเซตามอลเป็นยาตัวสำคัญสำหรับการรักษา ผู้ป่วยรายอื่นๆ ที่ไม่ใช่สตรีมีครรภ์ จึงไม่ควรถูกเหมารวม

ดร.มาร์ติน วาร์ด แพล็ต โฆษกของวิทยาลัยสุขภาพเด็กและกุมารเวชศาสตร์ เพิ่มเติมว่า การศึกษาวิจัยนี้เน้นเฉพาะการกินยาพาราเซตามอลมากเกิน 7 วัน ถ้าเป็น 1-2 ครั้งสำหรับการรักษาไข้หวัดถือว่าไม่เป็นไร

เพราะถ้าเป็นหวัดระหว่างตั้งครรภ์อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน เสี่ยงที่จะมีอาการไขสันหลังผิดปกติด (Spina bifida) และหัวใจพิการแต่กำเนิด ดังนั้นการใช้พาราเซตามอลในปริมาณไม่มากถือเป็นสิ่งจำเป็น

ที่มา : bbc.com

logo

Author

WAY

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า