เมื่อบริษัทประกันเตรียมฟันข้าราชการ

จากกรณีกระทรวงการคลังเตรียมยกงบประมาณกว่า 70,000 ล้านบาทให้ธุรกิจประกันภัยดูแลสวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการ 4.3 ล้านคนในปีงบประมาณหน้า

เครือข่ายปฏิรูประบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (คสร.) นำโดย นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข นางรัศมี วิศทเวทย์ อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และ ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเปิดตัวเครือข่ายและแถลงเรียกร้องให้มีการทบทวน ฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และแก้ไขปัญหา ก่อนการตัดสินใจที่อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและผลประโยชน์ของประชาชนนับล้าน

 

กรณี พ.ร.บ. ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535

เป็นกฎหมายภาคบังคับเก็บเบี้ยประกันภัยจากรถทุกคันระยะแรกปีละหลายพันล้านบาท และปัจจุบันเกือบหมื่นล้านบาท โดยให้บริษัทประกันภัยเอกชนบริหารค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งสามารถทำกำไรจาก ‘ค่าบริหารจัดการ’ สูงกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

เทียบกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติบริหารเงินแสนกว่าล้านบาทต่อปี มีค่าบริหารจัดการต่ำกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ หรือสำนักงานประกันสังคมที่มีค่าบริหารจัดการไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์

ถ้าบริหารรูปแบบนี้ อาจก่อปัญหาอย่างน้อย 3 ข้อ

1. ประชาชนที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถจะได้รับความคุ้มครองอย่างสูงตามเพดานวงเงินเท่านั้น ที่เกินจากนั้นหากไม่มีประกันเสริมก็ต้องจ่ายเอง หรือเรียกร้องจากคู่กรณีหรือจากสิทธิกองทุนอื่นของรัฐ
2. บริษัทประกันกำหนดเงื่อนไขการจ่าย เพิ่มขั้นตอนทางเอกสาร สร้างความยุ่งยากในการเบิกจ่าย ทำให้หลายกรณีโรงพยาบาลต้องเรียกเก็บจากกองทุนอื่น ได้แก่ สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ประกันสังคม บัตรทอง หรืออื่นๆ
3. ส่วนที่ ‘ผ่าน’ เงื่อนไขต่างๆ โรงพยาบาลก็ต้องมีภาระทางเอกสาร เกิดความยุ่งยาก และไม่แน่ว่าจะได้เงินจากการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยเอกชนหรือไม่

คำถามที่กระทรวงการคลังต้องตอบ

1. บริษัทประกันภัยเอกชนจะคิดค่าบริหารจัดการเท่าไร วิธีการจ่ายเงิน+ตรวจสอบจะเป็นรูปแบบใด
2. ข้าราชการและครอบครัวต้องร่วมจ่ายมากน้อยเพียงไร และอย่างไร ระบบเบิกจ่ายตรงจะถูกยกเลิกหรือไม่
3. เงินจะหายไปจากระบบโรงพยาบาลภาครัฐทั่วประเทศเท่าไร จะกระทบสภาพคล่องหรือทำให้โรงพยาบาลของรัฐขาดทุนมากน้อยแค่ไหน มาตรฐานและศักยภาพการให้บริการจะลดน้อยลงหรือไม่

ทบทวนทางออกอีกครั้ง

1. ลงทุนเพิ่มศักยภาพครั้งใหญ่ให้กรมบัญชีกลาง เพื่อบริหารระบบอย่างมืออาชีพ
หรือ 2. โอนระบบให้หน่วยงานรัฐแบบใหม่ที่ทำเรื่องนี้ได้ดี และมีกฎหมายกำหนดหน้าที่อยู่แล้ว เป็นผู้บริหารระบบ
หรือ 3. จัดตั้งหน่วยงานของรัฐและตั้งกองทุนขึ้นใหม่เพื่อดูแลระบบ

 

2016-10-19-new-banner

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า