พาราควอต ผลกระทบเสมอหน้า

ในเวทีวิชาการเพื่อให้ข้อมูลแก่สื่อมวลชน และประชาชน เรื่อง “ข้อเท็จจริงทางวิชาการในการควบคุมสารเคมีอันตราย : พาราควอต (Paraquat) ไกลโฟเซต (Glyphosate) และ คลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos)” เราได้คุยกับ รศ.ดร.พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล ผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัย นเรศวร

การศึกษาของอาจารย์รวมทั้งนักวิชาการอื่นๆ บนเวทีเห็นพ้องต้องกันว่า พาราควอตรวมทั้งสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรอื่นๆ ไม่ใช่เรื่องที่แก้กันเป็นส่วนๆ หรือเห็นกันเป็นเศษเสี้ยว แต่เกี่ยวข้องกันตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงมือปืนพ่นยาในท้องทุ่ง สารเคมีเหล่านั้นตกค้างจากพืชผัก ผลไม้ จากคนปลูกสู่คนกิน จากผืนดินจนถึงผืนน้ำ

หากถามว่าเราควรเดือดร้อนกับเรื่องพวกนี้หรือไม่ สิ่งที่เราได้จากการพูดคุยคือ พาราควอตมันตามมาถึงจานกับข้าวของเราทุกคนเท่านั้นเอง

อ่านบทสัมภาษณ์เพิ่มเติมได้ที่ ‘สยามพาราควอต’ ประเทศอาบสารพิษ

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า