อันตรายในสระว่ายน้ำ

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

กลิ่นของคลอรีนที่เป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยยามไปออกกำลังกายที่สระว่ายน้ำ แทบทุกสระว่ายน้ำสาธารณะและสระส่วนตัวตามบ้านต่างใช้สารเคมีตัวนี้เพื่อฆ่าเชื้อโรคและสิ่งสกปรกต่างๆ เช่นเดียวกับโบรมีนที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย

สารเคมีทั้งสองชนิดเป็นสารฆ่าเชื้อโรคอย่างดีหากการเก็บรักษาและการใช้งานตามสัดส่วนที่เหมาะสม แต่จากรายงานสถิติผู้ป่วยชาวอเมริกันที่ได้รับอันตรายจากสารคลอรีนและโบรมีน อาจถึงเวลาที่เราต้องหันมาใส่ใจกับการดูแลการใช้สารทั้งสองชนิดนี้อย่างจริงจังมากขึ้น

ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อแห่งสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control: CDC) เปิดเผยจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินจากการได้รับคลอรีนและโบรมีนเข้าสู่ร่างกาย เฉพาะในปี 2012 ตัวเลขผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยเหตุดังกล่าวมีจำนวนสูงถึง 4,900 ราย กว่าครึ่งเป็นผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี และมากกว่า 1 ใน 3 ของเหตุเหล่านี้เกิดขึ้นในสระว่ายน้ำตามบ้าน

chlorine-1อาการแพ้และไหม้ตามผิวหนังที่เกิดจากการโดนคลอรีนและโบรมีนสัมผัสกับร่างกายเกิดจากความประมาทและไม่ระมัดระวังในการเก็บรักษาและไม่สวมอุปกรณ์ป้องกันอย่างถุงมือและแว่นตาตลอดเวลาที่ต้องผสมสารเคมีเหล่านี้ลงในสระว่ายน้ำ

นอกจากนี้ ด้วยคุณสมบัติของสารเคมีทั้งสองชนิดที่อยู่ในกลุ่มฮาโลเจน ซึ่งเป็นธาตุกลุ่มเดียวกับไอโอดีนที่จำเป็นต่อการทำงานภายในร่างกาย อาทิ ในระบบฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ ด้วยคุณสมบัติเดียวกันกับไอโอดีนของคลอรีนและโบรมีน ทำให้สารทั้งสองชนิดสามารถเข้าไปแย่งจับกับตัวรับไอโอดีนของต่อมดังกล่าว ทั้งที่ตัวมันเองไม่ได้มีความจำเป็นต่อร่างกายแต่อย่างใด

จากรายงานของ CDC การได้รับคลอรีนและโบรมีนผ่านผิวหนังโดยตรงทำให้เกิดอาการเป็นพิษอย่างเฉียบพลัน ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับสารพิษทางผิวหนังและใบหน้า แสดงให้เห็นว่าสารเคมีทั้งคู่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้อย่างง่ายดายเพียงไร และการลงไปว่ายน้ำในสระก็เปิดโอกาสให้ผิวหนังของเราได้รับคลอรีนและโบรมีนได้มากที่สุด

เมื่อปริมาณไอโอดีนที่ร่างกายต้องการถูกแทนที่ด้วยคลอรีนและโบรมีนที่มีอยู่ทั่วไปไม่ใช่แค่ในสระว่ายน้ำ แต่รวมถึงในผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ที่ใช้โบรมีนเป็นวัตถุปรุงแต่ง จึงไม่น่าแปลกใจที่โรคต่างๆ ที่เกิดกับร่างกาย เช่น มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งเต้านม ฯลฯ ที่สามารถป้องกันได้ด้วยการได้รับไอโอดีนจะมีสาเหตุหนึ่งมาจากการได้รับคลอรีนและโบรมีนที่มากเกินไป

 

ที่มา: naturalnews.com

logo

 

 

Author

อภิรดา มีเดช
อดีตภูมิสถาปนิกที่สนิทสนมกับตัวหนังสือมากกว่าต้นไม้ สารพัดขนแมวที่ติดอยู่บนเสื้อสีดำเป็นเครื่องหมายแสดงความจิตใจดี เป็นเครื่องประดับแสดงความเป็นทาสแมว สนใจด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา ประวัติศาสตร์ การเมือง รวมถึงการวิพากษ์สังคมและบุคคลอย่างตรงไปตรงมา
(กองบรรณาธิการ WAY ถึงปี 2559)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า