นักโบราณคดีพบหลักฐานชิ้นใหม่ที่พิสูจน์ว่า อาณาจักรชนเผ่ามายาที่เคยรุ่งเรืองในอดีตเมื่อกว่า 2,000 ปีที่แล้ว อาจล่มสลายไปเพราะ ‘การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ’
ปริมาณน้ำฝนที่เคยใช้เป็นหลักฐานการค้นคว้าศึกษาอาณาจักรของชนเผ่ามายา มาคราวนี้นักโบราณคดีเปลี่ยนมาศึกษาลักษณะหินงอกหินย้อยในถ้ำใกล้กับเมืองโบราณ Uxbenka ที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศเบลิซ โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า ‘Uranium-thorium dating’ โดยการวัดปริมาณไอโซโทปของก๊าซออกซิเจน ที่จะแปรผันตามปริมาณน้ำฝน
ดักลาส เคนเน็ท นักธรณี โบราณคดีวิทยา จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียล นักเขียนของงานค้นคว้าทางโบราณคดีชิ้นนี้กล่าวว่า ในยุคก่อนคลาสสิคมายา ประมาณ ค.ศ. 450 ถึง 660 นั้นถือว่าช่วงนั้นอาณาจักรมายา “มีฝนตกชุกมากเป็นพิเศษ” และ “มีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น การทำการเกษตรเพิ่มสูงขึ้น”
ต่อมาเมื่ออาณาจักรเผชิญความแห้งแล้ง นักโบราณคดีได้เปรียบเทียบบันทึกสภาวะอากาศ กับหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับสงครามของชาวมายา เพราะโดยพื้นฐานชาวมายามักจารึกเหตุการณ์ร้ายๆ ลงบนหินประหนึ่งอนุสาวรีย์ และบนหินก็ปรากฎบันทึกถึงความแห้งแล้งและการทำสงครามระหว่างเมืองต่างๆ
“ราว ค.ศ. 660 มีสิ่งบ่งชี้ถึงความตึงเครียดกดดันในสังคมที่แทบมาพร้อมๆ กับภาวะแห้งแล้งอดอยาก” ดร.เคนเน็ทกล่าว
ทั้งนี้เมืองต่างๆ ของอาณาจักรมายาเชื่อมถึงกันหมด หากแต่ละแห่งก็ยังมีระบบปกครองแยกเป็นอิสระจากกัน เมื่อแหล่งทรัพยากรของตนเริ่มร่อยหรอ แต่ละเมืองจึนหันมารบพุ่งกันเองเข้าหาอีกฝ่ายทันที
หลังจากผ่านไปนับร้อยๆ ปี “โครงสร้างทางสังคมของอาณาจักรมายาจึงมั่นคงในที่สุด” ดร.เคนเน็ทกล่าวทิ้งท้าย
ทั้งนี้อาณาจักรมายาได้ล่มสลายลงจริงๆ ในช่วง ค.ศ. 800 ถึง 900
ที่มา nytimes.com