คริสต์มาสของ มูฮัมหมัด เคอร์ดี และชาวซีเรีย

A Turkish police officer carries a migrant child's dead body off the shores in Bodrum, southern Turkey, on Sept. 2 after a boat carrying refugees sank while reaching the Greek island of Kos. (AFP/Getty Images)

ภาพถ่ายร่างไร้วิญญาณของเด็กชายในเสื้อสีแดงคนหนึ่งโดยช่างภาพตุรกี นิลูเฟอร์ ดิเมียร์ ในวันที่ 2 กันยายน 2015 ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์และหน้าหนังสือพิมพ์เกือบทุกประเทศ ศพของ อายลัน เคอร์ดี วัย 3 ขวบ หนึ่งในผู้ลี้ภัยชาวเคิร์ดจากซีเรีย ลอยมาเกยชายชายฝั่งเมดิเตอเรเนียน หลังจากเรือที่ใช้ในการเดินทางจากตุรกีไปยังกรีซประสบอุบัติเหตุ บันทึกบนภาพถ่ายครั้งนั้นสร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับชาวโลกในเรื่องผู้ลี้ภัยชาวซีเรียมากขึ้น

ตัวเลขของผู้ลี้ภัยและผู้อพยพระบุว่า ประมาณ 3,600 คนเสียชีวิตและสูญหาย ซึ่งรวมถึง 422 คนที่เสียชีวิตไปในการเดินทางข้ามทะเลเพื่อหาแหล่งที่อยู่ใหม่

ปัจจุบัน แม้หลายประเทศจะให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยสงครามจากซีเรีย ขณะที่อีกหลายประเทศให้การปฏิเสธด้วยเหตุผลต่างๆ กันไป และสถานการณ์ของชาวซีเรียที่กระสานซ่านเซ็นไปทุกสารทิศยังอยู่ในสภาพวิกฤต พ่อของอายลัน ซึ่งเสียลูกชายไป ยังเรียกร้องให้นานาชาติ โดยเฉพาะในยุโรป เปิดประตูรับผู้ลี้ภัยซีเรียมากขึ้น

abdullah

อับดุลลาห์ เคอร์ดี เสียลูกชายทั้งสองคน อายลัน วัย 3 ปี และ กาลิป วัย 5 ปี เช่นเดียวกับภรรยา รีฮัน จากเหตุการณ์ดังกล่าว เขาให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ของอังกฤษในเทศกาลคริสต์มาสว่า ช่วงเวลาเช่นนี้ เขาอยากให้ทุกคนนึกถึงความเจ็บปวดของผู้เป็นพ่อ แม่ และเด็กๆ ที่ต้องการสันติภาพและความปลอดภัย

“ผมอยากให้ทุกคนมีความสุขในช่วงปีใหม่ หวังว่าปีหน้าสงครามในซีเรียจะยุติลง และสันติภาพจะกลับมาสู่โลกอีกครั้ง”

องค์การผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations High Commissioner for Refugees: UNHCR) และ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration: IOM) เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นปี ผู้ลี้ภัยและผู้อพยพได้เดินทางไปยังหกประเทศในกลุ่ม EU เกิน 1 ล้านคนแล้ว โดยเฉพาะกรีซ ปลายทางสำคัญที่รองรับผู้ลี้ภัยไว้ 821,008 คน เช่นเดียวกับ บัลแกเรีย อิตาลี สเปน มอลตา และไซปรัส โดยส่วนใหญ่เป็นชาวซีเรีย ขณะที่ 20 เปอร์เซ็นต์เป็นชาวอัฟกัน และ 7 เปอร์เซ็นต์เป็นชาวอิรัก

หากนับเฉพาะชาวซีเรีย นอกจากเป้าหมายที่ชาติตะวันตกแล้ว ยังมีประเทศเพื่อนบ้านที่พวกเขาเดินทางไปเพื่อลี้ภัยสงคราม ส่วนใหญ่ไปยัง เลบานอน ตุรกี ตามมาด้วย อิรัก จอร์แดน และอียิปต์

**************************

อ้างอิงข้อมูลจาก: wikipedia.org

            aljazeera.com

 

Author

รุ่งฤทธิ์ เพ็ชรรัตน์
จากผู้อ่าน WAY อดีตภูมิสถาปนิก ตัดสินใจเปลี่ยนชีวิตมาทำงานหนังสือ ต้นทุนด้านการอ่าน ความสนใจที่หลากหลายและลงลึก เขาจึงเป็นตัวจักรสำคัญที่ทุกคนในองค์กรยอมรับ ยกเว้นรสนิยมทางดนตรี เพราะทุกวันนี้ยังต้องใส่หูฟังคนเดียวเงียบๆ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า