22 พฤษภาคม 2566 เป็นวันที่ดี ที่พรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงข้างมาก และได้รับความไว้วางใจจากประชาชนจะร่วมกันแถลงจัดตั้งรัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน
22 พฤษภาคม 2557 ย้อนกลับไป 9 ปี บ้านเมืองกำลังอยู่ในบรรยากาศของความสับสนวุ่นวาย อันสืบเนื่องมาจากการเสนอ ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับเหมาเข่ง ส่งผลกระทบตามมาหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ต่อต้าน พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว นำมาสู่การชุมนุมของกลุ่ม กปปส. นำโดย สุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ออกมาเรียกร้องขับไล่รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จนนำไปสู่การยุบสภา รวมถึงการจัดเลือกตั้งที่กลายเป็นโมฆะในภายหลัง
ความสับสนวุ่นวายนั้นเป็นของปกติในระบอบประชาธิปไตย ทว่าคนกลุ่มหนึ่งกลับไม่คิดเช่นนั้น จนเกิดการรัฐประหารของ คสช. นำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ฉีกรัฐธรรมนูญ ยึดอำนาจจากรัฐบาลและจากประชาชนไปเสีย จนบ้านเมืองเข้าสู่ยุคสมัยแห่งความเงียบงันมานานหลายปี
แม้ชัยชนะของประชาชนในวันเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 จะนำมาซึ่งแสงแห่งความหวัง แต่เหล่าผู้มีอำนาจที่ร่วมก่อการในครั้งนั้น ก็ยังคงอยู่ในอำนาจ
ในวาระครบรอบ 9 ปีของการรัฐประหาร WAY ชวนย้อนดูเหล่าตัวละครในหน้าการเมืองไทยในปัจจุบัน ว่าในห้วงเวลานั้น พวกเขาเป็นใคร ทำอะไรกันบ้าง
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
22 พ.ค. 2557 Co-Founder & Managing Director, CEO Agrifood
22 พ.ค. 2566 หัวหน้าพรรคก้าวไกล ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 (?)
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
22 พ.ค. 2557 ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทไทยซัมมิท
22 พ.ค. 2566 ประธานคณะก้าวหน้า
ปิยบุตร แสงกนกกุล
22 พ.ค. 2557 อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสมาชิกของกลุ่มนิติราษฎร์
22 พ.ค. 2566 คณะกรรมการบริหารคณะก้าวหน้า
พรรณิการ์ วานิช
22 พ.ค. 2557 ผู้ดำเนินรายการประจำช่อง Voice TV
22 พ.ค. 2566 คณะกรรมการบริหารคณะก้าวหน้า
ชลน่าน ศรีแก้ว
22 พ.ค. 2557 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย
22 พ.ค. 2566 หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ว่าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เศรษฐา ทวีสิน
22 พ.ค. 2557 ประธานอำนวยการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ถูก คสช. เรียกไปรายงานตัวหลังรัฐประหาร
22 พ.ค. 2566 แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย
แพทองธาร ชินวัตร
22 พ.ค. 2557 ผู้ถือหุ้นอันดับ 1 บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
22 พ.ค. 2566 แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
22 พ.ค. 2557 หัวหน้า คสช. และผู้บัญชาการกองทัพบก
22 พ.ค. 2566 นายกรัฐมนตรี แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรครวมไทยสร้างชาติ
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ
22 พ.ค. 2557 รองหัวหน้า คสช.
22 พ.ค. 2566 รองนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี
พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมากร
22 พ.ค. 2557 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด รองหัวหน้า คสช. คนที่ 1
22 พ.ค. 2566 ส.ว.
พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย
22 พ.ค. 2557 ผู้บัญชาการทหารเรือ รองหัวหน้า คสช. คนที่ 2
22 พ.ค. 2566 ส.ว.
พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง
22 พ.ค. 2557 ผู้บัญชาการทหารอากาศ รองหัวหน้า คสช. คนที่ 3
22 พ.ค. 2566 ส.ว.
พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว
22 พ.ค. 2557 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองหัวหน้า คสช. คนที่ 4
22 พ.ค. 2566 ส.ว.