88 ปี 2475: ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า มีชุมนุม-เสวนาที่ใดบ้าง

แม้จะอยู่ในสถานการณ์โรคระบาดที่รัฐบาลยังคงมีประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งมีข้อหนึ่งระบุไว้ถึงการห้ามจัดกิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องในโอกาสครบรอบ 88 ปี 24 มิถุนายน 2475 ที่คณะราษฎรนำการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาสู่ประเทศไทยเป็นครั้งแรก มีหลายกลุ่มพร้อมใจกันจัดกิจกรรมชุมนุมตามสถานที่ต่างๆ เพื่อย้ำเตือนถึงหมุดหมายประชาธิปไตย แม้ไม่มีหมุดคณะราษฎรอันเป็นสัญลักษณ์แห่งการปฏิวัติเหลืออยู่แล้วก็ตาม

สถานที่รำลึก 88 ปี 2475 ถูกกระจายทั้งในกรุงเทพฯ ต่างจังหวัด ทั้งออนกราวด์ และออนไลน์ ต่อไปนี้คือการชี้เป้าสำหรับร่วมทำความเคลื่อนไหวให้ปรากฏ เพียงแต่ผู้จัดงานขอความร่วมมือว่า กรุณาสวมหน้ากากอนามัยและเตรียมความพร้อมสำหรับป้องกันโรคระบาด COVID-19 ก่อนร่วมกิจกรรมจะเป็นการดีที่สุด จากนั้นสำรวจตารางเวลาและสถานที่จัดงานสักหน่อย สะดวกที่ไหน ไปที่นั่น

 

หากคุณอยู่ในเขตกรุงเทพฯ เราขอเสนอ…

1. กิจกรรม ‘ลบยังไง ก็ไม่ลืม’

จัดโดย ‘กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย’ ชวนให้มาร่วมกันแสดงเจตนารมณ์ ให้เผด็จการตระหนักว่าเราจะไม่ลืมในสิ่งที่พวกเขาอยากให้ลืม ประวัติศาสตร์อันรุ่งโรจน์จะต้องถูกจดจำไปจนชั่วลูกชั่วหลาน

เวลา: ย่ำรุ่ง 05:00 น.
สถานที่: อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

2. กิจกรรม ‘ทวงคืนมรดกคณะราษฎร ทวงสัญญารัฐธรรมนูญประชาธิปไตย’

จัดโดย คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) จำลองประวัติศาสตร์ 24 มิถุนายน 2475 โดยมีการปราศรัย รวมทั้งอ่านแถลงการณ์และทวงความคืบหน้าแก้รัฐธรรมนูญต่อ กมธ. แก้รัฐธรรมนูญฯ และร่วมร้องเพลงชาติ ฉบับ 24 มิถุนาฯ

เวลา: 10:30 น.
สถานที่: สนามหญ้าหน้าอาคารรัฐสภา (เกียกกาย)

3. กิจกรรม ‘การอ่านประกาศคณะราษฎรเพื่อตระหนักว่าใครคือเจ้าของประเทศนี้’

จัดโดย สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) ร่วมกับ เยาวชนปลดแอก (FreeYouth)

เวลา: 18:00 น. เป็นต้นไป
สถานที่: สกายวอล์ค แยกปทุมวัน

 

หากคุณอยู่ต่างจังหวัด เราขอเสนอ…

1. กิจกรรม ‘รำลึกคณะราษฎร’

จัดโดย วิ่งไล่ลุง อุบลราชธานี

เวลา:  ย่ำรุ่ง 5:00 น.
ถานที่: สะพานเสรีประชาธิปไตย ขาเข้าเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

 

2. กิจกรรม ‘อ่านประกาศคณะราษฎรอีกครั้ง’

จัดโดย แนวร่วมนิสิต มสส. เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เวลา: 18:00 น. เป็นต้นไป
สถานที่: ลานแปดเหลี่ยม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

 

3. กิจกรรม ‘ร่วมกันการอ่านประกาศคณะราษฎรอีกครั้ง รำลึก 88 ปี วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง’

จัดโดย เยาวชนสุรินทร์เพื่อประชาธิปไตย

เวลา: 18:00 น.
สถานที่: อนุสาวรีย์อนุสรณ์รัฐธรรมนูญ หน้าศาลากลาง จังหวัดสุรินทร์

 

4. กิจกรรรม ‘ร่วมกันอ่านประกาศคณะราษฎร’

จัดโดย เยาวชนตะวันออกเพื่อประชาธิปไตย

เวลา: 18:00 น.
สถานที่: หน้าศาลากลาง จังหวัดระยอง

 

5. กิจกรรมฉายภาพยนตร์ The Destruction of Memory

จัดโดย Cinemaspot

วันที่: 27 มิถุนายน 2563
เวลา: 19:00-21:00 น.
สถานที่: ร้านหนังสืออับดุลบุ๊ก อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

 

หากคุณไม่สะดวกไปชุมนุม เราขอเสนอ…

นอกจากกิจกรรมชุมนุมแล้วยังมีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวันอภิวัฒน์สยามตลอดสัปดาห์แห่งประชาธิปไตยนี้อีกด้วย ซึ่งมีการไลฟ์ผ่านเพจต่างๆ เหมาะกับผู้ที่มีใจรักประชาธิปไตย แต่ไม่สะดวกไปร่วมชุมนุมตามเวลานัดหมาย

ฉายภาพยนตร์

กิจกรรม ‘2475 อยากให้ลืม เราจะจำ’ ฉายภาพยนตร์สารคดีออนไลน์ ฟรี 2 เรื่อง The Destruction of Memory และ Tomorrow We Disappear

จัดโดย คณะก้าวหน้า และ Documentary Club

วันที่: 23-25 มิถุนายน 2563
เวลา: ตลอดวัน
ช่องทาง: https://vimeo.com/ondemand/destruction และ https://vimeo.com/ondemand/tomorrowdisappear

การบรรยาย

กิจกรรม ‘2475 อยากให้ลืม เราจะจำ’ บรรยายพิเศษ รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย โดย ปิยบุตร แสงกนกกุล

จัดโดย คณะก้าวหน้า

วันที่: 27 มิถุนายน 2563 (ยังไม่ระบุเวลา)
ช่องทาง: เพจคณะก้าวหน้า – Progressive Movement

การจัดเสวนา

1. กิจกรรมงานเสวนาออนไลน์เรื่อง ‘88 ปี ประชาธิปไตยไทย จะเรียนประชาธิปไตยกันอย่างไร? ในห้องเรียนออนไลน์’

จัดโดย สำนักวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วันที่: 24 มิถุนายน 2563
เวลา: 10:00-12:00 น.
ช่องทาง: เพจ School of Politics and Government CMU

2. กิจกรรมงานเสวนาออนไลน์ ‘88 ปี 2475 ความทรงจำของสามัญชน’

จัดโดย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และสถาบันปรีดี พนมยงค์

วันที่: 24 มิถุนายน 2563
เวลา: 13:00-15:00 น. หัวข้อ ‘จากราชดำเนินถึงกวางจู: สามัญชนกับการเปลี่ยนแปลง’
เวลา: 15:00-17:30 น. หัวข้อ ‘2475: ความรู้ ความทรงจำ และสถานการณ์ปัจจุบัน’
ช่องทาง: เพจ Direk Jayanama Research Center และเพจสถาบันปรีดี พนมยงค์

3. กิจกรรมงานเสวนาวิชาการ ‘88 ปี 24 มิถุนาฯ อภิวัฒน์ประชาธิปไตย 120 ปี ชาตกาล ปรีดี พนมยงค์’

จัดโดย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

วันที่: 24 มิถุนายน 2563
เวลา: 13:00-16:00 น.
สถานที่: ณ ห้องประชุมเจ้าพระยาบวรราชนายก (ห้องประชุม 317) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา หรือรับชมผ่านทางเพจ เสวนาสาธารณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ HUSO ARU

4. กิจกรรมงานเสวนาวิชาการ หัวข้อ ‘ทิศทางรัฐธรรมนูญไทย’

จัดโดย พรรคเพื่อไทย

วันที่: 24 มิถุนายน 2563
เวลา: 14:00-16:00 น.
สถานที่: ชั้น 1 ที่ทำการพรรคเพื่อไทย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ หรือรับชมผ่านทางเพจพรรคเพื่อไทย

5. กิจกรรมงานเสวนาออนไลน์ หัวข้อ ‘ทฤษฎีรัฐศาสตร์ว่าด้วยทหารและพัฒนาการของประชาธิปไตย?’

จัดโดย ศูนย์วิจัยดิเรก ชัยนาม คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

วันที่: 26 มิถุนายน 2563
เวลา: 14:00-16:00 น.
ช่องทาง: เพจ Direk Jayanama Research Center

6. กิจกรรมงานเสวนาออนไลน์ หัวข้อ ‘REMEMBER, REMEMBER THE 24TH OF JUNE 1932’

จัดโดย หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (นโยบายและการจัดการสาธารณะ) ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วันที่: 24 มิถุนายน 2563
เวลา: 18:00-20:00 น.
ช่องทาง: เพจ MPASWU

 

นิทรรศการ

กิจกรรมสัมมนาเปิดตัวนิทรรศการ ‘เล่าเรื่อง 2475 ผ่านตัวหนังสือและของสะสม’

จัดโดย พิพิธภัณฑ์สามัญชนและร้านหนังสืออับดุลบุ๊ก

วันที่: 27 มิถุนายน 2563
เวลา: 17:00-19:00 น.
สถานที่: ร้านหนังสืออับดุลบุ๊ก อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น หรือรับชมผ่านทางเพจ Abdul Book

ส่วนนิทรรศการ ‘เล่าเรื่อง 2475 ผ่านตัวหนังสือและของสะสม’

วันที่: 22 มิถุนายน – 24 กรกฎาคม 2563
เวลา: 11:00-19:00 น.
สถานที่: ร้านหนังสืออับดุลบุ๊ก อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

 

 

FUN FACT:

  • เวลานัดพบ ‘ย่ำรุ่ง 5:00 น.’ คือเวลาตามข้อความที่สลักไว้บนหมุดคณะราษฎรที่หายไปว่า “24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง ณ ที่นี้ คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ”
  • สะพานเสรีประชาธิปไตย สถานที่จัดกิจกรรม ‘รำลึกคณะราษฎร’ ที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นสะพานที่ถูกตั้งชื่อโดยรัฐบาลสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในตอนนั้นกำลังต่อสู้กับลัทธิคอมมิวนิสต์ จึงตั้งชื่อสะพานว่า ‘เสรีประชาธิปไตย’ เพื่อรณรงค์ให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเสรีประชาธิปไตย และต่อต้านระบอบเผด็จการของคอมมิวนิสต์

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า