โรคเหตุใยหิน: มองไม่เห็น แต่มีอยู่จริง

มีข่าวดีและข่าวร้ายจะเล่าสู่กันฟัง

ข่าวดี
ตุลาคมที่ผ่านมา คณะทำงานในโครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคเหตุใยหิน ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้ศึกษาข้อมูลจากฐานข้อมูลสุขภาพ (Health data center: HDC) ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระหว่างปี 2558-2559 โดยพบว่าสามารถยืนยันผู้ป่วยจากโรคเหตุใยหินได้แล้วถึง 28 ราย

แบ่งเป็น ผู้ป่วยมะเร็ง mesothelioma 26 ราย ซึ่งในจำนวนนี้มีประวัติการสัมผัสแร่ใยหินจากการประกอบอาชีพ 5 ราย แบ่งเป็นทำงานก่อสร้าง 4 ราย ผลิตกระเบื้องมุงหลังคา 1 ราย กับมีผู้ป่วยด้วยโรคปอด asbestosis 1 ราย และโรคปอดหนา pleural plaque 1 ราย โดยทั้งคู่มีประวัติการสัมผัสแร่ใยหินผ่านการประกอบอาชีพทั้งสิ้น

ยืนยันว่า แร่ใยหิน เป็นปัจจัยก่อโรคมะเร็งจริง!

นี่คือการชำระความถูกต้องของข้อมูลทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับ ‘แร่ใยหิน’ ครั้งใหญ่ที่สุด

ข่าวร้าย
ในปัจจุบันเนื่องจากอันตรายจากเส้นใยแอสเบสตอสมีผลกระทบร้ายแรงต่อร่างกายมนุษย์ หลายประเทศโดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วได้ประกาศห้ามนำเข้า รวมถึงได้ยกเลิกการใช้แร่ใยหินร่วมกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ แล้ว โดยมีการใช้วัสดุทดแทน แต่สำหรับประเทศไทยยังคงมีการนำเข้าแร่ใยหินประเภทไครโซไทล์และอะไมไซท์ เพื่อนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมอยู่บ้าง แต่ก็ยังจัดเป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 3 คือ ห้ามทั้งผลิตและส่งออก หากต้องการมีไว้ในครอบครองจะต้องแจ้งขออนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อนนำมาใช้

ศ.นพ.พรชัย สิทธิศรัณย์กุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หนึ่งในคณะทำงานได้ยืนยันถึงแนวทางการเคลื่อนไหวว่า ยังคงสนับสนุนให้มีการแบนแร่ใยหินต่อไป สังคมไทยต้องปลอดแร่ใยหินเท่านั้น แต่เรื่องน่าเศร้ามีอยู่ว่า

“เมื่อแบนแร่ใยหินได้เมื่อไหร่ ก็จะเหลือภาระการจัดการแร่ใยหินที่เหลือค้างในประเทศไทย ทั้งในรูปวัตถุดิบที่ยังอยู่ในโรงงาน และที่ผลิตเป็นกระเบื้องอยู่ตามบ้านเรือนแล้ว อีก 20-30 ปี เมื่อมีการรื้อตึกเหล่านี้คนไทยก็เสี่ยงต่อการสัมผัสแร่ใยหินอยู่”

ในปัจจุบันไทยยังไม่มีการยกเลิกการนำเข้าแร่ใยหิน และแร่ใยหินจะยังอยู่ในสังคมเราไปอย่างน้อยๆ ก็ 30 ปี

 

สนับสนุนโดย

Author

วีรพงษ์ สุนทรฉัตราวัฒน์
1 ใน 3 คณะบรรณาธิการหนุ่มของ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า