เด็กๆ และมือถือในโรงเรียน

classroom-2

สำหรับคำถามที่ว่า พ่อแม่หรือผู้ปกครองควรอนุญาตให้เด็กๆ นำโทรศัพท์มือถือไปโรงเรียนหรือไม่ งานวิจัยจากทีมนักเศรษฐศาสตร์อังกฤษอาจเป็นข้อมูลอีกมุมเพื่อช่วยตัดสินใจ

งานวิจัยโดย ลุยส์-ฟิลิปเป เบแลนด์ และริชาร์ด เมอร์ฟี ตีพิมพ์โดย London School of Economics ในนาม Centre for Economic Performance เริ่มต้นเก็บข้อมูลจากโรงเรียนในอังกฤษทั้ง 4 เมือง เบอร์มิงแฮม ลอนดอน เลสเตอร์ และแมนเชสเตอร์ ตั้งแต่ปี 2001 ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีกฎแบนมือถือในโรงเรียน

ขณะที่ปี 2007 โรงเรียนร้อยละ 50 ประกาศห้ามการใช้มือถือในโรงเรียน และสถิติพุ่งสูงถึงร้อยละ 98 ในปี 2012 โดยนักเรียนที่พกมือถือมา ทางโรงเรียนจะตั้งจุดรับฝากไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าเรียน เมื่อโรงเรียนเลิกแล้ว นักเรียนจะได้รับอนุญาตให้มารับมือถือกลับไป

งานวิจัย ‘Ill Communication: The Impact of Mobile Phones on Student Performance’ พบว่า หลังจากโรงเรียนสั่งห้ามนำโทรศัพท์มือถือมาใช้ในโรงเรียน คะแนนสอบของนักเรียนอายุ 16 ปีสูงขึ้นร้อยละ 6.4

ผลการวิจัยช่วยเพิ่มเติมข้อมูลแก่ข้อถกเถียงที่ว่า เราควรให้เด็กๆ พกโทรศัพท์มือถือหรือไม่ ในอังกฤษ วัยรุ่นกว่าร้อยละ 90 มีมือถือส่วนตัวใช้ ขณะที่สหรัฐ เด็กๆ เป็นเจ้าของมือถือร้อยละ 73 จำนวนมือถือของเด็กๆ ในห้องที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อครูประจำชั้นโดยตรง เนื่องจากทัศนคติส่วนตัวในด้านลบที่มีต่อเทคโนโลยี

ทั้งนี้ หลายโรงเรียนในสหรัฐมีความยืดหยุ่นกับกฎดังกล่าว โดยอนุญาตให้เด็กๆ ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้นอกเวลาเรียน บิล เด บลาซิโอ ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก ประกาศแบนการใช้มือถือในโรงเรียนเป็นเวลา 10 ปี ขณะที่ คาร์เมน ฟารีนา ประธานคณะกรรมการการศึกษาประจำรัฐ ออกมาสนับสนุนว่านโยบายนี้จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้

จากผลการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นกับนักเรียนทั่วไปเท่านั้น แต่ยังพบว่านักเรียนที่เคยมีผลการเรียนต่ำ รวมถึงนักเรียนที่ผู้ปกครองมีรายได้ปานกลางถึงค่อนข้างต่ำก็มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

 

ที่มา: theguardian.com

theconversation.com

logo

 

Author

อภิรดา มีเดช
อดีตภูมิสถาปนิกที่สนิทสนมกับตัวหนังสือมากกว่าต้นไม้ สารพัดขนแมวที่ติดอยู่บนเสื้อสีดำเป็นเครื่องหมายแสดงความจิตใจดี เป็นเครื่องประดับแสดงความเป็นทาสแมว สนใจด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา ประวัติศาสตร์ การเมือง รวมถึงการวิพากษ์สังคมและบุคคลอย่างตรงไปตรงมา
(กองบรรณาธิการ WAY ถึงปี 2559)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า