นโยบายสวัสดิการสุขภาพที่ถูกผลักดันโดยบารัก โอบาม่า หรือ โอบาม่า แคร์ ที่ใช้ในปัจจุบันเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านค่ารักษาพยาบาลแก่คน 3 กลุ่ม คือ คนชรา ผู้มีรายได้น้อยกว่าเกณฑ์ และ ข้าราชการบางกลุ่ม และในสวัสดิการก้อนนี้ยังรวมถึงการพัฒนาและสนับสนุนการปั่นจักรยาน แต่จากรายงานของ Wall Street Journal 85 เมืองใหญ่ของสหรัฐ ยังไม่มีการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานจำเป็นที่เอื้อต่อการใช้จักรยาน เช่น เลนจักรยาน ระบบยืม/เช่าจักรยาน ฯลฯ
แต่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ CDC ออกมาให้ข้อมูลและชี้ให้เห็นประโยชน์ของการทำให้เมืองเป็นมิตรกับจักรยาน
“การผสมผสานสุขภาพเข้ากับการเลือกวิธีเดินทางที่ทำให้ชีวิตดีขึ้น คือ ศักยภาพในการดูแลและปกป้องชีวิตให้ปลอดจากโรคเรื้อรัง ลดและป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตที่เกิดจากอุบัติเหตุและยานพาหนะ รวมทั้งพัฒนาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญเป็นวิธีที่ง่ายและเข้าถึงประชาชนทุกคน”
นอกจากนี้ CDC ตระหนักว่า ปัจจุบัน มีเพียง 2 ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้คนยังต้องขับรถคือ การขาดทางเลือกการเดินทางที่มีประสิทธิภาพและความกลัวที่จะปั่นจักรยานในสภาพการจราจรหนาแน่น
…แต่เส้นทางจักรยานที่ปลอดภัยจะกระตุ้นให้คนหันปั่นจักรยานมากขึ้น และจะช่วยประหยัดงบประมาณด้านสุขภาพไปหลายพันล้านดอลลาร์ ข้อมูลดังกล่าวอ้างอิงจากการศึกษารื่อง “การลงทุนและผลประโยชน์ของการปั่นจักรยานในเมืองพอร์ทแลนด์ รัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา” ของ โทมัส กอทส์ชิ ในปี 2100 ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Physical Activity and Health ที่แสดงข้อมูลว่า
ภายในปี 2040 เงินลงทุนเพื่อส่งเสริมการปั่นจักรยานในชีวิตประจำวัน ราวๆ 138 – 605 ล้านดอลลาร์ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา จะทำให้ประหยัดงบประมาณด้านสุขภาพราวๆ 388 – 594 ล้านดอลลาร์ ประหยัดงบประมาณด้่านพลังงาน 143-218 ล้านดอลล่าร์ และ ประหยัด มูลค่าชีวิตเชิงสถิติ ราว 7-12 พันล้านดอลล่าร์
และข้อสรุปงานศึกษาชิ้นนี้ คือ การลงทุนเรื่องจักรยาน ในเมืองต่างๆ ของสหรัฐ คือการลงทุนที่คุ้มค่าและได้ผล
อีกการศึกษาหนึ่งของ โจนาธาน แพทซ์ และ แมกกี้ กราโบว์ จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน หัวข้อ “คุณภาพอากาศและการออกกำลังกายที่ได้รับประโยชน์จากการลดปริมาณการใช้รถยนต์ในภาคตะวันตกของสหรัฐอเมริกา” ทีตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Health Perspectives ก็ให้ผลสรุปไม่ต่างกับ โทมัส กอทส์ชิ
แต่ที่น่าสนใจกว่าพวกเขาสรุปจากข้อมูลที่น่าสนใจว่า ให้เห็นว่า คนอเมริกัน ชอบรถในระยะทางสั้น…เหลือเชื่อ
“ชาวอเมริกัน ประมาณ 28 เปอร์เซ็นต์ การเดินทางด้วยรถยนต์ในระยะทางน้อยกว่า 1.6 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะทางที่ชาวยุโรป เดินกัน และ อีก 41 เปอร์เซ็นต์ เดินทางด้วยรถยนต์ด้วยระยะทางน้อยกว่า 3.2 กิโลเมตร ซึ่งเป็นระยะทางที่ชาวยุโรปจำนวนไม่น้อยนิยมปั่นจักรยานหรือไม่ก็เดิน
และ 69 เปอร์เซ็นต์ ใช้รถยนต์เดินทางด้วยระยะทางน้อยกว่า 2 ไมล์ ซึ่งในหลายๆ ประเทศทดแทนได้ด้วยสาธารณูปโภคที่เอื้อให้คนเดินและปั่นจักรยาน”
จากการศึกษาในหลายประเทศ ประชาชนราว 31.3 ล้านคน และ พื้นที่ราว 37,000 ตารางไมล์ อัตราการตายจะลดลงโดยเฉลี่ย 1,295 รายต่อปี ถ้าได้อยู่ในคุณภาพอากาศที่ดีขึ้น และ การออกกำลังกายมากขึ้น
การปั่นจักรยานระยะสั้นๆ เพิ่มขึ้นในสัดส่วนราว 50 เปอร์เซ็นต์ จะช่วยประหยัดงบประมาณได้ราว 3.8 พันล้านต่อปี เพราะมูลค่าความสุญเสียด้านชีวิตงบประมาณด้านสุขภาพที่ลดลง และผลประโยชน์โดยรวมจากการพัฒนาคุณภาพอากาศให้ดีขึ้นและการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพจะเพิ่มงบประมาณเข้าคลังได้ราว 8 พันล้านดอลล่าร์ต่อปี
งานวิจัยชิ้นของแพทซ์และกราโบว์ ยังสรุปด้วยว่า ผลประโยชน์ที่สำคัญด้านสุขภาพและเศรษฐกิจเหล่านี้จะเป็นไปได้ ถ้าการปั่นจักรยานเข้าไปแทนที่การขับรถยนต์ระยะทางใกล้ๆ และการพึ่งพายานยนต์น้อยลงในพื้นที่เมืองจะส่งผลให้ประชาชนสุขภาพดีขึ้น
……………………………………………………….
ที่มา : momentummag.com,treehugger.com