มื้อกลางวันแสนอร่อย

CaliforniaThursday01

 

สัปดาห์ที่ผ่านมา โรงเรียนประจำเขตในแคลิฟอร์เนียร์จำนวน 15 โรงเรียน เริ่มเสิร์ฟอาหารมื้อกลางวันที่ทำจากวัตถุดิบที่ปลูกขึ้นในท้องถิ่น ด้วยกรรมวิธีปรุงสดพร้อมเสิร์ฟ ภายใต้ชื่อโครงการ ‘California Thursdays’

“เราทำงานไกลกว่าพระราชบัญญัติส่งเสริมสุขภาพเด็กและขจัดความหิวโหย (the Healthy Hunger-Free Kids Act)” เจนนิเฟอร์ เลอแบร์ ผู้อำนวยการบริหารโครงการ Oakland Unified School District’s (OUSD) Nutrition Services เริ่มต้นอธิบายการทำงาน หลังจากที่ประธานาธิบดีบารัก  โอบามา ลงนามพระราชบัญญัติ ฉบับนี้ในปี 2010 และโดยมี มิเชล โอบามา เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงผลักดันอยู่เบื้องหลัง

จริงๆ แล้ว OUSD เริ่มโครงการอาหารกลางวัน California Thursday ได้ 1 ปีแล้ว และประสบความสำเร็จในการส่งเสริมให้โรงเรียนอื่นๆ ในรัฐ ดำเนินแนวทางตาม โดยเริ่มจากโรงเรียนแถบชนบท เช่น เมืองอัลวอร์ด เฮมเคิร์ต และ โคชเชลลา

ในระยะแรกๆ นักวางแผนประจำโครงการ เริ่มเสิร์ฟเมนูจากวัตุดิบของท้องถิ่นแค่เดือนละ 1 ครั้ง

“การเริ่มจากปริมาณเล็กๆ เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ” คริส สมิธ ผู้อำนวยการโครงการและทรัพยากร ประจำศูนย์เพื่อการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมแห่งเมืองเบิร์กลี เผย หลังจากนั้นจึงค่อยๆ เพิ่มเป็น สัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยสุ่มวันเอาและมาลงที่วันพฤหัส จึงเป็นที่มาของชื่อโครงการว่า California Thursdays

 

CaliforniaThursday03

 

“ดูเหมือนว่าพฤหัสจะเป็นวันเหมาะสมที่สุด ชื่อก็ติดหูด้วย” สมิธ อธิบาย

เลอแบร์ บอกว่า แม้ว่า โรงเรียนในแคลิฟอร์เนียจะเปิดตัวโครงการอาหารกลางวันเพื่อสุขภาพมาได้ 2 ปีแล้ว แต่ไม่ใช่ทุกโรงเรียนจะเสิร์ฟอาหารที่ปลูกในท้องถิ่น และหลายแห่งเสิร์ฟอาหารสำเร็จรูปที่นำวัตถุดิบจากอเมริกาใต้ ส่งไปผ่านกระบวนการแปรรูปที่ประเทศจีน จนได้เป็นอาหารอุ่นด้วยไมโครเวฟ และอาหารแช่แข็งพร้อมรับประทาน ก่อนจะส่งกลับมาเสิร์ฟให้แก่เด็กๆ ในสหรัฐอเมริกา

โดยทุกเมนูของ California Thursdays ทุกเมนูผ่านการทดสอบรสชาติและความนิยมจากนักเรียนแล้ว อาทิ ฟาฮิต้าไก่ (อาหารเม็กซิกัน) ก๋วยเตี๋ยวผักกวางตุ้ง รวมถึงพาสต้าไส้กรอก

“ทุกครั้งที่เราเสิร์ฟผักและผลไม้สดที่ปลูกในท้องถิ่นเคียงไปกับเมนูเหล่านี้ เด็กๆ จะกินอย่างเอร็ดอร่อยมาก” เซโนเบีย บาร์โล ผู้อำนวยการบริหารโครงการศูนย์เพื่อการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมแห่งเมืองเบิร์กลี บรรยาย

นอกจากจะช่วยส่งเสริมสุขภาพเด็กๆ ให้แข็งแรง นักวางแผนของโครงการ California Thursdays ยังมองว่าจะช่วยพัฒนาทักษะการแสดงออกให้แก่เด็กๆ ปลูกฝังจิตสำนึกความประหยัด พวกเขาเสริมว่าทุกการจ่ายเงินซื้อวัตถุดิบท้องถิ่น 1 ดอลลาร์ เท่ากับช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นประมาณ 1.86 ดอลลาร์ และทุกๆ ขั้นตอนการผลิตอาหารท้องถิ่นจะสร้างงานอย่างน้อย 1-2 อาชีพให้เกิดขึ้นในชุมชน

“โครงการ California Thursdays จะช่วยเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมของชุมชน” เลอแบร์ สรุป

สมิธ ทิ้งท้ายว่า ถ้าโครงการประสบความสำเร็จ เมนูเหล่านี้กลายเป็นเมนูประจำของเด็กๆ ในหลายรัฐ และมีในทุกๆ วันของสัปดาห์  และตอนนี้เองก็มีหลายโรงเรียนแล้งที่เสิร์ฟมื้อกลางวันจากวัตถุดิบท้องถิ่นมากกว่าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

 

ที่มา : alternet.org

 

 logo

Author

อภิรดา มีเดช
อดีตภูมิสถาปนิกที่สนิทสนมกับตัวหนังสือมากกว่าต้นไม้ สารพัดขนแมวที่ติดอยู่บนเสื้อสีดำเป็นเครื่องหมายแสดงความจิตใจดี เป็นเครื่องประดับแสดงความเป็นทาสแมว สนใจด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา ประวัติศาสตร์ การเมือง รวมถึงการวิพากษ์สังคมและบุคคลอย่างตรงไปตรงมา
(กองบรรณาธิการ WAY ถึงปี 2559)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า