สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อนับเป็นภารกิจเร่งด่วนอันดับหนึ่ง ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ร่วมกันจัดระบบการบริหารจัดการยา ทั้งการจัดหาและการกระจายยา เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาเหล่านี้ได้
ขณะเดียวกัน ไม่เพียงแต่ยาที่ใช้รักษาผู้ติดเชื้อ COVID-19 เท่านั้นที่มีความสำคัญเร่งด่วน ยาประเภทอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นยาช่วยชีวิต และยาที่ใช้ในกลุ่มโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ก็มีความจำเป็นที่ผู้ป่วยต้องเข้าถึงยาและต้องได้รับยาอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน
ภายใต้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เริ่มปรากฏสัญญาณการขาดแคลนยาจำเป็นบางรายการ และอุตสาหกรรมยาในประเทศเริ่มประสบปัญหาในการจัดหาวัตถุดิบยา สืบเนื่องจากประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ได้ใช้มาตรการปิดประเทศ ทำให้เกิดปัญหาการจัดส่งวัตถุดิบยา ผลิตภัณฑ์ยา และบรรจุภัณฑ์ ประกอบกับประเทศไทยเริ่มมีนโยบายให้สถานพยาบาลจ่ายยาโรคเรื้อรังให้แก่ผู้ป่วยล่วงหน้า 6 เดือน ทำให้มีการสำรองยาในสถานพยาบาลบางแห่งมากผิดปกติ
นี่ไม่ใช่ภาวะปกติ และจำเป็นอย่างยิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขต้องจัดระบบการบริหารจัดการยาที่ต่างไปจากภาวะปกติ
ผลพวงจากสัญญาณวิกฤติที่เกิดขึ้น ทำให้สภาเภสัชกรรม และแผนงานพัฒนาวิชาการและสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) มีข้อกังวลว่า หากไม่มีการวางระบบจัดการยาและกระจายยาอย่างเหมาะสม ประเทศไทยอาจต้องเผชิญคลื่นวิกฤติลูกที่สองจากภาวะขาดแคลนยา โดยได้จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาคราชการและเอกชน เพื่อจัดทำข้อเสนอต่อรัฐบาลในการจัดการ สรุปได้ดังนี้
- รัฐบาลต้องจัดให้มีกลไกกลางในการจัดหาและกระจายยาในรายการที่จำเป็น โดยเชื่อมโยงการบริหารระดับนโยบาย ระดับบริหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น องค์การเภสัชกรรม สมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน สภาเภสัชกรรม และนักวิชาการด้านยา
- กระทรวงสาธารณสุขต้องมีนโยบายให้สถานบริการสั่งซื้อยาล่วงหน้า 6 เดือน แต่ทยอยการจัดส่งทุก 1-2 เดือน เพื่อให้โรงงานเตรียมจัดหาวัตถุดิบในการผลิตล่วงหน้า
- ให้สถานบริการเร่งรัดการจ่ายเงินให้รวดเร็วภายในไม่เกิน 1 เดือน หลังจากได้รับใบแจ้งหนี้ เพื่อให้อุตสาหกรรมยาสามารถสำรองวัตถุดิบยาได้ 6 เดือน จากเดิมที่สำรองวัตถุดิบยาไว้ที่ 3 เดือน
- ในกรณีจำเป็นตามคำเรียกร้องของสมาคมผู้ผลิตยาแผนปัจจุบัน ให้รัฐบาลประสานกับประเทศจีน อินเดีย และประเทศผู้ผลิตวัตถุดิบ เพื่อซื้อวัตถุดิบยาในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล หรือจัดเครื่องบินไปรับวัตถุดิบยา ผลิตภัณฑ์ยา รวมถึงบรรจุภัณฑ์
- ให้อุตสาหกรรมยา รวมทั้งองค์การเภสัชกรรม สำรองวัตถุดิบในการผลิตยา 6 เดือน
สภาเภสัชกรรมยังระบุข้อกังวลด้วยว่า ปัญหาการเข้าถึงยาโรคเรื้อรังเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องการให้เกิดการแก้ไขโดยด่วนเช่นเดียวกับการบริหารจัดการรายการยาสำหรับโรค COVID-19 ไม่เช่นนั้นอีกไม่ถึง 1 เดือน จะเกิดปัญหาโกลาหลของห้องยาและผู้ป่วยอย่างแน่นอน จึงนำเสนอให้รัฐบาลพิจารณาจัดการโดยด่วน
สถานการณ์การสั่งซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศ เพื่อใช้ในการผลิตยาในภาวะ COVID-19
(ข้อมูล ณ วันที่ 8 เมษายน 2563)
อินเดีย
ปัญหาขนส่ง:
- 22-29 มีนาคม 2563 ประกาศห้ามเครื่องบินพาณิชย์เข้าออก ทำให้เที่ยวบินน้อยลง การส่งสินค้าเริ่มล่าช้า และไม่มีกำหนดส่งที่แน่นอน
- 26 มีนาคม – 14 เมษายน 2563 อินเดียประกาศ lockdown ประเทศ ไม่สามารถจัดการขนส่งได้ทั้งทางเรือและทางอากาศ สำหรับสินค้าที่ส่งออกมาก่อนปิดประเทศ หากเรือถึงแล้วยังไม่ได้รับเอกสาร Original BL จากทางการอินเดียซึ่งจะต้องออกให้ แต่ออกให้ไม่ได้ เนื่องจากยังอยู่ในช่วง lockdown ทำให้ดำเนินการพิธีการขาเข้าประเทศไทยไม่ได้ถึงแม้สินค้าจะมาส่งแล้วก็ตาม
ปัญหาของผู้ผลิต:
- พนักงานของโรงงานไม่สามารถออกจากบ้านได้ แต่บางแห่งกำลังทยอยขออนุญาตเปิดกิจการเป็นรายๆ
แนวทาง/ข้อเสนอแนะ:
- ต้องการให้ทางโรงพยาบาลรัฐ ทำใบสั่งซื้อและทำสต็อค 6 เดือน เพื่อป้องกันสินค้าขาดชั่วคราว โดยเฉพาะยากลุ่มโรคเรื้อรัง
- ถ้าปัญหาเริ่มวิกฤติ เรื่องขนส่งอาจจะต้องให้เครื่องบินทหารช่วยขนส่ง แต่ทางภาครัฐต้องเริ่มเตรียมความพร้อมในเชิงปฏิบัติการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศต่างๆ
- ต้องรอดูสถานการณ์ไปถึงกลางเดือนเมษายน หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง หลังวันที่ 14 เมษายน ก็น่าจะคลายตัวในระดับหนึ่ง แต่เชื่อว่าราคาสินค้าน่าจะต้องแพงขึ้นจากราคาค่าขนส่งที่สูงขึ้นด้วย
จีน
ปัญหาขนส่ง:
- สนามบินเปิดทำการเพียงบางเมือง เที่ยวบินจึงมีน้อยลง ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่าย local transport เพิ่มเติม เกิดปัญหาขนส่งสินค้าล่าช้า แต่ยังสามารถส่งได้
- ท่าเรือบางแห่งยังไม่สามารถเปิดขนถ่ายสินค้าได้ ต้องไปหาท่าเรือที่ไกลกว่า เช่น ฮ่องกง
ปัญหาของผู้ผลิต:
- ขาดแคลน Intermediate และไม่สามารถนำเข้า Intermediate จากยุโรปได้
- ยังมีหลายโรงงานเปิดทำการผลิตไม่เต็มที่ ทำให้ผลิตได้ในปริมาณที่จำกัด
- บางโรงงานเริ่มไม่รับแผนระยะยาว ไม่ยอมเสนอราคา และปรับราคาขึ้น
แนวทาง/ข้อเสนอแนะ:
- โรงงานผลิตยา ควรวางแผนความต้องการจนถึงสิ้นปี แล้วรีบจัดหา API ก่อนที่ของจะหมดไปก่อน
ยุโรป
ปัญหาขนส่ง:
- สายการบินพาณิชย์งดเที่ยวบิน ทำให้เที่ยวบินจำกัด
สนับสนุนโดย