สแกนเนื้อใน ‘เงินดิจิทัล 10,000’ ผ่านแว่นเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์

นโยบาย ‘เงินดิจิทัล 10,000 บาท’ เป็นหนึ่งในนโยบายเรือธงของพรรคเพื่อไทยที่ถูกออกแบบมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีการแจกเงิน 10,000 บาท ให้กับประชาชน แม้ว่าหลักเกณฑ์การแจกนั้นจะยังไม่มีความชัดเจน 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ในฟากฝั่งของผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยก็ออกมาโต้กระแสดราม่า ยืนยันว่านโยบายนี่คือการกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ใช่นโยบายเพื่อการ ‘สงเคราะห์คนจน’ อย่างที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ไม่เหมือนกับการแจกเงินของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะมีเป้าหมายและหลักการที่ชัดเจนในการแจกเงินในครั้งนี้

เมื่อสแกนเนื้อในของนโยบายเศรษฐกิจผ่านข้อถกเถียงข้างต้น จึงนำมาสู่การตั้งคำถามว่า นโยบายแจกเงินดิจิทัลนี้วางอยู่บน ‘แนวคิดและทฤษฎี’ แบบใดกัน? 

จากคีย์เวิร์ด ‘กระตุ้นเศรษฐกิจ’ ทำให้ขอบเขตในการวิเคราะ์ชัดขึ้นจนพอจะระบุได้ว่าหนึ่งในทฤษฎีนั้นมาจาก ‘เศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์’ (Keynesian Economics) ของนักเศรษฐศาสตร์หนวดงามเมืองผู้ดี จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes) ผู้มีผลงานชิ้นเอกคือ The General Theory of Employment, Interest and Money (1936) ที่แนวคิดและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ของเขาถูกนำมาใช้ปฏิบัติจริงในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอยและฝืดเคืองหลายครั้งในประวัติศาสตร์โลกแห่งศตวรรษที่ 20 ด้วยการอัดฉีดเม็ดเงินผ่านนโยบายการคลังเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ 

นอกจากการกระตุ้นเศรษฐกิจที่หลายคนคุ้นเคย แนวคิดและทฤษฎีของเขาแท้จริงแล้วคืออะไร นโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท ลงล็อกเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์หรือไม่ และมีข้อด้อยอย่างไร WAY จะชวนทุกท่านสำรวจแบบเข้าใจง่าย!

Author

ณัฏฐชัย ตันติราพันธ์
อดีตผู้สื่อข่าวต่างประเทศ อดีต น.ศ. ป.โท ในประเทศอีเกียที่เรียนไม่จบ ผู้มีความหมกมุ่นหลายอย่าง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า