ตั้งแต่ปี 1960 – 2000 ประชากรอเมริกันมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งส่วนสูงและน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น 24 ปอนด์ (ประมาณ 10.8 กิโลกรัม)
ปัจจุบันผู้ชายอเมริกันมีน้ำหนักเฉลี่ย 194 ปอนด์ (87.9 กิโลกรัม) และ 165 ปอนด์ (74.8 กิโลกรัม) สำหรับผู้หญิง รอบเอวที่ขยายขึ้นส่งผลต่อปัญหาสุขภาพหลากหลาย ทั้งขนาดรถพยาบาล เตียงผ่าตัด กระทั่งโลงศพ เช่นเดียวกับที่นั่งบนเครื่องบินและรถไฟ ที่ต้องขยายมากขึ้น
1 ใน 3 ของเด็กและวัยรุ่นมีน้ำหนักเกิน แต่พ่อแม่ราว 84 เปอร์เซ็นต์ยังคิดว่าลูกๆ ตัวเองมีน้ำหนักอยู่ในระดับสุขภาพดี ทั้งๆ ที่พ่อแม่เองก็เผชิญปัญหาน้ำหนักเกินเช่นกัน
หลายปีที่ผ่านมามีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์หลายเรื่องมาสนับสนุนและอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดชาวอเมริกันถึงมีรูปร่างใหญ่ขึ้นมาก และที่สำคัญไม่เคยถูกจำกัดปริมาณการบริโภค
1. ยาปฏิชีวนะในอาหารและยา
บทความตีพิมพ์ในนิวยอร์คไทมส์เมื่อเร็วๆ นี้ ยืนยันว่า ข้อสงสัยที่ว่า ยาปฏิชีวนะที่ฟาร์มต่างๆ นิยมใช้เพิ่มความอ้วนให้สัตว์ ส่งผลตรงถึงมนุษย์ในรูปแบบเดียวกัน
โดยยาปฏิชีวนะหลายชนิดจะไปปรับเปลี่ยนการทำงานของแบคทีเรียที่เจริญเติบโตในลำไส้และทางเดินอาหาร ให้ดูดซึมสารอาหารมากขึ้น
ในปี 1974 มีการทดลองกับนายทหารที่สมัครเข้าร่วมทดลองเพิ่มน้ำหนักจำนวนด้วยยาปฏิชีวนะจำนวน และพวกเขาน้ำหนักขึ้นสำเร็จภายในเวลา 7 สัปดาห์
รายการงานการวิจัยที่ตีิพิมพ์ในสื่อแดนผู้ดีอย่าง The Times จากการศึกษา เด็กๆ ที่ได้รับยาปฏิชีวนะ ใน 1 ปีจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 5 ปอนด์ (2.2 กิโลกรัม) เมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่ได้รับยาปฏิชีวนะ
นักวิจัยชาวเดนมาร์กยังค้นพบอีกว่า เด็กทารกอายุไม่เกิน 6 เดือนที่ได้รับยาปฏิชีวนะ พออายุ 7 ปีจะมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
ทั้งนี้นักวิจัยเกือบทั้งหมด ชี้ว่าสาเหตุหลักมาจาก ใบสั่งยาที่ระบุให้ใช้ยาปฏิชีวนะในปริมาณมากกว่าเกินกว่าความต้องการของมนุษย์ มาร์ติน เบลเซอร์ หัวหน้านักวิจัยยาปฏิชีวนะ จากศูนย์การแพทย์ Langone มหาวิทยาลัยนิวยอร์ค เผยว่า เด็กๆ อเมริกันได้รับการรักษาโดยยาปฏิชีวนะคนละประมาณ 20 ชนิด และการศึกษายังพบอีกว่า ปริมาณยาปฏิชีวนะที่ตกค้างในอาหารก็มีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะในเนื้อสัตว์และนม
นั่นหมายความว่าแม้เราจะหลีกเลี่ยงยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็นจากแพทย์ได้สำเร็จ แต่ก็ต้องมาเจอจากร้านขายของชำอยู่ดี
2. สารเร่งโตชนิดต่างๆ ในการเลี้ยงสัตว์
ถ้ายาปฏิชีวนะทำให้สัตว์อ้วนและคนบริโภคอ้วน ยาเร่งโตอื่นๆ ก็มีผลไม่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น Ractopamine ยาเจริญอาหารที่มักใช้กับหมู , Optaflexx ที่ใช้กับวัว และ Topmax สำหรับไก่งวง ที่ใช้แพร่หลายในสหรัฐอเมริกาแต่ห้ามใช้ในหลายประเทศ
หมูจำนวน 60-80 เปอร์เซ็นต์ในสหรัฐใช้ Ractopamine วัว 30 เปอร์เซ็นต์ใช้ Optaflexx ส่วนไก่งวง ใช้ปริมาณเท่าไหร่ ข้อมูลยังไม่เปิดเผย
สำคัญกว่านั้นคือ จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีนโยบายจากภาครัฐในการกำหนดช่วงเวลาที่ต้องหยุดใช้ ractopamine ก่อนที่หมูจะถูกต้อนเข้าสู่โรงฆ่าสัตว์ แต่ Big Ag บริษัทผลิตอาหารสัตว์รายใหญ่ของสหรัฐ ออกมารับรองว่า ยาปฏิชีวนะต่างๆ ไม่ตกค้างอยู่ในเนื้อสัตว์แน่นอนเพราะยาจะถูกขับออกมาพร้อมกับมูลสัตว์
คำถามคือมูลสัตว์เหล่านั้นถูกนำไปใช้ทำประโยชน์ใดต่อ?
ทั้งนี้ฮอร์โมนและสารเร่งโตหลายชนิด ถูกห้ามใช้ในยุโรปหลายประเทศ เช่น oestradiol-17, trenbolone acetate, zeranol และ melengestrol สำหรับวัว
โดย Zeranol อาจก่อให้เกิดผลเกินกว่าคำว่าอ้วน แต่มันเป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งมีผลกระตุ้นการเติบโตและเพิ่มจำนวนเซลล์มะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งเต้านม
3.สารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อต่างๆ
ยาปฏิชีวนะบางประเภทและสารให้ความหวานสังเคราะห์ต่างๆ มีโมเลกุลคล้ายกับสารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อต่างๆ สารเคมีเหล่านี้ใช้ทำสารหน่วงไฟและพลาสติก ที่ใช้มากขึ้นเรื่อยๆ ในอุตสาหกรรมอาหารและสิ่งแวดล้อม
สารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อต่างๆ ที่พบในชีวิตประจำวัน เช่น BPA ที่ห้ามใช้ในขวดนมเด็ก และ Triclosan ที่พบในยาสีฟันคอลเกตโททอล และ ผงซักฟอกน้ำยาทำความสะอาดต่างๆ มีความเชื่อมโยงกับอาการเจ็บป่วยต่างๆ เช่น ระบบสืบพันธุ์ที่มีปัญหา ,ภาวะไม่เจริญพันธุ์หรือมีบุตรยาก , ผลิตเสปิร์มได้ต่ำ และ ภาวะเจริญพันธุ์ก่อนวัยและโรคเบาหวาน รวมทั้งโรคอ้วน
ต้นปี 2003 วารสาร Toxicological Sciences เปิดเผยถึงผลกระทบที่สารสารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ ว่าส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ทำให้เป็นโรคอ้วนเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่
4.สารให้ความหวานแทนน้ำตาล
สารให้ความหวานสังเคราะห์ต่างๆ ที่มีจุดขายตรงแคลอรี่ต่ำและช่วยลดน้ำหนัก แต่การวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้เปิดเผยผลที่ผลกระทบทบที่ตรงข้าม เมื่อนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Texas Health Science Center ศึกษาอาสาสมัคร 474 คนที่ดื่มเครื่องดื่มผสมสารให้ความหวานวันละไม่ต่ำกว่า 2 แก้ว พบว่าน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นถึง 5 เท่า
มีเหตุผล 2 ประการที่ทำให้สารให้ความหวานให้อันตรายเกินคาด
ประการแรก สารให้ความหวานแทนน้ำตาลเหล่านี้มีแนวโน้มเป็นสารเคมี อย่าง acesulfame potassium และ aspartame ที่อาจทำให้ระบบเผาผลาญช้าลง
ประการสอง คือ สารให้ความหวานสังเคราะห์ ได้แยก “พฤติกรรมการรับประทาน” ออกจาก “ผลลัพธ์แท้จริง” ของสารอาหาร
กล่าวคือแทนที่จะให้คนหลีกเลี่ยงและลดความหวาน แต่สารให้ความหวานกลับยิ่งสร้างพฤติกรรมเสพติดรสหวานให้มากยิ่งขึ้น และสารให้ความหวานเหล่านั้น มีไม่น้อยที่ไปรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อต่างๆ
5.การตลาดของอุตสาหกรรมนมและรัฐบาล
นักวิจัยได้ทำการศึกษาเด็กมัธยมต้นและมัธยมปลายในแคลิฟอร์เนียจำนวน 500,000 คน พบว่ากลุ่มที่โรงเรียนตั้งอยู่ใกล้กับร้านอาหารฟาสต์ฟูด มีน้ำหนักมากกว่า
แม้กระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ UDSA จะทำงานให้ความรู้และเตือนผู้บริโภคให้หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง หรือ ที่อาจก่อให้เกิดโรคอ้วนอย่างแข็งขัน แต่ในอีกบทบาทหนึ่งก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตอาหารอุดมไขมัน
โดยเฉพาะหน่วยหนึ่งของ USDA ที่ทำงานและดูแลผลิตภัณธ์จากนมต่างๆ อย่างDairy Management ซึ่งที่ผ่านมาฝ่ายสร้างสรรค์การตลาดของ Dairy Management ได้ทำงานสร้างสรรค์เมนูต่างๆ ที่มีส่วนผสมของชีสให้กับ Pizza Hut, Taco Bell, Burger King, และ Domino
“ถ้าพิซซ่าทุกแบรนด์ เพิ่มส่วนผสมของชีสราว 1 ออนซ์หรือมากกว่านั้นเล็กน้อย เราจะขายชีสเพิ่มได้อีก 250 ล้านปอนด์ต่อปี” ผู้อำนวยการฝ่ายการขายของ Dairy Management เคยให้สัมภาษณ์เช่นนั้น
Dairy Management ก่อตั้งขึ้นด้วยเงินทุนของเกษตรกร และได้รับเงินอุดหนุนจาก USDA ปีละ 5.3 ล้านดอลลาร์
และลำพังงบประมาณด้านแคมเปญต่างประเทศของ the Dairy Management หน่วยงานเดียว มีมูลค่าเท่ากับงบประมาณทั้งปีของ Center for Nutrition Policy and Promotion หน่วยงานย่อยของ USDA ที่ทำงานด้านให้ความรู้และเตือนภัยอาหารอุดมไขมันอย่างชีส
***************************************
ที่มา : Salon.com