เคยสังเกตตัวเองไหมว่า เวลาได้รับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ดทั้งหลายแล้วทำไมจึงเกิดความอยากกินมันติดต่อกันไปเรื่อยๆ หรือเมื่อเกิดความเครียด ใครหลายคนเลือกการรับประทานอาหารเหล่านี้แก้เครียด
ด้วยความสงสัยในเรื่องนี้ ทีมนักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน เอริกา ชูลเท และ แอชลีย์ เกียร์ฮาร์ดต์ ร่วมกับนักประสาทวิทยาศาสตร์ นิโคล อเวนา จากศูนย์ New York Obesity Research Center แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ศึกษาในเรื่องดังกล่าว และนำเสนอออกมาในรูปงานวิจัยเพื่อหาคำตอบว่า อาหารบางชนิดทำให้เราเสพติดได้จริงหรือ โดยเน้นไปที่อาหารผ่านกระบวนการ ซึ่งมีปริมาณไขมันและน้ำตาลสูง (‘Which foods may be addictive? The roles of processing, fat content, and glycemic load.’)
การศึกษานี้ทำการทดสอบ 2 ขั้นตอน โดยขั้นแรกได้รับความร่วมมือจากอาสาสมัคร 120 รายในมหาวิทยาลัย ส่วนการทดสอบขั้นที่สอง ได้รับความช่วยเหลือจากอาสาสมัคร 384 รายในท้องถิ่น
อาหารผ่านกระบวนการ อาจมีลักษณะร่วมบางอย่างกับสารเสพติด อาทิ การเสพเกินขนาด การดูดซึมภายในร่างกายด้วยความเร็วเกินปกติ และอาจเกี่ยวข้องกับอาการ ‘เสพติดอาหาร’ (food addiction)
นักวิจัยจัดอันดับอาหาร 35 อย่างที่อาจทำให้เสพติดได้ ช็อคโกแลตมาเป็นอันดับหนึ่ง ตามด้วยของอร่อยของทุกคนอย่างไอศกรีม เฟรนช์ฟราย พิซซ่า คุกกี้ เค้ก ไก่ทอด น้ำอัดลม เพรตเซลส์ แม้แต่ชีส และเบคอน ซึ่งไม่ใช่อาหารผ่านกระบวนการ ก็ยังอยู่ใน 20 อันดับแรก
อาหาร | ความถี่ | อาหารผ่านกระบวนการ? | GL | ไขมัน
(กรัม) |
โซเดียม
(มิลลิกรัม) |
1. ช็อคโกแลต | 27.6 | เป็น | 14 | 13 | 35 |
2. ไอศกรีม | 27.0 | เป็น | 14 | 15 | 98 |
3. เฟรนช์ฟราย | 26.9 | เป็น | 21 | 19 | 266 |
4. พิซซ่า | 26.7 | เป็น | 22 | 10 | 551 |
5. คุกกี้ | 26.7 | เป็น | 7 | 4 | 63 |
6. มันฝรั่งทอด | 25.3 | เป็น | 12 | 10 | 160 |
7. เค้ก | 24.8 | เป็น | 24 | 10 | 260 |
8. ป๊อปคอร์น | 23.9 | เป็น | 26 | 30 | 771 |
9. ชีสเบอร์เกอร์ | 21.2 | เป็น | 17 | 28 | 885 |
10. มัฟฟิน | 20.8 | เป็น | 29 | 19 | 380 |
11. ซีเรียล | 20.6 | เป็น | 22 | 6 | 270 |
12. ขนมเยลลี | 20.6 | เป็น | 22 | 0 | 15 |
13. ไก่ทอด | 20.1 | เป็น | 7 | 26 | 441 |
14. น้ำอัดลม | 20.0 | เป็น | 16 | 0 | 15 |
15. ขนมปัง | 20.0 | เป็น | 15 | 1 | 450 |
16. ชีส | 19.3 | ไม่เป็น | 0 | 9 | 174 |
17. เพรตเซลส์ | 19.2 | เป็น | 15 | 1 | 380 |
18. เบคอน | 18.0 | ไม่เป็น | 0 | 12 | 647 |
19. แครกเกอร์ | 16.8 | เป็น | 11 | 6 | 223 |
20. ถั่ว | 16.4 | ไม่เป็น | 3 | 13 | 179 |
ที่มา: หอสมุดการแพทย์แห่งชาติ สหรัฐ / สถาบันสุขภาพแห่งชาติ
อาหารผ่านกระบวนการ มักมีปริมาณไขมัน และน้ำตาลสูง (จากดัชนีน้ำตาลในอาหาร หรือ glycemic load [GL] ที่สามารถเพิ่มระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด) นักวิจัยยังระบุด้วยว่า การรับประทานอาหารผ่านกระบวนการบ่อยๆ จะให้ผลด้านประสาทวิทยาไม่ต่างจากกระบวนการให้รางวัลในสมอง อันเป็นผลมาจากโดปามีน ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองตัวเดียวกันที่หลั่งออกมาเมื่อได้รับสารเสพติด
อาหารผ่านกระบวนการมักมีการเติมสารสังเคราะห์ รวมถึงไขมันหรือคาร์โบไฮเดรตที่ถูกแปรรูปแล้ว อาทิ ไขมันทรานส์ แป้งขัดขาว หรือน้ำตาล
เมื่อถามว่า สิ่งที่ทำให้เกิดอาการเสพติดคืออะไร ยกตัวอย่างง่ายๆ องุ่นจะกลายเป็นของเสพติดเมื่อมันนำมาผลิตไวน์ เช่นเดียวกัน ป๊อปปี้ก็จะเป็นสารเสพติดก็ต่อเมื่อพวกมันผ่านกรรมวิธีจนกลายเป็นฝิ่น อาหารฟาสต์ฟู้ดเกือบทุกอย่าง ก็อาจไม่ต่างกันนัก
ที่มา: alternet.org
ncbi.nlm.nih.gov