Gadget อินเทรนด์!

Snow White & The Apple

เรื่อง กรรณิการ์ กิจติเวชกุล / illustration : k-9

“เราใส่ใจพนักงานทุกคนที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานตลอดสายการผลิตของเรา ทุกครั้งที่เกิดปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัย สภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมด้านแรงงานแม้เพียงเล็กน้อยล้วนอยู่ในความเดือดเนื้อร้อนใจของเรา คำพูดทำนองที่ว่า Apple ไม่สนใจ เป็นคำพูดที่ผิด และทำให้เราไม่สบายใจ เพราะพวกคุณคงรู้ดีกว่าใครว่า คำกล่าวหาทำนองนี้ตรงข้ามกับค่านิยมของเรา และไม่ใช่สิ่งที่เราเป็น”

ทิม คุก ซีอีโอ Apple
อีเมล, 26 มกราคม 2555

 

 

ข่าวการแถลงผลประกอบการประจำไตรมาสสุดท้ายในปี 2011 ของ Apple บริษัทผู้ผลิตและออกแบบ Gadget สุดแสนจะอินเทรนด์ของโลกนี้ (อาจไปถึงโลกหน้า เพราะอากงอาม่าบอกว่า ที่นั่นเปิดตัว iPad 3 และ iPhone 5 ไปแล้ว เพราะ สตีฟ จ๊อบส์ เพิ่งไปเปิดตลาดใหม่) ที่มีผลกำไรสุทธิจากยอดขายตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงสิ้นเดือนธันวาคมมากถึง 13,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 390,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 118 เปอร์เซ็นต์ ได้รับผลกระเทือนน้อย…มากๆ จากรายงานข่าวของนิวยอร์กไทม์ส “ในจีน ชีวิตและเลือดเนื้อของผู้คนคือต้นทุนสร้าง iPad”

 

แม้ว่ามันจะสามารถกระตุ้นให้สื่อยักษ์ใหญ่หลายเจ้าอย่าง แอลเอไทม์สเปิดประเด็นกระตุกสำนึกผู้บริโภค “ถึงเวลาหรือยังที่ผู้บริโภคควรแบนสินค้า Apple” เพราะกำไรที่สูงขึ้นเรื่อยๆ มาจากการกดขี่แรงงานในจีน หรือ ฟอร์บส์ นิตยสารคนรวย ที่ถามผู้บริโภคด้วยประโยคที่คล้ายคลึงกันว่า “ถึงเวลาหรือยังที่เราจะเรียกร้องให้ Apple แก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้น” เพราะไอ้บรรดา Gadget ยอดฮิตที่เราใช้กันอยู่ต้องแลกมาด้วยชีวิตคนถึง 23 คน และผู้บาดเจ็บอีกหลายร้อยราย

 

แต่สิ่งที่ Apple ตอบสนอง มีแค่อีเมลยาวเหยียดที่ซีอีโอปลุกปลอบใจลูกน้องและบรรดาสาวกทั้งหลายให้เชื่อมั่นว่า… ‘เราใส่ใจ’

 

ก็จะทำอะไรให้ได้มากไปกว่านี้เล่า ในเมื่อผู้บริโภคต้องการของดี แต่ถูกๆ ไม่ว่ามันจะแลกมาด้วยอะไรก็ตาม??

 

อันที่จริง คงไม่ใช่แค่ Apple เท่านั้น เพราะบรรดาสายพานการผลิตสินค้าเหล่านี้ล้วนตั้งอยู่บนปรัชญาการขูดรีดแรงงานอ่อนวัย-ราคาถูก จากประเทศกำลังพัฒนาทั้งสิ้น

 

ในฐานะคนไม่ต้องการตกเทรนด์ อยากชวนมาลองดูตัวเลขเล่นๆ (อย่าไปคิดมาก) ของ Foxconn บริษัทเดียวที่รับเป็นซัพพลายเออร์ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์กว่า 40 เปอร์เซ็นต์ ของที่ใช้กันอยู่บนโลกนี้

 

Infographic_Foxconn_worker

 

Author

อภิรดา มีเดช
อดีตภูมิสถาปนิกที่สนิทสนมกับตัวหนังสือมากกว่าต้นไม้ สารพัดขนแมวที่ติดอยู่บนเสื้อสีดำเป็นเครื่องหมายแสดงความจิตใจดี เป็นเครื่องประดับแสดงความเป็นทาสแมว สนใจด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา ประวัติศาสตร์ การเมือง รวมถึงการวิพากษ์สังคมและบุคคลอย่างตรงไปตรงมา
(กองบรรณาธิการ WAY ถึงปี 2559)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า