เปิดปมร่าง พ.ร.บ.สิทธิบัตร เดินหน้าหนึ่งก้าว ถอยหลังสิบก้าว

ร่าง พ.ร.บ.สิทธิบัตร (ฉบับแก้ไข) ที่เสนอโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา และเปิดรับฟังความคิดเห็นทางออนไลน์ ครั้งที่ 2 แม้จะมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการพิจารณาให้สิทธิบัตรที่แตกต่างไปจาก พ.ร.บ.ฉบับปัจจุบันอยู่บ้าง แต่ก็ไม่อาจแก้ปัญหา ‘สิทธิบัตรที่ไม่มีวันสิ้นสุด’ (Evergreening Patent) ได้จริง ทำให้ยังคงเกิดการผูกขาดโดยไม่จำเป็นและเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงยา

เมื่อเปรียบเทียบกระบวนการพิจารณาคำขอรับสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร ฉบับปัจจุบันและฉบับแก้ไข มองผิวเผินอาจดูเหมือนว่ามีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น โดยมีการระบุระยะเวลาในบางขั้นตอนที่ชัดเจนขึ้น และย่นระยะเวลาในการตรวจสอบขั้นการประดิษฐ์ลงได้ระดับหนึ่ง แต่ในบางขั้นตอน เช่น การประกาศโฆษณา ครั้งที่ 2 และการพิจารณาคำคัดค้าน ยังไม่มีการระบุระยะเวลาที่ชัดเจน ซึ่งโดยรวมแล้วไม่อาจช่วยให้การพิจารณาคำขอสิทธิบัตรทั้งกระบวนการใช้ระยะเวลาที่สั้นลงได้ และช่องทางการยื่นคัดค้านยังไม่สามารถใช้ป้องกันสิทธิบัตรที่ไม่มีวันสิ้นสุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กล่าวโดยสรุป ร่าง พ.ร.บ.สิทธิบัตร (ฉบับแก้ไข) ยังไม่มีหลักเกณฑ์การพิจารณาให้หรือไม่ให้สิทธิบัตรที่ชัดเจน และไม่สามารถคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของสาธารณชนได้อย่างแท้จริง ปัญหาสิทธิบัตรที่ไม่มีวันสิ้นสุดจึงยังไม่ได้รับการแก้ไข

สนับสนุนโดย

Author

กองบรรณาธิการ
ทีมงานหลากวัยหลายรุ่น แต่ร่วมโต๊ะความคิด แลกเปลี่ยนบทสนทนา แชร์ความคิด นวดให้แน่น คนให้เข้ม เขย่าให้ตกผลึก ผลิตเนื้อหาออกมาในนามกองบรรณาธิการ WAY

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า