การนำสารสกัดเมเปิลไซรัปมาผสมกับยาปฏิชีวนะทั่วไป ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของจุลินทรีย์ให้ไวต่อเชื้อโรคมากขึ้น นำไปสู่การลดปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะได้ ซึ่งการใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไปในปัจจุบัน เป็นตัวเร่งหรือเพิ่มให้เกิดการดื้อยาในร่างกายที่กำลังเป็นปัญหาสุขภาพระดับโลก มีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุนี้มากขึ้นเรื่อยๆ
สารสกัดในน้ำเชื่อมจากต้นเมเปิลหรือเมเปิลไซรัป ไวต่อเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดแบคทีเรีย มากกว่ายาปฏิชีวนะทั่วไป ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาและทดลองของแล็บโดยนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแมคกิล (McGill) เมืองมอนทรีอัล ประเทศแคนาดา
ผลการทดลองดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Applied and Environmental Microbiology โดยให้ข้อมูลว่า การนำสารสกัดเมเปิลไซรัปมาผสมกับยาปฏิชีวนะทั่วไป ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของจุลินทรีย์ให้ไวต่อเชื้อโรคมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลดปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะได้
ทั้งนี้การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไป เป็นตัวเร่งหรือเพิ่มให้เกิดการดื้อยาในร่างกายที่กำลังเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญระดับโลก และมีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุนี้มากขึ้นเรื่อยๆ
ศาสตราจารย์ นาตาลี ทูเฟงจี หนึ่งในทีมวิจัยของคณะวิศวกรรมเคมี เตรียมสารสกัดจากเมเปิลไซรัป ที่ประกอบไปด้วยส่วนผสมหลักอย่างสารประกอบฟีนอล ทั้งเมเปิลไซรัปที่ใช้ในการวิจัย สกัดได้จากต้นเมเปิลในเขตอเมริกาเหนือ ทั้งหมดซื้อได้จากตลาดและร้านค้าท้องถิ่นในเมืองมอนทรีอัล ซึ่งเป็นอุดมด้วยสารประกอบฟีนอลในปริมาณสูง
นักวิจัยได้ทดลองและพบว่า ประสิทธิภาพของสารสกัดเมเปิลไซรัปมีผลยับยั้งแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ ซึ่งรวมถึงแบคทีเรียชนิดอีโคไล (E. coli) และโปรเตียสมิราบิลิส (Proteus mirabilis) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
สารสกัดของเมเปิลไซรัปมีผลในการต่อสู้แบคทีเรียอย่างอ่อนๆ อยู่แล้วในตัวของมันเอง แต่สารสกัดจากเมเปิลไซรัป มีประสิทธิภาพเป็นพิเศษเมื่อใช้คู่กับยาปฎิชีวนะ โดยสารสกัดดังกล่าวจะออกฤทธิ์เสริมกับสารปฏิชีวนะในการทำลายกลุ่มของแบคทีเรีย ที่รู้จักกันชื่อ ไบโอฟิล์ม (กลุ่มของแบคทีเรียที่เกาะติดอยู่กับพื้นผิวที่เปียกชื้น ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติจากแบคทีเรียที่อยู่ในน้ำ)
“เราจำเป็นต้องทดลองในสิ่งมีชีวิต ก่อนที่เราจะสามารถพูดได้ว่าจะมีผลอะไรต่อมนุษย์ แต่การค้นพบของเราได้เผยถึงวิธีการลดการใช้ยาปฏิชีวนะได้ง่ายๆ และมีประสิทธิภาพ โดยการให้สารสกัดจากเมเปิลไซรัปเข้าไปช่วยออกฤทธิ์ร่วมกับยาปฏิชีวนะได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ใส่ผสมลงไปในแคปซูลยาปฏิชีวนะ” ” ศ.นาตาลี ทูเฟงจี ทิ้งท้าย
*****************************
ที่มา : mcgill.ca