เทียบร่าง #สมรสเท่าเทียม 3 ฉบับ ในความเหมือน มีความต่าง

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม และนำเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาในวันที่ 21 ธันวาคม 2566 โดยมีทั้งสิ้น 3 ร่าง ได้แก่ ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับกระทรวงยุติธรรม เสนอโดยคณะรัฐมนตรี ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับ สส. พรรคก้าวไกล และร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับภาคประชาชน 

ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมทั้ง 3 ร่าง เป็นการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อให้สิทธิแก่ทุกเพศเข้าถึงการสมรสได้ โดยร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับภาคประชาชน มาจากการรวบรวมรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกิน 10,000 ชื่อ ส่วนร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับที่เสนอโดย สส. พรรคก้าวไกล ได้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566 โดยเป็นฉบับเดียวกันกับที่เคยเสนอในสภาชุดก่อนในปี 2562 และร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับกระทรวงยุติธรรม ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 19 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยเป็นหนึ่งในนโยบายที่ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้แถลงต่อรัฐสภา

หากสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมทุกฉบับไปพร้อมกันและมีมติรับหลักการร่างทุกฉบับ จะส่งผลให้ตัวแทนภาคประชาชนได้โควตาเข้าไปเป็นกรรมาธิการพิจารณารายละเอียดด้วย 

ร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ มีหลักการเดียวกันคือ การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เปลี่ยนนิยามจากการสมรสระหว่างชาย-หญิง มาเป็นการสมรสระหว่างบุคคล 2 คน แต่จะมีรายละเอียดบางประการที่แตกต่างออกไปในแต่ละฉบับ ดังนี้

การหมั้น

  • ฉบับรัฐบาล ระบุว่า บุคคล 2 ฝ่าย เป็นผู้หมั้นและผู้รับหมั้น
  • ฉบับก้าวไกล ระบุว่า บุคคล 2 ฝ่าย เป็นผู้หมั้นและผู้รับหมั้น
  • ฉบับภาคประชาชน ระบุว่า ไม่มีการแก้ไขเนื่องจากเห็นว่าสามารถสมรสได้โดยไม่ต้องหมั้น

อายุการสมรส

  • ฉบับรัฐบาล ระบุว่า 17 ปี
  • ฉบับก้าวไกล ระบุว่า 18 ปี
  • ฉบับภาคประชาชน ระบุว่า 18 ปี

การระบุเพศ

  • ฉบับรัฐบาล ระบุว่า ระหว่างบุคคลทั้ง 2 ฝ่าย บุคคล 2 คน
  • ฉบับก้าวไกล ระบุว่า ระหว่างบุคคลทั้ง 2 ฝ่าย บุคคล 2 คน
  • ฉบับภาคประชาชน ระบุว่า ระหว่างบุคคล 2 คน

สถานะหลังจดทะเบียนสมรส

  • ฉบับรัฐบาล ระบุว่า คู่สมรส
  • ฉบับก้าวไกล ระบุว่า คู่สมรส
  • ฉบับภาคประชาชน ระบุว่า คู่สมรส

บทเฉพาะกาล และการแก้ไขกฎหมายอื่นๆ

  • ฉบับรัฐบาล ไม่มีบทเฉพาะกาล และการแก้ไขกฎหมายอื่นๆ
  • ฉบับก้าวไกล ไม่มีบทเฉพาะกาล และการแก้ไขกฎหมายอื่นๆ 
  • ฉบับภาคประชาชน มีบทเฉพาะกาล และการแก้ไขกฎหมายอื่นๆ

ระยะเวลาบังคับใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา

  • ฉบับรัฐบาล ระบุว่า 120 วัน
  • ฉบับก้าวไกล ระบุว่า 120 วัน
  • ฉบับภาคประชาชน ระบุว่า 60 วัน

บทบัญญัติให้หน่วยงานเสนอแก้ไขกฎหมายอื่นๆ

  • ฉบับรัฐบาล ระบุว่า 180 วัน
  • ฉบับก้าวไกล ระบุว่า 180 วัน
  • ฉบับภาคประชาชน ระบุเสนอในบทเฉพาะกาลให้ใช้ทันที

การแก้ไขกฎหมาย ป.พ.พ. เกี่ยวกับบิดา-มารดากับบุตร

  • ฉบับรัฐบาล ไม่แก้ไข
  • ฉบับก้าวไกล ไม่แก้ไข
  • ฉบับภาคประชาชน เปลี่ยนจากบิดา-มารดา เป็นบุพการี

ผู้รักษาการตามร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม

  • ฉบับรัฐบาล นายกรัฐมนตรี
  • ฉบับก้าวไกล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • ฉบับภาคประชาชน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ที่มา:

อชิรญา ดวงแก้ว
ชอบฟัง ชอบเขียน ชอบแลกเปลี่ยนเรื่องราว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ โดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • Always Active

บันทึกการตั้งค่า