เราคงคุ้นเคยกันดีกับคำกล่าวที่ว่า “คนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก” แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ภาพอนาคตของคนทำงานสร้างสรรค์ในประเทศไทยอาจไม่ได้เด่นชัดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในการเลือกตั้งครั้งนี้ เราจึงเห็นหลายพรรคการเมืองพยายามนำเสนอนโยบาย ‘เศรษฐกิจสร้างสรรค์’ เป็นอีกหนึ่งจุดขายในการหาเสียงเลือกตั้ง
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในที่นี้คือแนวคิดที่จะพัฒนาและขับเคลื่อนความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจากสินทรัพย์ที่เกิดจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์ WAY ขอชวนทุกท่านร่วมส่องนโยบายจากแต่ละพรรคการเมือง เพื่อเตรียมพร้อมเข้าคูหาในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566
พรรคเพื่อไทย
- One Family One Soft Power บ่มเพาะศักยภาพผ่าน ‘ศูนย์บ่มเพาะสร้างสรรค์’ อย่างน้อยครอบครัวละ 1 คน
- THACCA กองทุนรวมซอฟต์พาวเวอร์ที่กระจัดกระจายให้อยู่ภายใต้องค์กรเดียว
- เติมทุนให้ 8 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ได้แก่ ภาพยนตร์ ศิลปะ หนังสือ อาหาร ดนตรี ท่องเที่ยว กีฬา แฟชั่น
- เพิ่มขนาดอุตสาหกรรม สร้างงาน 20 ล้านตำแหน่ง สร้างรายได้อย่างน้อย 200,000 บาทต่อปี
- ปลดปล่อยเสรีภาพในการแสดงออก เลิกเซนเซอร์ สนับสนุนให้ศิลปินแสดงงานศิลปะและส่งไปเรียนต่อต่างประเทศ
- ปรับปรุงกฎหมายให้ศิลปินจดทะเบียนเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรได้ง่ายขึ้น และให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับเอกชนที่สนับสนุนศิลปะ
- ลดภาษีอุปกรณ์ศิลปะ จากเดิม 10% เหลือ 0%
- แจก ‘คูปองท่องฝัน’ ให้เยาวชนไปดูงานสร้างสรรค์ได้ทุกสาขา
- สร้างแล็บเพื่อพัฒนาการออกแบบและบ่มเพาะดีไซเนอร์รุ่นใหม่
- จัดเทศกาลด้านการออกแบบระดับนานาชาติ
- อำนวยความสะดวกในการถ่ายทำภาพยนตร์ ลดขั้นตอน เลิกเอกสาร
- กองทุนภาพยนตร์ สนับสนุนหนังกระแสหลักและหนังอิสระ
- สร้าง Virtual Studio และ Virtual Production Stage ขยายจินตนาการคนสร้างหนัง
- ลดภาษีกระดาษ 0% สร้างกองทุนพัฒนาหนังสือ
- ขยายห้องสมุดทั่วประเทศ แปลหนังสือไทยสู่สายตาทั่วโลก
- เพิ่มทุนและพื้นที่จัดแสดงดนตรี
พรรคก้าวไกล
- คุ้มครองเสรีภาพทางศิลปะ ไม่ให้รัฐแทรกแซง
- เพิ่มงบสนับสนุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์จาก 500 ล้าน เป็น 5,000 ล้าน
- เพิ่มพื้นที่ผลิตและโชว์ผลงานสร้างสรรค์
- กองทุนภาพยนตร์ สนับสนุนผู้ผลิตหน้าใหม่
- กำหนดสัดส่วนเวลาฉายขั้นต่ำสำหรับหนังไทย-ท้องถิ่นในโรงหนัง
- ทลายทุนผูกขาดในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
- คุ้มครองสวัสดิภาพและสิทธิคนทำงานในกองถ่ายและแรงงานสร้างสรรค์
- หนึ่งเมือง หนึ่งพิพิธภัณฑ์
- สนับสนุนการแปลหนังสือภาษาไทยไปเผยแพร่ต่างประเทศ โดยได้เงินสบทบจากรัฐบาล 50%
- ออกคูปองไม่เกิน 2,000 บาท/ปี ให้เยาวชนเรียนรู้กิจกรรมสร้างสรรค์ และกิจกรรมทางวัฒนธรรม
พรรคพลังประชารัฐ
- ชูเศรษฐกิจสร้างสรรค์และเศรษฐกิจแบ่งปัน เพราะจุดแข็งของประเทศไทย ประการหนึ่ง คือ ความคิดสร้างสรรค์และวัฒนธรรมเกื้อกูลแบ่งปัน
- พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ จะเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่จะประสานให้ทุกฝ่าย เดินไปได้ด้วยกันด้วยความสามัคคี
พรรคชาติพัฒนากล้า
- จัดตั้งกองทุนซอฟต์พาวเวอร์เพื่อส่งออกวัฒนธรรม โดยใช้กลยุทธ์การลงทุนต่อเนื่องระยะยาว
- ลงทุนในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทุกแขนง อาทิ ภาพยนตร์ แอนิเมชัน ดนตรี งานอีเวนต์ งานสร้างสรรค์ กีฬา
- ลดข้อจำกัดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ขยายศักยภาพ สร้างระบบนิเวศทางเศรษฐกิจ
พรรคชาติไทยพัฒนา
- อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย
- ศึกษา วิจัย ฟื้นฟู พัฒนา และเผยแพร่ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมของชาติ
- ส่งเสริมให้ประชาชนนำศิลปวัฒนธรรมมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต
พรรคไทยสร้างไทย
- นำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาช่วยในการสร้างสรรค์ผลงาน
- ถ่ายทอดแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้กับชุมชน เพื่อการกระจายรายได้
- ส่งพลังให้ Thainess มีแต้มต่อก้าวสู่ซอฟต์พาวเวอร์บนเวทีโลก เช่น โปรโมตเทศกาลสำคัญของไทยจนได้รับการยอมรับเป็นงานเทศกาลนานาชาติ
พรรคสามัญชน
- สนับสนุนอุตสาหกรรมที่นำเอาศักยภาพความหลากหลายทางเพศและพหุวัฒนธรรมในการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ
- สนับสนุนอุตสาหกรรมบันเทิง เช่น คอนเสิร์ต ปาร์ตี้ คลับ บาร์ คาบาเร่ต์ Drag Show ซาวน่า สถานบันเทิง การประกวดนางงาม และการประกวดศักยภาพต่างๆ
- สนับสนุนให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์และซีรีส์ สร้างความเข้าใจต่อเพศหลากหลาย ซีรีส์ชีวิตและพหุวัฒนธรรม โดยเปิดพื้นที่ให้นักแสดง ทีมงาน LGBTQ+ อย่างแท้จริง